สถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 18 สค. 66 เวลา 7.00 น.

ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออก

ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกปานกลางถึงหนักบริเวณ จ.เลย (89) จ.เชียงราย (58) จ.ชัยนาท (53) จ.ประจวบคีรีขันธ์ (48) จ.ระนอง (24) จ.ตราด (14)

ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 43,963 ล้าน ลบ.ม. (53%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 39,259 ล้าน ลบ.ม. (55%)

คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี

กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลบางตาเถร ร่วมตรวจสอบและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภค-บริโภค พื้นที่บ้านบางเมฆ หมู่ 12 ต.บางตาเถร อ.สองพี่น้อง จ. สุพรรณบุรี ในการนี้ได้ส่งเครื่องจักรเข้าดำเนินการเจาะบ่อน้ำบาดาล และติดตั้งเครื่องสูบน้ำไฟฟ้า เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค อย่างถาวรต่อไป

กอนช. ประกาศ เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ฉบับที่ 14/2566 ในช่วงวันที่ 12-18 ส.ค. 66 ดังนี้ ภาคเหนือ จ.เชียงราย เชียงใหม่ ตาก และน่าน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.หนองคาย บึงกาฬ นครพนม และสกลนคร ภาคตะวันออก จ.ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้ จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต สตูล และตรัง

กอนช. ประกาศ เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ฉบับที่ 15/2566 ในช่วงวันที่ 20-25 ส.ค. 66
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ติดตามสภาพอากาศพบว่าประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ในช่วงวันที่ 20 – 25 ส.ค. 66 มีพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขัง ไม่สามารถระบายได้ทัน ดังนี้

1. ภาคเหนือ จ.เชียงราย (อ.เมืองเชียงราย ขุนตาล และแม่สรวย) จ.เชียงใหม่ (อ.ฝาง และแม่อาย) จ.น่าน (อ.นาหมื่น และเวียงสา) จ.เพชรบูรณ์ (อ.เขาค้อ)

2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.หนองคาย (อ.เมืองหนองคาย เฝ้าไร่ โพนพิสัย และรัตนวาปี) จ.บึงกาฬ (อ.บุ่งคล้า) จ.นครพนม (อ. ท่าอุเทน
และศรีสงคราม) จ.สกลนคร (อ.พรรณานิคม สว่างแดนดิน และอากาศอำนวย) จ.อุดรธานี (อ.บ้านดุง) จ.อำนาจเจริญ (อ.เมืองอำนาจเจริญ และหัวตะพาน) จ.สุรินทร์ (อ.เมืองสุรินทร์) จ.ศรีสะเกษ (อ.เมืองศรีสะเกษ) จ.อุบลราชธานี (อ.เขื่องใน)

3. ภาคตะวันออก จ.จันทบุรี (อ.เมืองจันทบุรี แก่งหางแมว และขลุง) จ.ตราด (อ.เมืองตราด เขาสมิง บ่อไร่ คลองใหญ่ และเกาะช้าง)

4. ภาคใต้ จ.ระนอง (อ.เมืองระนอง และกะเปอร์) จ.พังงา (อ.เมืองพังงา คุระบุรี ตะกั่วป่า กะปง ทับปุด และท้ายเหมือง) จ.ภูเก็ต (อ.เมืองภูเก็ต กะทู้ และถลาง) จ.สตูล (อ.เมืองสตูล และละงู) จ.ตรัง (อ.เมืองตรัง ปะเหลียน และวังวิเศษ) จ.สุราษฎร์ธานี (อ.พนม และบ้านตาขุน)

ในการนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ หรือพื้นที่ชุมชนเมือง ที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ กำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ ลอกท่อระบายน้ำ และบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือได้ทันที