1. ปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.น่าน (84 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.เลย (76 มม.) ภาคตะวันตก : จ.ราชบุรี (64 มม.) ภาคกลาง : กรุงเทพมหานคร (34 มม.) ภาคตะวันออก : จ.จันทบุรี (30 มม.) ภาคใต้ : จ.สงขลา (63 มม.)
วันนี้ : ความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศเวียดนามและทะเลจีนใต้ ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง สำหรับภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เนื่องจากลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย
คาดการณ์ : ช่วงวันที่ 10 – 12 พ.ค. 68 ความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศเวียดนามและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นโดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก และฝนตกหนักในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับภาคใต้ มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง เนื่องจากลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น
2. การให้ความช่วยเหลือ : สทนช. ติดตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้การช่วยเหลือพื้นที่ประสบปัญหาด้านน้ำ ดังนี้
กรมชลประทาน ดำเนินการกำจัดวัชพืชและสิ่งกีดขวางทางน้ำบริเวณแม่น้ำน้อย ต.ลาดชิด อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำสำหรับการเกษตรและการอุปโภคบริโภค
กรมทรัพยากรน้ำ ดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ในพื้นที่ชุมชนมั่งคั่ง ต.หนองบัว อ.เมืองอุดรธานี จ.อุดรธานี เพื่อระบายน้ำออกจากพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย
3. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 56% ของความจุเก็บกัก (44,975 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 36% (20,763 ล้าน ลบ.ม.)
เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดใหญ่ปริมาณน้ำสูงกว่าเกณฑ์เก็บกักสูงสุด จำนวน 1 แห่ง ดังนี้
ภาคเหนือ : อ่างเก็บน้ำแม่จาง
เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำเก็บกักมากกว่า 80% จำนวน 35 แห่ง ดังนี้
4. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ : ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 3/2568 ลงวันที่ 7 พ.ค. 68 เฝ้าระวังน้ำท่วมขัง น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 10 – 13 พ.ค. 68 พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงต้องเฝ้าระวัง ดังนี้
1. พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมขัง ในเขตชุมชนเมืองที่เกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำเนื่องจากระบายไม่ทัน บริเวณ จ.นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร
2. พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม
ภาคเหนือ บริเวณ จ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำปาง อุตรดิตถ์ แพร่ น่าน พิษณุโลก สุโขทัย กำแพงเพชร และนครสวรรค์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณ จ.เลย บึงกาฬ หนองคาย ชัยภูมิ มหาสารคาม นครราชสีมา สุรินทร์ และอุบลราชธานี
ภาคตะวันออก บริเวณ จ.ฉะเชิงเทรา สระแก้ว ชลบุรี จันทบุรี และตราด
ภาคใต้ บริเวณ จ.ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี พังงา กระบี่ ภูเก็ต ตรัง นครศรีธรรมราช สตูล ยะลา และนราธิวาส
สทนช. ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ำ พร้อมทั้งเตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำและแจ้งเตือนล่วงหน้าให้ประชาชนเตรียมพร้อมในการขนของขึ้นที่สูงหรืออพยพได้ทันท่วงที