ชาวนาไทย ในปี 2579 โดย ประสาท เกศวพิทักษ์

วันนี้มีเรื่องต้องคิดถึงชาวนาว่า ตามนโยบายไทยแลนด์4.0 ที่กำหนดมาตรการที่จะผลักดันให้ชาวนาที่มีหนี้สินในอดีต จนบางคนต้องขายนาแล้วเปลี่ยนมาเป็นเกษตรกร“ผู้รับจ้าง” ทำนาแทน ปรับเปลี่ยนมาเป็น เกษตรกรที่มีรายได้ ปานกลาง รายได้มากกว่า 59,640 บาทต่อปี ในปี 2564 และผลักดันให้ประชากรมีรายได้มากกว่า 390,000 บาท (รายได้ปานกลาง) ในปี 2579 นั้นหมายความว่าเกษตรกรต้องมีรายได้ต่อรายมากกว่า 100,000 บาทต่อปี ราชการจะต้องคิดหนัก เพราะวันนี้ได้ไปเดินชื้อสินค้าในร้านค้ามาตรฐานใหญ่ ๆ (Modern Trade) พบว่าราคาข้าวขายถูกมาก ราคาข้าวหอมมะลิอยู่ที่กิโลกรัมละ 27 ถึง 34 บาท หรือถุงละ5 กิโลกรัม อยู่ที่ถุงละ 135 – 169 บาท ทั้งนี้ขึ้นกับตราสินค้า บางตรามีการโฆษณาราคาข้าวก็สูงหน่อย ดังนั้นถ้าคำนวณราคาข้าวที่บริษัทส่งให้ร้านค้า ก็ไม่น่าจะเกินกิโลกรัมละ 20 – 26 บาท เห็นราคาแล้วก็ต้องตกใจราคาข้าวหอมมะลิถุงละ 5 กิโลกรัม เคยขาย250 – 280 บาท ราคาหายไปครึ่งหนึ่ง แล้วชาวนาจะขายข้าวได้ตันละเท่าไร?

จากข้อมูลสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2559 ต้นทุนผลิตข้าวเปลือกของชาวนาตันละ 9,060 บาท ในขณะที่ชาวนาขายข้าวเปลือกไปตันละ 8,661 บาท สรุปชาวนาขายข้าวเปลือกไปขาดทุนตันละ 399 บาท แต่ผลิตภาพการผลิตข้าวต่อไร่ 438 กิโลกรัม ถ้ามีนาอยู่ 20 ไร่ ผลิตข้าวได้ 9,760 กิโลกรัม สรุปชาวนามีที่ 20 ไร่ ทำนา150 วัน ขาดทุน 3,870 บาท แล้วอีก 5 ปี ตามยุทธศาสตร์ชาวนารังแต่จะเป็นหนี้เพิ่มขึ้น หลายรายอาจล้มหายตายจาก มากกว่าจะมีชีวิตที่ มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนแน่นอนปัญหานี้เกิดมาตลอดโดยราชการจะอ้างปัญหาของเกษตรกรว่าใช้ขบวนการและวิธีการเดิม ๆ ทำให้ประสิทธิภาพตํ่าต้นทุนสูง ชาวนาจึงจน แต่ที่เคยกล่าวไว้หลายครั้งว่าที่น่าแปลก ในขณะที่ผู้ผลิตจนลง ๆ ผู้ค้า ผู้ส่งออก รวยเอา ๆ ทำไมเป็นอย่างนั้นทำอย่างไร ที่จะลดส่วนต่างรายได้ของผู้ค้าผู้ส่งออก แล้วเพิ่มเพิ่ มให้ผู้ผลิตจนน้อยลง ปัญหานี้ต้องรีบแร่งในการแก้ไข ก่อนที่ชาวนาทั้งประเทศผลิตข้าวลดลงให้พอกินสำหรับชาวนา และให้ประชากรไปซื้อข้าวต่างประเทศกินลองมาพิจารณาถึงมาตรการที่รัฐจะช่วยเหลือชาวนาผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2559/60 ว่าจะช่วยได้แค่ไหน และจะแก้ปัญหาได้หรือ?

