สถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 7 ก.ค. 68 เวลา 7.00 น.

1. ปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.น่าน (87 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.เลย (55 มม.) ภาคตะวันตก : จ.กาญจนบุรี (25 มม.) ภาคกลาง : กรุงเทพมหานคร (14 มม.) ภาคตะวันออก : จ.สระแก้ว (91 มม.) ภาคใต้ : จ.สุราษฎร์ธานี (66 มม.)

สภาพอากาศวันนี้ : หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง

คาดการณ์ : ช่วงวันที่ 8 – 10 ก.ค. 68 ประเทศไทยมีฝนลดลงแต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง เนื่องจากหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง

พายุโซนร้อน “ดานาส” บริเวณไต้หวัน คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศจีน ในช่วงวันที่ 8 – 9 ก.ค. 68 โดยพายุนี้ไม่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย

2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 57% ของความจุเก็บกัก (45,737 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 37% (21,621 ล้าน ลบ.ม.)

3. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 10/2568 เฝ้าระวังน้ำหลาก ดินโคลนถล่ม น้ำท่วมขัง และระดับน้ำโขงเปลี่ยนแปลง ในวันที่ 6 – 12 ก.ค. 68 ดังนี้
3.1. พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และน้ำท่วมขัง ในพื้นที่ ภาคเหนือ บริเวณ จ.เชียงราย จ.น่าน จ.พะเยา และ จ.ตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณ จ.เลย จ.หนองคาย จ.บึงกาฬ จ.อุดรธานี จ.สกลนคร จ.นครพนม จ.ยโสธร และ จ.อุบลราชธานี ภาคตะวันออก บริเวณ จ.ชลบุรี จ.ระยอง จ.จันทบุรี และ จ.ตราด และ ภาคใต้ บริเวณ จ.ระนอง จ.พังงา จ.ภูเก็ต และจ.สุราษฎร์ธานี
3.2. เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุเก็บกัก และเร่งพร่องน้ำในอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำมากกว่าความจุเก็บกัก เพื่อรองรับปริมาณน้ำหลากจากฝนที่ตกหนัก
3.3. เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่งและท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของแม่น้ำอิง
3.4. เฝ้าระวังผลกระทบจากระดับน้ำในแม่น้ำโขงเปลี่ยนแปลง บริเวณพื้นที่จังหวัดริมแม่น้ำโขง

3.ข่าวประชาสัมพันธ์ : สทนช. ประชุมและลงพื้นที่ประเมินการกำกับดูแลและการถือครองทรัพยากรน้ำ “Water Tenure“ ภายใต้โครงการ FAO-Australia Asia Pacific Water Scarcity Programmer อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการจัดทำบัญชีน้ำ การทำความเข้าใจการใช้น้ำและความต้องการน้ำ พัฒนากรอบและกระบวนการจัดสรรน้ำที่สอดคล้องกับบัญชีน้ำ การบูรณาการการทำงานร่วมกับเกษตรกรและหน่วยงานในการปรับตัวต่อการขาดแคลนน้ำ การเพิ่มผลผลิตภายใต้ขีดจำกัดการใช้น้ำอย่างยั่งยืน การพัฒนาความร่วมมือระดับภูมิภาค เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ และแบ่งปันแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดเพื่อเร่งการพัฒนาของประเทศ โดยที่ประชุมได้คัดเลือกพื้นที่ใน จ.เพชรบูรณ์ เพื่อสำรวจปัญหาการใช้น้ำและการบริหารจัดการน้ำ ประกอบด้วย 1) อ.เมือง จำนวน 4 ตำบล ได้แก่ ต.นาป่า ต.ชอนไพร ต.ป่าเลา และ ต.บ้านโคก และ 2) อ.บึงสามพัน จำนวน 2 ตำบล ได้แก่ ต.บึงสามพัน และ ต.หนองแจง

4. การเฝ้าระวัง: กรมชลประทาน ปรับลดการระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา จากอัตรา 400 ลบ.ม./วินาที เป็นอัตรา 340 ลบ.ม./วินาที ในวันที่ 6 ก.ค. 68 เวลา 15.00 น. (ชั่วโมงละ 10 ลบ.ม./วินาที โดยประมาณ) และจะคงอัตราดังกล่าวต่อเนื่องเพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์