1.ปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.พิษณุโลก (59 มม.)ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.สกลนคร (49 มม.) ภาคกลาง : จ.กรุงเทพมหานคร (63 มม.) ภาคตะวันออก : จ.จันทบุรี (63 มม.) ภาคตะวันตก : จ.ราชบุรี (11 มม.) ภาคใต้ : จ.พังงา (84 มม.)
สภาพอากาศวันนี้ : ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง เนื่องจากลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน สำหรับภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณตอนล่างของภาค
คาดการณ์ : ในช่วงวันที่ 3 – 7 พ.ค. 68 ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออก โดยอุณหภูมิจะเริ่มสูงขึ้น และมีอากาศร้อน เนื่องจากความกดอากาศต่ำจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ยังคงมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคกลางตอนล่าง
2. คุณภาพน้ำ ณ จุดเฝ้าระวัง แม่น้ำสายหลัก : น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค แม่น้ำเจ้าพระยา ณ สถานีสูบน้ำสำแล จ.ปทุมธานี อยู่ใน เกณฑ์มาตรฐานน้ำเพื่อการเกษตร
แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำบางปะกง อยู่ใน เกณฑ์มาตรฐาน
3. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 57% ของความจุเก็บกัก (45,714 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 37% (21,501 ล้าน ลบ.ม.)
สทนช. ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด และบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ เพื่อรองรับปริมาณน้ำที่อาจเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูฝน โดยเน้นการลดความเสี่ยงจากอุทกภัยและเตรียมความพร้อมในทุกภาคส่วน พร้อมทั้งสร้างการรับรู้แก่ประชาชน ประชาสัมพันธ์การแจ้งเตือน และจัดเตรียมมาตรการช่วยเหลือผ่านช่องทางต่าง ๆ อย่างทั่วถึงและทันท่วงที
4. ข่าวประชาสัมพันธ์ : เมื่อวันที่ 30 เม.ย. 68 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) มอบหมายให้แพทย์หญิงเพชรดาว โต๊ะมีนาที่ปรึกษารัฐมนตรีฯ เป็นประธานพิธีเปิดโครงการ “ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการติดตามสถานการณ์น้ำ เพื่อเฝ้าระวังและรับมือภัยแล้ง’–’อุทกภัย ครั้งที่ 1 ภาคเหนือ” ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมนานาชาติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (KNECC) จ.พิษณุโลก
โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรภาครัฐในระดับพื้นที่ให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์ภัยแล้งและอุทกภัย ทั้งในด้านการวิเคราะห์ การวางแผน และการตัดสินใจเชิงรุก พร้อมทั้งส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างบูรณาการ
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวจะมีการจัดอบรมให้ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยเริ่มต้นที่ภาคเหนือ ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้น
ที่สำคัญในการขับเคลื่อนองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปสู่ระดับชุมชนในการเสริมสร้างความมั่นคงด้านทรัพยากรน้ำ และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนไทยในระยะยาว