ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ฝั่งตะวันออก โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.พังงา (149) จ.ตราด (140) จ.ชัยภูมิ (98) กรุงเทพมหานคร (73) จ.สุโขทัย (68) และ จ.กาญจนบุรี (42)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 40,421 ล้าน ลบ.ม. (49%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 35,961 ล้าน ลบ.ม. (50%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กอนช. คาดการณ์ปริมาณน้ำในพื้นที่แม่น้ำโขงตอนล่าง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนี้
• สถานีเชียงแสน จ.เชียงราย คาดการณ์ระดับน้ำจะเพิ่มขึ้นสูงสุด ในช่วงวันที่ 23-25 ก.ค. 66 ประมาณ 1.20-1.60 เมตร แต่ยังคงต่ำกว่าระดับตลิ่ง
• สถานีเชียงคาน จ.เลย คาดการณ์ระดับน้ำจะเพิ่มขึ้นสูงสุด ในช่วงวันที่ 25 – 27 ก.ค. 66 ประมาณ 0.80-1.50 เมตร แต่ยังคงต่ำกว่าระดับตลิ่ง
• สถานีหนองคาย จ.หนองคาย จนถึง สถานีโขงเจียม จ.อุบลราชธานี คาดการณ์ระดับน้ำจะเพิ่มขึ้นสูงสุดในช่วงวันที่ 26 – 30 ก.ค. 66 ประมาณ 1.00 -1.50 เมตร แต่ยังคงต่ำกว่าระดับตลิ่ง
สทนช. เร่งดำเนินการบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้ง ในพื้นที่ลุ่มน้ำมูลตอนกลาง จ.บุรีรัมย์-สุรินทร์
เมื่อวันที่ 20 ก.ค. 66 นายชยันต์ เมืองสง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) และลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำการเตรียมความพร้อมรับมือฤดูฝนปี 66 ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายใต้โครงการศึกษาแผนหลักแบบบูรณาการเพื่อบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้ง พื้นที่เฉพาะ (Area Based) ลุ่มน้ำมูลตอนกลาง บุรีรัมย์-สุรินทร์ ณ อ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ และในวันที่ 21 ก.ค. 66 ได้ติดตามโครงการจัดหาแหล่งน้ำบาดาลระยะไกลเพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่ขาดแดลนน้ำ ณ ต.โนนสุวรรณ อ.โนนสุวรรณ จ.บุรีรัมย์ ร่วมกับกรมทรัพยากรน้ำบาดาล โดยโครงการฯ ได้ดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อปี 65 เพื่อเป็นการสร้างความมั่นคงด้านน้ำเพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและชุมชน ด้วยการเจาะบ่อน้ำบาดาลในพื้นที่ที่มีศักยภาพสูงและสร้างระบบกระจายน้ำ ส่งน้ำไปยังพื้นที่ซึ่งประสบปัญหาการขาดแลนน้ำ และส่งน้ำให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง สามารถเพิ่มปริมาณน้ำสำหรับใช้ประโยชน์ 1.06 ล้าน ลบ.ม./ปี ประชาชนได้รับประโยชน์ 400 ครัวเรือน และในอนาคตสามารถขยายพื้นที่ได้รับประโยชน์ 2,000 ครัวเรือน
ทั้งนี้ รองเลขาธิการ สทนช. ได้กำชับให้หน่วยงานเร่งวางแผนดำเนินการเตรียมรับมือสถานการณ์เอลนิโญ พร้อมติดตาม เฝ้าระวัง สถานการณ์ และควบคุมการบริหารจัดการน้ำอย่างเคร่งครัดให้เพียงพอถึงฤดูแล้งปี 67/68