  1. มาตรการด้านการผลิต มติคณะรัฐมนตรีเมื่อ 31 พ.ค.59 และ 17 ส.ค.59
  • โครงการส่งเสริมสนับสนุนการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวหอมะลิคุณภาพดี เพราะการใช้พันธุ์ดีจะช่วยพัฒนาประสิทธิภาพ และคุณภาพ อาทิ ความหอม ก็น่าจะช่วยสร้างรายได้เพิ่มระดับหนึ่ง แต่น่าเสียดายที่ทางราชการผลิตเมล็ดพันธ์ุได้ส่วนหนึ่งเท่านั้น ไม่พอกับความต้องการ
  • โครงการปรับเปลี่ยนการปลูกพืชหลากหลายในฤดูนาปรัง ปัญหาก็คือ จะปลูกอะไร และปริมาณเท่าใด ผลิตแล้วจะขายใคร สำคัญจะมีรายได้เท่ากับการปลูกข้าวหรือไม่
  • โครงการสนับสนุนสินเชื่อให้กลุ่มชาวนาผู้ผลิตข้าวแปลงใหญ่ โครงการนี้ก็สามารถทำได้จำนวนหนึ่งเท่านั้น ทำอย่างไรจะทำได้ทั้งหมดและเกิดความยั่งยืน
  • โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำนาไม่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงกระบือ/โคเนื้อ/แพะ/นาหญ้าก็เป็นเรื่องยากเพราะเกษตรกรรายหนึ่งมีการเลี้ยงกระบือ/โคเนื้อ/ครอบครัวละ 5-6 ตัวเท่านั้น การจะพัฒนาเชิงพาณิชย์จึงเป็นเรื่องยาก
  • โครงการปรบั เปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวไม่เหมาะสมเป็นเกษตรกรรมทางเลือกอื่น ถ้าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากเพราะนาคือพื้นที่นํ้าท่วมขัง ในลักษณะที่ดินอย่างนี้ยังหาพืชที่เหมาะสมยาก ถ้าจะปรับเปลี่ยนจริง ๆ ต้องลงทุนปรับสภาพพื้นที่ค่อนข้างสูง คล้าย ๆ ทุ่งรังสิต

…การจะช่วยให้ชาวนาอยู่ดีกินดีจะต้องให้ชาวนาขายข้าวมีกำไร? วิธีง่าย ๆ ก็คือ ขายข้าวราคาสูงกว่าต้นทุนที่ตันละ 9,060 บาท ปัญหาที่ตามมาคือขายตันละเท่าไร?…

  1. มาตรการด้านตลาด มติคณะรัฐมนตรี เมื่อ14 มิถุนายน 2559
  • โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าว และสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร นโยบายนี้ค่อนข้างดีแต่ยังหาสถาบันที่มีนักบริหารจัดการที่ดีน้อย ในอดีตเคยให้สินเชื่อไปบ้างแล้ว แต่หลายสถาบันดำเนินการไปไม่ได้ โครงการเหล่านี้คงต้องพัฒนาคนเป็นหลัก
  • โครงการสินเชื่อเกษตรกร เพื่อชะลอการขายข้าวเปลือก ก็เป็นเรื่องที่เกษตรกรทำได้ยาก เพราะเกษตรกรขาดยุ้งฉางที่ได้มาตรฐาน จึงทำให้สามารถชะลอหรือเก็บได้เป็นส่วนน้อย
  • โครงการลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว โครงการนี้ทำนาข้าวขายขาดทุนยังต้องเสียดอกเบี้ย เกษตรกรคงอยู่ยาก ดังนั้นโครงการนี้คงจะได้ประโยชน์น้อย
  • โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก โครงการนี้ชาวนาไม่ได้อะไรเพราะผู้ค้าตั้งราคารับซื้อถูกอยู่แล้ว เพราะพ่อค้าต้องคิดค่าดอกหรือต้นทุน โครงการนี้ผลประโยชน์จึงตกอยู่ที่พ่อค้าได้ 2 ต่อ ต่อแรกจากการกดราคา คือได้จากชาวนา ต่อที่สอง ได้จากทางราชการ
  1. ด้านการเงิน มติคณะรัฐมนตรี เมื่อ 21มิถุนายน 2559
  • โครงการสนับสนุนเงินช่วยเหลือต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว โครงการนี้น่าจะดีแต่ไม่ทราบถึงแนวทางการช่วยเหลือ เพราะการปลูกข้าวต้นทุนหลัก ๆ อยู่ที่ค่าไถพรวน ค่าเก็บเกี่ยว รัฐจะช่วยเป็นตัวเงินคงไม่ยั่งยืน การตั้งองค์กรอิสระ เพื่อทำงานด้านบริการคือ รับไถพรวน ดูแลและเก็บเกี่ยวในราคาถูกจะดีกว่ารัฐช่วยเหลือ เพราะอาจผิดข้อตกลงการค้าโลกได้
  • โครงการพักชำระหนี้ต้นและลดดอกเบี้ยชาวนาผู้ปลูกข้าว ก็กล่าวแล้วว่า ปลูกข้าวขาดทุนพักชำระหนี้และลดดอกเบี้ย ก็ยังเป็นการสร้างหนี้เพิ่มพูนมากกว่าการทำให้หนี้ลดลง
  • โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อยกระดับประสิทธิภาพการผลิตของเกษตรกรรายย่อย เป็นเรื่องดีแต่มักไม่ทั่วถึงและการยกระดับประสิทธิภาพคงไม่สูงมากนัก
  • โครงการประกันข้าวนาปี เป็นโครงการประกันความเสียหาย หรือความเสี่ยงมากกว่าการช่วยเหลือโดยตรง ก็คงไม่ได้มากนัก โครงการนี้เคยดำเนินการมาแล้ว เกษตรกรมาได้อะไรมากนักผู้ได้ประโยชน์จะเป็นบริษัทประกันจากมาตรการต่าง ๆ ของทางราชการมีทั้งมาตรการใหม่และมาตรการเก่าที่เคยดำเนินการมาแล้ว

