สคบ. มอบตราสัญลักษณ์ผู้ผลิตที่มีมาตรฐานปริมาณความบริสุทธิ์ของทองรูปพรรณที่ 96.5 %

วันพุธที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๖๓ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค จัดโครงการมอบตราสัญลักษณ์ผู้ผลิตที่มีมาตรฐานปริมาณความบริสุทธิ์ของทองรูปพรรณที่ ๙๖.๕% โดยมีเลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ดร. ธนกร วังบุญคงชนะ) เป็นประธานในพิธีฯ พร้อมมอบใบประกาศเกียรติคุณให้กับผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นผู้ผลิตทองรูปพรรณ พร้อมด้วยเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (พล.ต.ต.ประสิทธิ์ เฉลิมวุฒิศักดิ์) กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดโครงการฯ ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ได้ออกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๔๔) ลงวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๔ เรื่อง ให้ทองรูปพรรณเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องระบุข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าประเภททองรูปพรรณ โดยมีรายละเอียดชื่อประเภท หรือชนิดของทองรูปพรรณ ในกรณีที่เป็นทองรูปพรรณที่สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย ให้ระบุชื่อประเทศที่ผลิตด้วยชื่อ และสถานที่ประกอบการหรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในประเทศไทยของผู้ผลิตเพื่อขายหรือของผู้สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อขายแล้วแต่กรณีปริมาณความบริสุทธิ์ของทองรูปพรรณ

โดยระบุหน่วยเป็นกะรัตหรือเปอร์เซ็นต์ หรือร้อยละ หรือใช้สัญลักษณ์ K หรือ % แทนก็ได้ น้ำหนักทองรูปพรรณ ระบุหน่วยเป็นกรัม หรือใช้สัญลักษณ์ ก หรือ g แทนก็ได้ และราคาให้ระบุเป็นเงินสกุลไทย และจะระบุเป็นเงินสกุลอื่นหรือใช้สัญลักษณ์ของสกุลเงินแทนก็ได้ และประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๔๖) ลงวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๕ เรื่อง ให้ทองรูปพรรณเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก (ฉบับที่ ๒) กำหนดให้ระบุราคารับซื้อคืนทองรูปพรรณขั้นต่ำ ตามที่สมาคมค้าทองคำประกาศ โดยผู้ประกอบการจะต้องระบุข้อมูลดังกล่าวที่ตรงต่อความเป็นจริง ไม่ทำให้ผู้บริโภคเกิดความข้าใจผิดในสาระสำคัญของสินค้า แต่จากการกำหนดให้แสดงข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณความบริสุทธิ์ของทองรูปพรรณนั้น พบว่าผู้ผลิตจะมีวิธีการผลิตที่หลากหลายเป็นผลให้ทองรูปพรรณมีปริมาณความบริสุทธิ์แตกต่างกัน ประกอบกับได้มีผู้บริโภคร้องเรียนเกี่ยวกับการรับซื้อคืนทองรูปพรรณที่ไม่ตรงกับข้อความบนฉลากสินค้า

ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาในเรื่องดังกล่าว สคบ.จึงร่วมกับสมาคมค้าทองคำจัดทำโครงการจัดระเบียบปริมาณความบริสุทธิ์ของทองรูปพรรณที่ ๙๕% ขึ้น โดยได้ดำเนินการมาแล้ว ๔ ครั้ง ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๔๗ ครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๓ เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๖ และครั้งที่ ๔ เมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๑ มีอายุการให้การรับรอง ๒ ปี

โดยได้ดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่างทองรูปพรรณจากโรงงานผู้ผลิตทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ไปทำการตรวจสอบด้วยวิธีเอ็กชเรย์ (x-ay) และหลอมละลาย (fire assay) เพื่อตรวจสอบหาปริมาณความบริสุทธิ์ของทองรูปพรรณที่สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ และกำหนดเกณฑ์มาตรฐานความบริสุทธิ์ของทองรูปพรรณหลังหลอมละลาย โดยกำหนดให้ทองรูปพรรณที่มีน้ำหนักตั้งแต่ ๑๐ กรัมขึ้นไปต้องมีปริมาณความบริสุทธิ์หลังหลอมละลายไม่ต่ำกว่า ๙๓.๕ % และทองรูปพรรณที่มีน้ำหนักต่ำกว่า ๑๐ กรัมต้องมีปริมาณความบริสุทธิ์หลังหลอมละลายไม่ต่ำกว่า ๙๒.๕ % จากการดำเนินการที่ผ่านมาพบว่าผู้ผลิตทองรูปพรรณมีการผลิตทองรูปพรรณเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด

 

