สถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 19 มิ.ย. 66 เวลา 7.00 น.

ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากบริเวณด้านรับมรสุม

ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกปานกลางถึงหนักมากบริเวณ จ.จันทบุรี (151) จ.สกลนคร (134) จ.กำแพงเพชร (83) จ.พระนครศรีอยุธยา (61) จ.พังงา (61) จ.กาญจนบุรี (27)

ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 37,185 ล้าน ลบ.ม. (52%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 37,185 ล้าน ลบ.ม. (50%)

คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี ยกเว้นแม่น้ำแม่บางปะกงค่าออกซิเจนต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ดำเนินการซ่อมบำรุงรักษาระบบประปาบาดาลของโครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อความมั่นคงระดับชุมชน ในพื้นที่บ้านช่องด่าน หมู่ที่ 2 ต.ช่องด่าน อ.บ่อพลอย จ.กาญจนบุรี และบ้านหนองหมู หมู่ที่ 6 ต.หลุมรัง อ.บ่อพลอย จ.กาญจนบุรี เพื่อให้สามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติ

พื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำหลากช่วง 1-3 วัน ดังนี้ ภาคตะวันออก บริเวณ จ.นครนายก จันทบุรี ตราด และระยอง ภาคใต้ บริเวณ จ.สงขลา และยะลา

กอนช. ติดตามการใช้เรดาห์ บริหารจัดการน้ำของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

กรมชลประทาน ดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพระบบการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ด้วยระบบเรดาร์ Solid – State Polarimetric X-band เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการอ่างเก็บน้ำในการป้องกันภัยพิบัติ ตามมติที่ประชุมระหว่างสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสาร แห่งประเทศญี่ปุ่น (MIC) สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย บริษัท Japan Radio Co.,Ltd (JRC) และบริษัท Nippon Koei Co.,Ltd.

ระบบเรดาร์ Solid – State Polarimetric X-band เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่นำมาใช้ในการบริหารจัดการน้ำ โดยติดตั้งเป็นแห่งแรกในพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสัก บริเวณสถานีสำรวจทางอุทกวิทยา S.42 อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์ เนื่องจากลุ่มน้ำป่าสักประสบปัญหาอุทกภัยเป็นประจำ จากสภาพทางภูมิประเทศที่ลาดชัน ซึ่งสถานีเรดาร์จะทำหน้าที่ตรวจวัดปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่ได้แบบ near real time สามารถคาดการณ์ปริมาณฝนล่วงหน้า ครอบคลุมตั้งแต่พื้นที่ตอนกลางของลุ่มน้ำป่าสักไปจนถึงท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ โดยระบบเรดาร์ จะวัดข้อมูลฝนเชิงพื้นที่ ที่มีความละเอียดสูงพร้อมระบบการจัดเก็บข้อมูลประมวลผลเรดาร์ผ่าน J-BIRDS Software ที่จะแสดงข้อมูลปริมาณฝนสะสม ความเข้มของฝน รวมทั้งการเคลื่อนที่ของลมหรือพายุ นำไปประมวลผลด้วยแบบจำลองอุทกพลศาสตร์ ที่ติดตั้งอยู่ที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาป่าสักชลสิทธิ์ ร่วมกับข้อมูลอ่างเก็บน้ำ ข้อมูลตรวจวัดระดับน้ำ และปริมาณน้ำท่าจากระบบโทรมาตรที่มีอยู่เดิม นำไปสู่การคาดการณ์ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างฯ และระบบสนับสนุนการบริหารจัดการน้ำ ส่งผลให้การบริหารจัดการน้ำในเขื่อนสอดคล้องกับสถานการณ์ สามารถแจ้งเตือนพื้นที่ที่อาจจะได้รับผลกระทบให้ทราบล่วงหน้าได้อย่างทันท่วงที ช่วยบรรเทาและลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสัก รวมทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำให้กับพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ป้องกันปัญหาอุทกภัยในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้อีกทางหนึ่ง