1. ปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.พะเยา (141 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.นครพนม (92 มม.) ภาคตะวันตก : จ.เพชรบุรี (32 มม.) ภาคกลาง : ชัยนาท (22 มม.) ภาคตะวันออก : จ.ตราด (38 มม.) ภาคใต้ : จ.ระนอง (99 มม.)
สภาพอากาศวันนี้ : หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเมียนมาตอนบนและลาวตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง
คาดการณ์ : ช่วงวันที่ 7 – 9 ก.ค. 68 ประเทศไทยมีฝนลดลงแต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลงเป็นกำลังปานกลาง พายุโซนร้อน “ดานาส” บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีแนวโน้ม จะเคลื่อนเข้าใกล้ไต้หวัน ในช่วงวันที่ 7 – 9 ก.ค. 68 โดยพายุนี้ไม่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 57% ของความจุเก็บกัก (45,648 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 37% (21,532 ล้าน ลบ.ม.)
3. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 10/2568 เฝ้าระวังน้ำหลาก ดินโคลนถล่ม น้ำท่วมขัง และระดับน้ำโขงเปลี่ยนแปลง ในวันที่ 6 – 12 ก.ค. 68 ดังนี้
1. พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และน้ำท่วมขัง ในพื้นที่ ภาคเหนือ บริเวณ จ.เชียงราย จ.น่าน จ.พะเยา และ จ.ตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณ จ.เลย จ.หนองคาย จ.บึงกาฬ จ.อุดรธานี จ.สกลนคร จ.นครพนม จ.ยโสธร และจ.อุบลราชธานี ภาคตะวันออก บริเวณ จ.ชลบุรี จ.ระยอง จ.จันทบุรี และ จ.ตราด และ ภาคใต้ บริเวณ จ.ระนอง จ.พังงา จ.ภูเก็ต และจ.สุราษฎร์ธานี
2. เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุเก็บกัก และเร่งพร่องน้ำในอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำมากกว่าความจุเก็บกัก เพื่อรองรับปริมาณน้ำหลากจากฝนที่ตกหนัก
3. เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่งและท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของแม่น้ำอิง
4. เฝ้าระวังผลกระทบจากระดับน้ำในแม่น้ำโขงเปลี่ยนแปลง บริเวณพื้นที่จังหวัดริมแม่น้ำโขง
4.ข่าวประชาสัมพันธ์ : สทนช. ร่วมกับ กรมประมง จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมศักยภาพประมงลุ่มน้ำโขง ปี 2568 ระหว่างวันที่ 3 – 4 ก.ค. 68 ณ องค์การบริหารส่วน ต.ท่าค้อ อ.เมืองนครพนม จ.นครพนม
การประชุมในครั้งนี้มุ่งเน้นการเสริมสร้างองค์ความรู้ หารือ เกี่ยวกับผลการศึกษาจากโครงการติดตามผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนจากโครงการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรประมงโดยชุมชนมีส่วนร่วม การเพาะพันธุ์ปลายี่สกไทยจากแม่น้ำโขง รวมถึงการนำปลาต่างถิ่นมาแปรรูปเพิ่มมูลค่า นอกจากนี้ ยังมีการถ่ายทอดเทคนิคการเพาะพันธุ์ปลาด้วยนวัตกรรมชุดเพาะฟักเคลื่อนที่ (Mobile Hatchery) เพื่อสนับสนุนการขยายพันธุ์ปลาในพื้นที่ลุ่มน้ำโขงตอนล่าง กิจกรรมครั้งนี้ถือเป็นเวทีสำคัญในการบูรณาการองค์ความรู้ วิชาการ และประสบการณ์ในพื้นที่ เพื่อเสริมสร้างการจัดการทรัพยากรประมงอย่างยั่งยืนและสอดคล้องกับวิถีชุมชนริมโขงต่อไป
5. การเฝ้าระวัง: กรมชลประทานปรับเพิ่มการระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา กรกฎาคม 2568 เวลา 01.00 น. (ชั่วโมงละ 10 ลบ.ม./วินาที โดยประมาณ) และจะคงอัตราดังกล่าวต่อเนื่องเพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์