รายชื่อร้านผู้ผลิต ประจำปี ๒๕๖๓ – ๒๕๖๕
ลำดับ บริษัท
๑. บริษัท ห้างขายทองจินฮั้วเฮง จำกัด
๒. บริษัท ห้างขายทอง โต๊ะกังเยาวราช จำกัด
๓. บริษัท เลี่ยงเส็งเฮงพาณิชย์ จำกัด
๔. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างค้าทองยู่หลงกิมกี่
๕. บริษัท จูเจียบเซ้ง จำกัด
๖. บริษัท หลูชั่งเฮงเฮงฮวด จำกัด
๗. บริษัท เล่งหงษ์ จำกัด
๘. บริษัท ซินคีเชียงค้าส่ง จำกัด
๙. บริษัท ห้างขายทองทองใบเยาวราช (1988)  จำกัด
๑๐. บริษัท ค้าทองโซวเซ่งเฮง จำกัด
๑๑. บริษัท แม่ทองสุก โกลด์สมิท จำกัด
๑๒. บริษัท ห้างขายทองเลี่ยงเซ่งเฮง จำกัด
๑๓. บริษัท ห้างทอง จิ้นไถ่เฮง จำกัด
๑๔. บริษัท แพรนด้า จิวเวลรี่ จำกัด (มหาชน)
๑๕. บริษัท ห้างทอง เจียบเซ่งเฮง จำกัด
๑๖. บริษัท ไฟน์โกลด์ จำกัด
๑๗. บริษัท ทอง 24 กะรัต จำกัด
๑๘. บริษัท ห้างทองลายกนก จำกัด
๑๙. บริษัท เจริญช่างทอง จำกัด
๒๐. บริษัท แต้จิบฮุย จำกัด
๒๑. บริษัท วิทเฮงหลี 2003 จำกัด
๒๒. บริษัท ห้างขายทองฮั่วเซ่งเฮง จำกัด
๒๓. บริษัท ห้างทองซินเจี้ยเชียง จำกัด
๒๔. บริษัท ห้างทองน่ำเชียง จำกัด
๒๕. บริษัท บ้านช่างทอง จำกัด
๒๖. บริษัท ห้างทอง คุณฮั้ว (หล่อ) จำกัด
๒๗. บริษัท เพชรทองคำ โกลด์ท็อป จำกัด
๒๘. บริษัท ห้างทองทองสวย จำกัด
๒๙. บริษัท ห้างค้าทอง หลูชั้งฮวด (2498) จำกัด
๓๐. บริษัท ประพันธ์ (กิมฮวด) จำกัด
๓๑. บริษัท สยามโกลด์แกลอรี่ จำกัด
๓๒. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทองเล้งหงษ์
๓๓. บริษัท ห้างค้าทองหลูยู่ฮวด จำกัด
๓๔. บริษัท ไดนามิค ดี-พลัส จำกัด
๓๕. บริษัท ห้างทองบ้วนฮั่วล้ง (2490) จำกัด
๓๖. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างทองย่งฮะฮวดซุ่นกี่
๓๗. บริษัท ห้างทองชั้งเซ้ง จำกัด
๓๘. บริษัท ห้างขายทอง ทองใบเยาวราช (สี่แยกวัดตึก) จำกัด
๓๙. บริษัท ห้างขายทองโง้วชั้งเซ้ง จำกัด
๔๐. บริษัท ชมพู (บ้วนหลี) จำกัด
๔๑. บริษัท ห้างทองไท้เส็งเฮง จำกัด
๔๒. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างทองเคว่งหลี
๔๓. บริษัท ห้างขายทองอั้งเซ่งเฮง จำกัด
๔๔. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างทองพุดเซ้ง
๔๕. บริษัท ขายทองแต้จิ้งเส็ง พาณิชย์ จำกัด
๔๖. บริษัท จินชอง จำกัด
๔๗. บริษัท ห้างทอง จิบฮุย จำกัด
๔๘. บริษัท ห้างทอง ลี้น่ำฮวด จำกัด
๔๙. บริษัท ห้างทองเจี๊ยฮั้ว จำกัด
๕๐. บริษัท ทองไพโรจน์ จำกัด
๕๑. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างทองก้วยเซ่งเฮง
๕๒. บริษัท ห้างทองหยงเตียน จำกัด
๕๓. บริษัท ทองเปียเซ้ง จำกัด
๕๔. บริษัท ที.พี.เอช (2004) จำกัด
๕๕. บริษัท ห้างขายทองนำเกียเฮง จำกัด
๕๖. บริษัท ทองเล่งหงษ์กรุ๊ป จำกัด
๕๗. บริษัท ชายน์นิ่งโกลด์ จิวเวลรี่ จำกัด
๕๘. บริษัท โกลด์สยาม จำกัด
๕๙. บริษัท ห้างทองเอ็งฮงฮวด จำกัด
๖๐. บริษัท วายแอลจี พรีเชียส จำกัด
๖๑. บริษัท ห้างขายทองโง้วกิ้มเล้ง จำกัด
๖๒. บริษัท บางกอกแอสเสย์ ออฟฟิส จำกัด
๖๓. บริษัท ไอริส โกลด์ จำกัด
๖๔. บริษัท โกลบอล ริช กรุ๊ป จำกัด
๖๕. บริษัท เอ็ดดี้โกลด์ พราว1 จำกัด

………………………………………………………