วันที่ 23 พฤษภาคม 2568 ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา ประธานกรรมการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล กล่าวต้อนรับ Dr. Marcus Schabacker, President & CEO of ECRI ผ่านระบบ Online ในการประชุม Executive Meeting for Fostering Patient Safety Innovation and Collaboration between ECRI, HAI Thailand and Key Stakeholders ณ โรงแรมเดอะสุโกศล กรุงเทพ โดยมีคณะกรรมการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล เครือข่ายสถานพยาบาลที่ผ่านการรับรองกระบวนการคุณภาพมาตรฐาน HA ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงผู้แทนจากสหสาขาวิชาชีพ ผู้บริหารสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล จำนวน 46 คน
แพทย์หญิงปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล กล่าวว่า “การประชุมครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อเสริมการพัฒนาความปลอดภัยของผู้ป่วย (Patient Safety) ด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรมและแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศระดับโลกเพื่อเสริมความปลอดภัยและคุณภาพระบบสุขภาพ และแลกเปลี่ยนกระบวนการที่สร้างสรรค์และแนวทางความร่วมมือ ด้านความปลอดภัยของผู้ป่วย การบริหารความเสี่ยง และเทคโนโลยีทางการแพทย์ ผ่านองค์ความรู้ระดับโลกของ ECRI ตลอดจนสร้างเครือข่ายความร่วมมือในระดับผู้นำระดับบริหารจากหน่วยงาน/องค์กรความร่วมมือ สถาบันการแพทย์ภาครัฐและเอกชน รวมถึงสถาบันการศึกษา เพื่อขับเคลื่อนโครงการด้านความปลอดภัยของผู้ป่วยของประเทศไทย โดยมีประเด็นสำคัญในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รับฟังความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ ได้แก่ ความสำคัญของการประยุกต์ใช้ Human Factors Engineering ทางคลินิกเพื่อการปรับปรุงระบบและกระบวนการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น, ความสำคัญของ Just Culture ในระบบสุขภาพ, ความสำคัญของการทวนสอบและรายงานอุบัติการณ์อย่างรอบด้าน เชื่อมโยงกับบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) กับ ECRI & HAI, ความเข้าใจในความท้าทายที่ระบบสาธารณสุขไทยเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ทั้งในภาครัฐและเอกชน และความเข้าใจในประเด็นสำคัญที่เป็นจุดเน้นของระบบสุขภาพไทย เป็นต้น”
ด้าน Dr.Marcus Schabacker, President & CEO of ECRI ได้มีการบรรยายและร่วมแลกเปลี่ยนกับผู้เข้าร่วมประชุมหัวข้อ “A pragmatic approach to safety : Total Systems Safety” TOP 10 patient safety 2025 ซึ่งได้เน้นย้ำแนวคิดสำคัญเรื่อง Total System Safety ซึ่งเป็นการเปลี่ยนกรอบคิดจากการตำหนิบุคคล ไปสู่การ ออกแบบระบบที่คำนึงถึงข้อจำกัดของมนุษย์ ให้สามารถทำงานได้อย่างปลอดภัยภายใต้สภาพแวดล้อมจริง ลดภาระความคาดหวังที่เกินขอบเขตความสามารถของบุคลากร และส่งเสริมวัฒนธรรมที่เปิดกว้างต่อการเรียนรู้จากข้อผิดพลาด กล้ารายงานเพื่อการเรียนรู้ (Just Culture) พร้อมระบุว่า 25% ของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลยังคงประสบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ และหลายกรณีสามารถป้องกันได้ หากระบบถูกออกแบบอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังเตือนถึง ความเสี่ยงจากการนำ AI มาใช้โดยขาดความเข้าใจบริบททางคลินิก ข้อมูลต้นทาง และกระบวนการกำกับดูแลที่รัดกุม พร้อมเน้นย้ำความจำเป็นของการวาง แนวทาง AI Governance ภายในองค์กรสุขภาพ เพื่อให้การพัฒนาและใช้งาน AI เป็นไปอย่างโปร่งใส ปลอดภัย และสอดคล้องกับระบบบริการจริง และเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจของผู้ใช้งาน โดยสรุปว่า “หากระบบถูกออกแบบมาให้ได้ผลลัพธ์แบบใด ก็จะได้ผลลัพธ์แบบนั้นเสมอ ดังนั้นหากผลลัพธ์ไม่ดี ปัญหาไม่ได้อยู่ที่คน แต่คือระบบที่ต้องถูกแก้ไข” โดย ดร.มาร์คัส ชูบัคเกอร์ เน้นแนวคิด Total System Safety ที่ออกแบบระบบให้รองรับข้อจำกัดของมนุษย์ ลดการตำหนิบุคคล และส่งเสริมวัฒนธรรมเรียนรู้จากข้อผิดพลาด (Just Culture) พร้อมเตือนถึง ความเสี่ยงของ AI ทางการแพทย์ ที่ขาดความเข้าใจบริบทและการกำกับดูแลที่เหมาะสม จึงเสนอให้ทุกองค์กรวางแนวทาง AI Governance และสร้างความเข้าใจในระบบ AI อย่างรอบด้าน เพื่อให้เทคโนโลยีใหม่เกิดประโยชน์อย่างปลอดภัยและยั่งยืน.