จากผลการดำเนินการเก่าที่ผ่านมาชาวนาก็ยังจนอยู่ การเพิ่มมาตรการใหม่ ๆ ก็คงจะช่วยเกษตรกรได้ไม่มาก เพราะขายของขาดทุน การใชหนี้คงเกิดยากแต่จะเพิ่มหนี้มากกว่าการจะช่วยให้ชาวนาอยู่ดีกินดีจะต้องให้ชาวานาขายข้าวมีกำไร? วิธีง่าย ๆ ก็คือ ขายข้าวราคาสูงกว่าต้นทุนที่ตันละ 9,060บาท ปัญหาที่ตามมาคือขายตันละเท่าไร? และจะมีขบวนการ หรือวิธีการอย่างไร?

ประการแรกจะต้องพิจารณาถึงวิธีการที่เป็นอยู่ปัจจุบันที่ราคาข้าวสารที่ขายในตลาดปกติจะมีราคาสูงมาก เมื่อเทียบ กับราคาข้าวเปลือก ประการต่อมามีการแข่งขันราคาสูงมากในตลาด ราคาข้าวชนิดเดียวกันราคาขายต่างกัน ที่เป็นเช่นนี้เพราะมีการโฆษณา ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น การจะช่วยเหลือชาวนาและประชากรไทยให้ได้ราคาขายที่เป็นธรรม ผู้บริโภคๆ ในราคาที่สมเหตุสมผล จะต้องผลักดันให้ข้าวเป็นสินค้าควบคุมการผลักดันให้เกิดผลในการเป็นสินค้าควบคุม รัฐต้องกล้าทำ คือให้องค์กรหรือรัฐวิสาหกิจใดๆ ก็ได้เป็นผู้บริหารจัดการเหมือนหลายประเทศที่บริโภคข้าวเป็นหลัก เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซียให้รัฐวิสาหกิจรายเดียวเท่านั้น ที่สามารถนำเข้าข้าวและเป็นผู้บริหารข้าวในประเทศ โดยรัฐมีนโยบายชัดเจนในการควบคุมราคาข้าวในประเทศ ดังนั้น ไทยต้องประกาศว่า ข้าวเป็นยุทธปัจจัยที่รัฐต้องควบคุม การจำหน่าย การส่งออก นำเข้า เพื่อไม่ให้ขัด กับข้อตกลง AEC และถือว่าข้าวเป็นสินค้าอ่อนไหวในบัญชี (SensitiveList) ที่การนำเข้าและส่งออกมีการควบคุมเมื่อกำหนดข้าวเป็นสินค้าควบคุมแล้ว ก็ต้องคำ นึงถึงปริมาณและเป้าหมายการผลิต เพราะส่วนหนึ่งเราบริโภคเป็นหลัก อีกส่วนส่งออก ปัจจุบันเราผลิตข้าวได้ประมาณ 19 – 20 ล้านตันข้าวสารโดยบริโภคภายในประมาณ 11 – 12 ล้านตัน ส่งออกประมาณ 8 – 9ล้านตัน การจำหน่ายในประเทศจำหน่ายอย่างไร คงต้องคำนึงถึงรายได้เกษตรกรเป็นหลัก ถ้าต้องการให้เกษตรกรกำไรอย่างน้อยร้อยละ 20 จากต้นทุน 9,060 บาท หรือคำนวณเผื่อไว้ที่ 10,000 บาทเกษตรกรก็ต้องขายข้าวขาวปกติ ตันละ 12,000 บาท และข้าวหอมมะลิราคา ประมาณ 14,000 บาท เมื่อกำหนดราคาซื้อข้าวได้ก็ต้องกำหนดราคาขายข้าวสารในตลาดคือ ข้าวขาวขายกิโลกรัมละ 30 บาท หรือถุง 5 กิโลกรัม 150บาท ในขณะที่ข้าวหอมมะลิขายกิโลกรัมละ 40 หรือถุงละ 200 บาทถามว่าราคานี้ผู้บริโภครับได้ไหม?