กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 ดังนี้
1. ประกาศ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
กอนช. ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำด้วยฝนคาดการณ์พบพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก ในช่วงวันที่ 27 พ.ค. – 1 มิ.ย. 2566 โดยมีผลกระทบกับ ภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ (อำเภอหล่มเก่า) ภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี (อำเภอท่ายาง บ้านลาด และเมืองเพชรบุรี) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (อำเภอหัวหิน และปราณบุรี) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ (อำเภอเมืองสุรินทร์) จังหวัดบุรีรัมย์ (อำเภอเมืองบุรีรัมย์) จังหวัดอุบลราชธานี (อำเภอเมืองอุบลราชธานี และพิบูลมังสาหาร) ภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดชลบุรี (อำเภอเมืองชลบุรี) จังหวัดระยอง (อำเภอเมืองระยอง และแกลง) จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี) จังหวัดตราด (อำเภอเมืองตราด และเขาสมิง) และ ภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดชุมพร (อำเภอพะโต๊ะ) จังหวัดระนอง (อำเภอกะเปอร์ เมืองระนอง และสุขสำราญ)จังหวัดพังงา (อำเภอกะปง คุระบุรี ตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า และท้ายเหมือง) จังหวัดภูเก็ต (อำเภอกะทู้ ถลาง และเมืองภูเก็ต) จังหวัดกระบี่ (อำเภอเกาะลันตา คลองท่อม เมืองกระบี่ เหนือคลอง และอ่าวลึก) จังหวัดตรัง (อำเภอเมืองตรัง กันตัง และปะเหลียน) จังหวัดสตูล (อำเภอทุ่งหว้า)
2. ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
กรมชลประทาน ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการปฏิบัติงานขุดลอกคลองกำจัดวัชพืชและสิ่งกีดขวางทางน้ำบริเวณประตูระบายน้ำลำห้วยแคน ต.หนองย่างชิ้น อ.เรณูนคร จ.นครพนม รวมทั้งบริเวณสะพานบ้านสามขา ต.น้ำโมง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย และบริเวณคลองส่งน้ำ 1 ขวา บริเวณพื้นที่ ต.วังน้ำเย็น อ.แสวงหา จ.อ่างทอง เพื่อเปิดทางน้ำไหลและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำ
3. สภาพอากาศ
ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองโดยมีฝนตกหนักบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก และมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตก ทั้งนี้เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณด้านตะวันตกของภาคกลาง
4. แหล่งน้ำทั่วประเทศ
4.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำ 43,096 ล้าน ลบ.ม. (52%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง มีปริมาณน้ำ 38,674 ล้าน ลบ.ม. (54%) ขนาดกลาง 369 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 2,666 ล้าน ลบ.ม. (46%) และขนาดเล็ก 139,903 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 1,757 ล้าน ลบ.ม. (34%)
4.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ) ปริมาณน้ำใช้การ 5,253 ล้าน ลบ.ม. (29%)
5. การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
สทนช. ประชุมรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนในเขตลุ่มน้ำ ทบทวนแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้งและแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วม ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนบน เพื่อประกอบการจัดทำแผนฯ ดังกล่าวให้มีความสมบูรณ์สอดคล้องกับบริบทพื้นที่มากขึ้น และนำมาเป็นแผนฯ ที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาน้ำแล้งและน้ำท่วมในเขตลุ่มน้ำในอนาคตต่อไป