กรมชลประทาน เผยสถานการณ์น้ำกรมชลประทานล่าสุด

1) สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำทั้งประเทศ (ข้อมูล ณ วันที่ 16 มิ.ย. 63)

-สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศจำนวน 447 แห่ง มีปริมาณน้ำในอ่างฯ รวมกันทั้งสิ้น 32,353 ล้าน ลบ.ม. (43% ของความจุอ่างฯ) ปริมาณน้ำใช้การได้ 8,702 ล้าน ลบ.ม. (17% ของความจุน้ำใช้การ)

อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำใช้การน้อยกว่าหรือเท่ากับ 30% ของความจุอ่าง จำนวน 31 แห่ง คือ ภูมิพล สิริกิติ์ แม่งัดสมบูรณ์ชล แม่กวงอุดมธารา กิ่วคอหมา แควน้อยบำรุงแดน แม่มอก ห้วยหลวง น้ำพุง จุฬาภรณ์ อุบลรัตน์ ลำปาว ลำตะคอง ลำพระเพลิง มูลบน ลำแชะ ลำนางรอง สิรินธร ป่าสักชลสิทธิ์ ทับเสลา กระเสียว ศรีนครินทร์ วชิราลงกรณ์ ขุนด่านปราการชล คลองสียัด บางพระ หนองปลาไหล ประแสร์ นฤบดินทรจินดา แก่งกระจานและปราณบุรี

2) สถานการณ์น้ำใน 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยฯ และป่าสักฯ) (ข้อมูล ณ วันที่ 16 มิ.ย. 63)

ปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 7,709 ล้าน ลบ.ม. (31% ของความจุอ่างฯ) เป็นปริมาณน้ำใช้การได้ 1,013 ล้าน ลบ.ม. (6% ของความจุน้ำใช้การ)

3) ผลการจัดสรรน้ำฤดูฝนปี 2563 (ข้อมูล ณ วันที่ 16 มิ.ย. 63)

-ทั้งประเทศ แผนการจัดสรรน้ำ 11,975 ล้าน ลบ.ม. จัดสรรน้ำไปแล้ว 3,741 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 31

-เจ้าพระยา แผนการจัดสรรน้ำ 3,250 ล้าน ลบ.ม. จัดสรรน้ำไปแล้ว 1,402 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 43

4) แผน-ผลการเพาะปลูกข้าวนาปี ปี 2563 ในเขตชลประทาน (ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิ.ย.63)

-ทั้งประเทศ แผนเพาะปลูกข้าวนาปี 16.79 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 3.31 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 19.73 ของแผน

-ลุ่มน้ำเจ้าพระยา แผนเพาะปลูกข้าวนาปี 8.1 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 1.54 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 18.98 ของแผน โดยพื้นที่ทุ่งบางระกำ
แผนเพาะปลูก 265,000 ไร่ เพาะปลูกแล้ว 265,000 ไร่ คิดเป็นเป็นร้อยละ 100 ของแผน

5) คุณภาพน้ำ วันที่ 17 มิ.ย.63 เวลา 05.00 น. : แม่น้ำเจ้าพระยา สถานีประปาสำแล จ.ปทุมธานี (ปกติ) สะพานพระนั่งเกล้า จ.นนทบุรี (ปกติ) ทั้งนี้ กรมชลประทานได้บริหารจัดการน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาความเค็ม โดยทำการผันน้ำบางส่วนจากแม่น้ำแม่กลองมายังแม่น้ำเจ้าพระยา
แม่น้ำบางปะกง สถานีปราจีนบุรี (ปกติ) แม่น้ำท่าจีน สถานีปากคลองจินดา (ปกติ) และแม่น้ำแม่กลอง สถานีปากคลองดำเนินสะดวก (ปกติ)

6) จังหวัดที่มีการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) ตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2562 จำนวน 14 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ พะเยา ตาก บึงกาฬ มหาสารคาม บุรีรัมย์ ชัยภูมิ ศรีสะเกษ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา และจันทบุรี
รวมทั้งสิ้น 93 อำเภอ 507 ตำบล 4,678 หมู่บ้าน/ชุมชน 3 เทศบาล
(ข้อมูลจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ณ วันที่ 16 มิ.ย. 63)

7) กิจกรรมและการให้ความช่วยเหลือของศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจแก้ไขและบรรเทาวิกฤตภัยแล้งฯ

-โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษานเรศวร สำนักงานชลประทานที่ 3 นำเครื่องจักรเข้าขุดลอกคลองระบายน้ำ DL.1-11L หมู่ 12 ตำบลพรหมพิราม อำเภอพรหมพิราม คลองระบายน้ำ DL.1-22L-7R-1R หมู่ 3 ตำบลวัดโบสถ์ อำเภอวัดโบสถ์ และคลองระบายน้ำ DL.1-8L หมู่ 5 ตำบลหอกลอง อำเภอพรหมพิราม เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในการทำการเกษตร

-โครงการชลประทานสุโขทัย สำนักงานชลประทานที่ 4 ร่วมประชุมพิจารณาการขุดลอกคลองอ่างเก็บน้ำคลองข้างใน เขตพื้นที่โครงการชลประทานสุโขทัย ณ ห้องประชุมนาคี เพื่อพัฒนาปรับปรุงฟื้นฟูแหล่งน้ำ แก้ไขปัญหา บรรเทาทุกข์ให้กับประชาชน และเกษตรกร ซึ่งอ่างเก็บน้ำคลองข้างในสามารถเก็บกักน้ำได้ 9.0 ล้านลูกบาศก์เมตร และมีความจุสูงสุด 10.4 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยเก็บกักน้ำไว้ใช้ด้านการเกษตร และเป็นแหล่งน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค

-สำนักงานชลประทานที่ 9 นำเครื่องสูบน้ำขนาด 8 นิ้ว จำนวน 2 เครื่อง ไปติดตั้งที่ หมู่ 9 ตำบลท่างาม อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี
โดยทำการสูบน้ำจากแม่น้ำปราจีนบุรี ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่แก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในการทำเกษตรและอุปโภค-บริโภค

-โครงการจ้างแรงงานชลประทาน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ประจำปีงบประมาณ 2563 แผนจำนวน 88,838 คน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 ปัจจุบัน ณ วันที่ 12 มิถุนายน 2563 จ้างแรงงานไปแล้ว 69,301 คน คิดเป็นร้อยละ 85

……………………………………………………………………………