ทุกคนน่าจะรับได้เพราะข้าวหอมมะลิ เป็นสินค้าของผู้มีรายได้ปานกลางถึงสูง มีกำลังซื้อได้ อีกประการราคาข้าวหอมมะลิที่ผ่านมา ผู้บริโภคเคยซื้อกิโลกรัมละ 50 บาท หรือถุง 5 กิโลกรัมถุงละ 250 บาทมาแล้ว ผู้บริโภคก็ไม่ได้เดือดร้อน การกำหนดราคารับซื้อข้าวเปลือกและขายข้าวสารดังกล่าวเป็นไปได้แน่นอน เพราะมีข้อมูลของการค้าข้าวของบริษัทหนึ่งที่รับซื้อข้าวหอมมะลิตันละ15,000 บาท ตามราคาประกันของทางราชการ แล้วขายข้าวสารไปกิโลกรัมละ 34 บาท ถุง 5 กิโลกรัม ขาย 170 บาท บริษัทก็มีกำไรจากการขายข้าว 100% และขายข้าวหัก ปลายข้าว รำ และแกลบจำนวนหนึ่ง พอเพียงต่อการดำเนินการทางธุรกิจ

ปัญหาต่อมาหลายคนอาจถามว่า ข้าวอีกส่วนประมาณ9 – 10 ล้านตัน จะทำอย่างไร? ก็กำหนดราคาซื้อข้าวเปลือกเหมือนข้าวที่บริโภคภายในประเทศ การส่งออกเราคงไม่สามารถกำหนดราคาส่งออกได้ก็จริง แต่ที่เป็นอยู่เราส่งข้าวสารออกในราคาสูงกว่าการบริโภคอยู่แล้ว ข้อเท็จจริงบางปีอาจขายตํ่ากว่า ก็คงไม่มีปัญหาเพราะจากการกำหนดราคาซื้อข้าวเปลือก ขายข้าวสาร เกษตรกรมีรายได้มากกว่าร้อยละ 20 อยู่แล้ว ถ้าให้ร้อยละ 20 เงินส่วนเหลือก็อาจใช้ในการตั้งกองทุนเพื่อสร้างเสถียรภาพราคาข้าว โดยบางปีอาจได้จากการส่งออกและบริโภคภายในกองทุนสร้างเสถียรภาพราคา ถ้าจะให้เกิดความยั่งยืนรัฐหรือทางราชการอาจประเดิมทุนในการดำเนินการให้กับหน่วยงาน100,000 ล้าน บาท และเมื่อดำเนินการแล้วกองทุน ก็คงเดินหน้าได้เอง หากได้ผู้จัดการมือดี ๆ เก่ง ๆ มาบริหารและไม่โกงน่าจะเชื่อได้ว่าชาวนาไทยในระยะ 20 ข้างหน้าจะมีความเข้มแข็ง มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน เพราะทำมาหากินและมีกำไรอย่างตํ่าร้อยละ 20 ทุกปี

ที่สำคัญหากสามารถดำเนินการตามแผนไทยแลนด์ 4.0 โดยมีการรวมกลุ่มกันผลิต ขาย โดยใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ ทำให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 20ต้นทุนก็ลดลงมากกว่าร้อยละ 20 กำไรก็จะเพิ่มขึ้น รายได้ของชาวนาในปี 2579 น่าจะหลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลางได้แน่นอน