1. ปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.น่าน (77 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.หนองคาย (74 มม.) ภาคตะวันตก : จ.ราชบุรี (35 มม.) ภาคกลาง : จ.นนทบุรี (71 มม.) ภาคตะวันออก : จ.ระยอง (54 มม.) ภาคใต้ : จ.สุราษฎร์ธานี (113 มม.)
วันนี้ : ร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านประเทศเมียนมาตอนบน และตอนบนของภาคเหนือ เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศลาวตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
คาดการณ์ : ช่วงวันที่ 3 – 6 ก.ค. 68 ร่องมรสุมกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงพาดผ่านภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออก เฉียงเหนือตอนบน และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2. คุณภาพน้ำ ณ จุดเฝ้าระวัง แม่น้ำสายหลัก :
น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค แม่น้ำเจ้าพระยา ณ สถานีสูบน้ำสำแล จ.ปทุมธานี อยู่ใน เกณฑ์มาตรฐาน
น้ำเพื่อการเกษตร แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำบางปะกง อยู่ใน เกณฑ์มาตรฐาน
3. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 56% ของความจุเก็บกัก (45,416 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 37% (21,298 ล้าน ลบ.ม.)
– เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดใหญ่ปริมาณน้ำสูงกว่าเกณฑ์เก็บกักสูงสุด จำนวน 2 แห่ง ดังนี้ ภาคเหนือ : อ่างเก็บน้ำแม่จาง และอ่างเก็บน้ำแม่งัดสมบูรณ์ชล
– เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำเก็บกักมากกว่า 80% จำนวน 32 แห่ง ดังนี้ ภาคเหนือ 2 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 23 แห่ง ภาคกลาง 1 แห่ง ภาคตะวันออก 2 แห่ง และภาคใต้ 4 แห่ง
– เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำเก็บกักมากกว่า 100% จำนวน 5 แห่ง ดังนี้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 แห่ง และภาคตะวันออก 2 แห่ง
4. ข่าวประชาสัมพันธ์ : เมื่อวันที่ 30 มิ.ย..–.1 ก.ค. 68 สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ร่วมกับผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ทีมวิทยากรจากกรมประมง และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเสริมสร้างศักยภาพด้านประมงในระดับพื้นที่ลุ่มน้ำโขง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลปากตม อ.เชียงคาน จ.เลย โดยการประชุมในครั้งนี้ได้ร่วมกันหารือ และแลกเปลี่ยนข้อมูล องค์ความรู้ จากผลการศึกษาโครงการติดตามผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนจากโครงการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน รวมถึงได้เสนอแนะแนวทางการปรับตัวและส่งเสริมด้านประมงให้แก่ชุมชน ได้แก่ นโยบายของกรมประมงในการส่งเสริมชุมชนรวมกลุ่มเพื่อจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรประมงน้ำจืด การเพาะพันธุ์ปลายี่สกไทยใกล้สูญพันธุ์ในแม่น้ำโขง อีกทั้งได้ร่วมกันรับฟังบรรยายและฝึกปฏิบัติการแปรรูปเมนูจากปลา และการเพาะพันธุ์ปลาด้วยชุดเพาะฟักไข่ปลาแบบเคลื่อนย้ายได้ (Mobile hatchery)