สถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 12 ก.ย. 66 เวลา 7.00 น.

ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ และมีฝนตกหนักบางแห่ง

ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกปานกลางถึงหนักมากบริเวณ จ.น่าน (102) จ.บึงกาฬ (82) จ.ตราด (54) จ.ระนอง (39) จ.กาญจนบุรี (35) กรุงเทพมหานคร (22)

ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 46,290 ล้าน ลบ.ม. (56%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 41,469 ล้าน ลบ.ม. (58%)

คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี

พื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วง 1-3 วัน บริเวณ ภาคเหนือ จ.เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก ลำปาง แพร่ น่าน สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ขอนแก่น ชัยภูมิ และกาฬสินธุ์ ภาคตะวันออก จ.ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคตะวันตก จ.กาญจนบุรี ภาคใต้ จ.ตรัง

กรมฝนหลวงและการบินเกษตร (11 ก.ย. 66) มีการปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร และเติมน้ำต้นทุนอ่างเก็บน้ำ ได้มีฝนตกในพื้นที่ ดังนี้
จ.เชียงราย (เวียงป่าเป้า) จ.ลำปาง (เมืองปาน แจ้ห่ม วังเหนือ)
จ.กำแพงเพชร (เมืองกำแพงเพชร ไทรงาม ลานกระบือ) จ.สุโขทัย (คีรีมาศ)
จ.พิษณุโลก (บางระกำ) และพื้นที่ลุ่มรับน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จ.เชียงใหม่
จ.นครสวรรค์ (พยุหะคีรี ท่าตะโก) พื้นที่ลุ่มรับน้ำบึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์
จ.นครศรีธรรมราช (ลานสกา เมืองนครศรีธรรมราช พระพรหม ปากพนัง
จุฬาภรณ์ เฉลิมพระเกียรติ ร่อนพิบูลย์ ชะอวด ทุ่งสง) ป่าพรุควนเคร็ง
จ.นครศรีธรรมราช

สทนช. ชี้แจงขั้นตอนการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พรบ.ทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561
วันที่ 11 กันยายน 2566 นายบุญสม ชลพิทักษ์วงศ์ รองเลขาธิการ สทนช. เป็นประธานเปิดการประชุมชี้แจงรายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามหมวด 5 แห่งพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 พร้อมด้วย ผู้แทนจาก 13 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมและผ่านระบบออนไลน์ ณ ศูนย์การประชุม The Halls เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถปฏิบัติตามหน้าที่และอำนาจได้อย่างถูกต้องมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับเจตนารมณ์ และบทบัญญัติของพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 และกฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้อง โดยมีการอภิปรายในหัวข้อ บทบาท หน้าที่และอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามหมวด 5 แห่งพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 และการดำเนินการตามมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2566 รวมทั้งแนวทาง ขั้นตอน และวิธีการในการดำเนินการเกี่ยวกับการเกี่ยวกับการจ่ายค่าทดแทน ค่าชดเชยความเสียหาย อันเกิดจาก การดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจในการป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้ง และน้ำท่วม ดังนี้
– กฎกระทรวง กำหนดค่าทดแทนให้แก่บุคคลซึ่งต้องเฉลี่ยน้ำที่กักเก็บไว้เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในการอุปโภคบริโภคของประชาชนในพื้นที่เขตภาวะน้ำแล้งอย่างรุนแรง พ.ศ. 2564
– กฎกระทรวง ค่าชดเชยความเสียหายจากการดำเนินการเพื่อป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วม พ.ศ. 2564
– กฎกระทรวง ค่าทดแทนและค่าชดเชยความเสียหายจากการใช้ที่ดินหรือสิ่งก่อสร้างเพื่อป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้ง และภาวะน้ำท่วม พ.ศ. 2564
– กฎ ระเบียบ ประกาศอื่นที่เกี่ยวข้อง