การบินไทยเดินหน้าพัฒนา OTOP ปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ ก่อนนำขึ้นเสริฟบนเครื่องบิน

เช้าวันที่ 5 กค.61 ที่สำนักงานใหญ่บริษัทการบินไทย ได้จัดให้มีการพิจารณาเรื่อง”การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ OTOP รอบที่ 6” จาก ผู้ประกอบการที่ได้รับการคัดเลือกและผ่านการคัดเลือกมาจากหลายๆขั้นตอนเพื่อนำผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมาใช้บริการบนเครื่องบินในทุกๆเที่ยวบินของการบินไทย.

นาง อุษณีย์ แสงสิงแก้ว รักษาการ กก.ผอ.ใหญ่ (DD)ในฐานะประธานกำกับดูแล Service Ring ได้ให้สัมภาษณ์ต่อผู้สื่อข่าว ก่อนที่จะเริ่มขั้นตอนการพิจารณาในวันนี้ว่า “นอกเหนือจากนโยบายของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ต้องการสนับสนุนและส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน โดย ให้โอกาสผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ OTOP เข้าร่วมการคัดเลือกโดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง.  ในส่วนของการบินไทยก็มีนโยบายที่ต้องดูแลทุกจุดบริการที่มอบให้กับลูกค้าของการบินไทย ตามแนวคิดและกลยุทธ์การให้บริการตั้งแต่ต้นที่เริ่มซื้อตั๋วเครื่องบินจนจบกระบวนการของการเดินทาง ของผู้โดยสาร ซึ่งการบินไทยยึดถือเป็นหลักปฏิบัติมาอย่างยาวนานและยิ่งในยุคปัจจุบันที่มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงในด้านบริการ เราจึงต้องสร้างความแข็งแกร่งเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป จะเห็นได้ว่าเราตั้งใจมุ่งบูรณาการ การบริการในทุกจุดสัมผัสสู่ความเป็นเลิศอย่างครบวงจร (Service  Ring) นอกจากนี้ก็ยังแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาและปรับปรุงการบริการ (คพป) เพื่อดูแลกลั่นกรองอีกชั้นหนึ่ง ดูกันละเอียดทุกขั้นตอนต้องขอขอบพระคุณสื่อมวลชนทุกท่านที่ได้เสนอข่าวสารที่ดีของการบินไทยเพื่อให้สาธารณชนรับรู้”

จากนั้น นาย เฉลิมพล แก้วชินพร ผอ.ใหญ่ ฝ่ายบริการบนเครื่องบิน (DQ) เป็นประธานการเปิดพิจารณาผลิตภัณฑ์  โดยมี นาย สุเทพ ตันติวิทยากร ผอ.ฝ่ายวางแผนควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภคบนเครื่องบิน(QY), นาย ชยพล ทองสุโชติ รอง.ผอ.ฝ่าย (QY-B) และกรรมการร่วมพิจารณาได้แก่ นาย อดิวิชญ์  สงศิริ ผจก.โครงการและที่ปรึกษากรมการพัฒนาชุมชน, นาย นิธิ  กาญจนเทพ (QZ), นางสาว  วันวิสา สิทธิไกร (QZ-P), น.ส.หฤทชนันท์ เอกะวิภาต ผู้ชำนาญการ ประจำกองสื่อสาร ปชส. พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน (DQ-P) และผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ OTOP อีกหลายท่านที่นำตัวอย่างผลิตภัณฑ์เข้าร่วมพิจารณาในรอบนี้. สำหรับการพิจารณาในแต่ละครั้งได้มีการทำสรุปรายงานเพื่อทราบต่อกรมการพัฒนาชุมชน โดยผ่านทางผู้จัดการโครงการ ทั้งนี้เพื่อความโปร่งใสในการคัดเลือกและสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ที่จะนำมาใช้บริการบนเครื่องบิน.

การพิจารณาในรอบที่ 6 นี้หลังจากที่คณะกรรมการได้ให้ข้อเสนอแนะนำรูปแบบตลอดจนการพัฒนารสชาติ ให้ไปปรับปรุงแล้ว.  เช่น แนะนำให้ลดความหวานของรสชาติลง เพื่อให้รสชาติมีความเหมาะสมที่จะรับประทานคู่กับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น.  ก็ได้รับการร่วมมือจากผู้ประกอบการทุกราย นายสุเทพ ได้สรุปว่า : ”ผลไม้แห้งแปรรูปอย่าง มะม่วงอบแห้งสามารถที่จะนำไปบริการให้กับผู้โดยสารบนเครื่องในรูปแบบของการเสริฟและรับประทานร่วมกับเนยแข็ง และสามารถลดต้นทุนในการสั่งผลไม้แห้งจากเมืองนอกได้”!! นายเฉลิมพล ในฐานะประธานพิจารณายังแนะนำให้ผู้ประกอบการที่ผ่านการคัดเลือกในรอบนี้ให้คำนึงถึงการพัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์ ที่สามารถรับประทานได้เป็นชิ้นพอดีคำ เพื่อที่จะง่ายต่อการรับประทานคู่กับชาหรือกาแฟ เช่นเมล็ดข้าวพองที่มีลูกเดือย,มะพร้าวและนำ้ตาล. ซึ่งจะเป็นไปในทิศทางกับรูปแบบของการบริการบนเครื่องบินของพนักงานต้อนรับด้วยเช่นกัน

ขอบคุณข้อมูลจาก คมชัดลึก