สถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 13 ส.ค. 66 เวลา 7.00 น.

ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันออก โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ฝั่งตะวันตก

ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกปานกลางถึงหนักมากบริเวณ จ.พังงา (96) จ.นครราชสีมา (50) จ.เพชรบูรณ์ (49) จ.นครนายก (47) จ.สระบุรี (44) จ.กาญจนบุรี (26)

ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 43,598 ล้าน ลบ.ม. (54%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38,879 ล้าน ลบ.ม. (54%)

คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี

กรมทรัพยากรน้ำ ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านมะเกลือ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ขนาด 30 นิ้ว จำนวน 1 เครื่อง ณ บ้านมะเกลือ หมู่ที่ 4 ต.บ้านมะเกลือ อ.เมืองนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ โดยสูบน้ำจากแม่น้ำปิงเข้าคลองยายหมอนเข้าสู่คลองส่งน้ำผ่านพื้นที่การเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรไม่เพียงพอ พื้นที่นาข้าว ไร่อ้อย มันสำปะหลัง สวนกล้วย ข้าวโพด ฝรั่ง มะนาว มะลิ มะเขือ ผักชี หอม จำนวน 4,310 ไร่ โดยมีประชาชนได้รับประโยชน์ 5 หมู่บ้าน ได้แก่หมู่ที่ 3,4,5,11และ12 จำนวน 560 ครัวเรือน 3,000 คน โดยเริ่มสูบน้ำตั้งแต่วันที่ 8 ส.ค. 66

กอนช. ประกาศเฝ้าระวังผลกระทบจากระดับน้ำเปลี่ยนแปลงในแม่น้ำโขง ฉบับที่ 13/2566 ในช่วงวันที่ 10 – 15 ส.ค. 66 โดย กอนช.ได้คาดการณ์ระดับน้ำจะมีแนวโน้มล้นตลิ่ง ในช่วงวันที่ 11-15 ส.ค. 66 ณ สถานีนครพนม จ.นครพนม ทั้งนี้ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ 8 จังหวัดริมแม่น้ำโขงเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ดังกล่าว

กอนช. ประกาศ เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ฉบับที่ 14/2566 ในช่วงวันที่ 12-18 ส.ค. 66 ดังนี้ ภาคเหนือ จ.เชียงราย เชียงใหม่ ตาก และน่าน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.หนองคาย บึงกาฬ นครพนม และสกลนคร ภาคตะวันออก จ.ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้ จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต สตูล และตรัง

สทนช. ได้จัดการประชุมแนวทางการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค ในเขตพื้นที่ จ.นครสวรรค์

เมื่อวันที่ 11 ส.ค. 66 สทนช. ได้จัดการประชุมหารือกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค ในเขตพื้นที่ อ.ไพศาลี และท่าตะโก จ.นครสวรรค์ ณ ห้องประชุมโครงการ ชลประทานนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ โดยมี สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครสวรรค์ โครงการชลประทานนครสวรรค์ กรมทรัพยากรน้ำ เข้าร่วมการประชุมเพื่อร่วมหาแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยสรุปได้ ดังนี้
1. ติดตั้งเครื่องสูบน้ำและส่งน้ำดิบผ่านระบบท่อ ข้อดี ได้ปริมาณน้ำเพียงพอ และใช้เวลาดำเนินการน้อย ข้อเสีย ต้องประชาคมสร้างการรับรู้
2. ส่งโดยรถขนส่งน้ำประปาหรือน้ำดิบไประบบประปาหมู่บ้าน ข้อดี ได้น้ำประปามาใช้โดยตรง และลดผลกระทบ 2 ตำบล ข้อเสีย มีค่าใช้จ่ายสูง
3. เชื่อมต่อท่อจ่ายน้ำหลัก กปภ.ไพศาลี ไปลงถังน้ำใสประปาโดยตรง ข้อดี ได้น้ำประปาใช้โดยตรง ข้อเสีย อาจมีค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำ จาก กปภ.

ซึ่งทั้ง 3 แนวทางดังกล่าวจะนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อพิจารณาหาแนวทางที่ดีที่สุด และจะจัดประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสร้างการรับรู้ แนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค ในเขตพื้นที่ต่อไป