ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออก เฉียงเหนือด้านตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออก
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงสูงสุดที่ผ่านมารายภาค มีฝนตกหนัก บริเวณ จ.ระนอง (89) จ.นครพนม (47) จ.จันทบุรี (43) จ.กาญจนบุรี (31) จ.ตาก (23) และ จ.พระนครศรีอยุธยา (16)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 40,876 ล้าน ลบ.ม. (50%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 36,283 ล้าน ลบ.ม. (51%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กอนช. ประกาศ เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ฉบับที่ 12/2566 ในช่วงวันที่ 28 ก.ค. – 2 ส.ค. 66 ดังนี้
• ภาคเหนือ จ.ตาก และอุทัยธานี
• ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ชัยภูมิ หนองคาย บึงกาฬ นครพนม สกลนคร ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
• ภาคตะวันออก จ.ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
• ภาคใต้ จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช
กอนช. ติดตามหน่วยงานบริหารจัดการน้ำตามข้อสั่งการของกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.)
กรมชลประทาน ได้ติดตามสภาพอากาศพร้อมวางแผนสำรองน้ำ เพื่อรับมือสถานการณ์มาอย่างต่อเนื่อง โดยได้จัดสรรน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคเป็นหลัก รักษาระบบนิเวศ การเกษตรและอุตสาหกรรม ตามลำดับ จึงทำให้การจัดสรรน้ำเป็นไปตามแผนที่กำหนด และไม่มีพื้นที่ในเขตชลประทานประสบภัยแล้ง พร้อมคาดการณ์และวางมาตรการรับมือสถานการณ์น้ำในอนาคต ตามข้อสั่งการของกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ด้วยการวางแผนการบริหารจัดการน้ำ 2 ปี (ปี2566-2567) เร่งเก็บกักน้ำในช่วงฤดูฝนที่เหลือ (ก.ค.- ต.ค.66) ให้ได้มากที่สุด รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการกักเก็บของอ่างเก็บน้ำ แก้มลิง คลองส่งน้ำ คลองระบายและบ่อยืม ชะลอ/กักเก็บน้ำในลำน้ำธรรมชาติ อาทิ ต้นน้ำจัดทำฝายชะลอน้ำ กลางน้ำ กักเก็บน้ำโดยเขื่อนทดน้ำ เขื่อนระบายน้ำ ประตูระบายน้ำ ฝาย ปลายน้ำ กักเก็บน้ำโดยอาคารชลประทาน สำหรับทางน้ำที่ยังไม่มีอาคารชลประทานให้พิจารณาสร้างทำนบชั่วคราว เพื่อกักเก็บน้ำไว้ไม่ให้ไหลลงแม่น้ำนานาชาติหรือทะเล ที่สำคัญทำการประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือเกษตรกรเพาะปลูกพืช ที่ใช้น้ำน้อยในช่วงฤดูแล้ง รวมทั้งใช้มาตรการ 3R REDUCED ประหยัดน้ำโดยการลดการใช้น้ำ ควบคุมปริมาณการใช้น้ำในสัดส่วนที่เหมาะสม REUSED นำน้ำมาใช้ซ้ำ RECYCLED นำน้ำมาผ่านกระบวนการบำบัดให้สามารถใช้ได้อีก