ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.บึงกาฬ (150) จ.เชียงราย (97) จ.ประจวบคีรีขันธ์ (79) จ.ลพบุรี (68) จ.ระยอง (66) และ จ.นราธิวาส (49)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 44,008 ล้าน ลบ.ม. (53%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 39,322 ล้าน ลบ.ม. (55%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กรมทรัพยากรน้ำ ดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ พร้อมท่อส่งน้ำสูบน้ำจากห้วยผีบ้าให้กับแหล่งน้ำผลิตระบบประปาหนองอีเกิ้ง ต.น้ำปลีก อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ ประชาชนได้รับประโยชน์ 868 คน และติดตั้งเครื่องสูบน้ำในบริเวณพื้นที่ ต.บ้านมะเกลือ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ สูบน้ำจากแม่น้ำปิงเข้าคลองยายหมอน แก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร จำนวน 4,310 ไร่ ประชาชนได้รับประโยชน์ 5 หมู่บ้าน จำนวน 560 ครัวเรือน 3,000 คน
กอนช. ประกาศ เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ฉบับที่ 15/2566 ในช่วงวันที่ 20-25 ส.ค. 66 ดังนี้ ภาคเหนือ จ.เชียงราย เชียงใหม่ น่าน และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.หนองคาย บึงกาฬ นครพนม สกลนคร อุดรธานี อำนาจเจริญ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ภาคตะวันออก จ.จันทบุรี และตราด ภาคใต้ จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต สตูล ตรัง และสุราษฎร์ธานี
สทนช. เร่งหน่วยงานขับเคลื่อนมาตรการรับมือฤดูฝนปี 2566 เพิ่มเติม เพื่อรองรับสถานการณ์เอลนีโญ
ปัจจุบัน (21 ส.ค. 66) อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวมกัน 41,789 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 55% สามารถรับน้ำได้อีกประมาณ 34,548 ล้าน ลบ.ม. เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯและเขื่อนป่าสักฯ) มีปริมาณน้ำรวม 10,258 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 41% ของความจุอ่างฯ รวมกัน สามารถรับน้ำได้อีกประมาณ 14,613 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการทำนาปีทั่วประเทศไปแล้วประมาณ 14.40 ล้านไร่ คิดเป็น 85 % ของแผนฯ เก็บเกี่ยวแล้วประมาณ 0.98 ล้านไร่ เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา ทำนาปีไปแล้ว 7.34 ล้านไร่ คิดเป็น 91% ของแผนฯ เก็บเกี่ยวไปแล้ว 0.96 ล้านไร่ ทั้งนี้ จากการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาพบว่าสถานการณ์เอลนีโญมีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้น ส่งผลให้ในช่วงเดือน พ.ย. 66 – เม.ย. 67 มีปริมาณน้ำในเขื่อนใช้การได้ประมาณ 7,000 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งเพียงพอสำหรับการอุปโภค-บริโภค และรักษาระบบนิเวศเท่านั้น
ดังนั้น เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงผลผลิตทางการเกษตรเสียหาย กรมชลประทานจึงได้ประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือเกษตรกรที่ได้ทำการเพาะปลูกข้าวนาปีรอบแรกและเก็บเกี่ยวแล้วเสร็จ งดเพาะปลูกข้าวนาปีต่อเนื่อง เนื่องจากปริมาณน้ำต้นทุนมีไม่เพียงพอ พร้อมเร่งเก็บกักน้ำในช่วงปลายฤดูฝนให้ได้มากที่สุด