สถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 21 เม.ย. 66 เวลา 7.00 น.

ประเทศไทยมีอากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่และยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง

ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกปานกลางถึงหนักบริเวณ จ.ยะลา (54 มม.) จ.ขอนแก่น (34 มม.) และ จ.พะเยา (34 มม.)

น้ำใช้การแหล่งน้ำทุกขนาด 23,632 ล้าน ลบ.ม. (41%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 19,334 ล้าน ลบ.ม. (40%)

คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี

กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ดำเนินการติดตาม ตรวจสอบ และซ่อมบำรุงรักษาระบบประปาบาดาล พร้อมตรวจสอบความชำรุดเสียหายของอุปกรณ์ในโครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อความมั่นคงระดับชุมชน ในพื้นที่ บ้านตาลเดี่ยวใต้ หมู่ที่ 1 ต.ทองเอน
อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี และโครงการน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ในพื้นที่บ้านแคทราย หมู่ที่ 10 ต.อุดมธัญญา อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์ ให้พร้อมใช้งานตลอดช่วงหน้าร้อนนี้

กอนช. ติดตามการดำเนินงานภายใต้ 10 มาตรการรับมือฤดูแล้งปี 2565/2566

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานภายใต้ 10 มาตรการรับมือฤดูแล้ง ปี 2565/2566 และแผนการบริหารจัดการน้ำฤดูแล้ง กรมชลประทาน การปะปาส่วนภูมิภาค และเทศบาลนครภูเก็ต รายงานว่าจังหวัดภูเก็ตมีปริมาณน้ำสำรองในอ่างเก็บน้ำบางวาด อ่างเก็บน้ำคลองกะทะ อ่างเก็บน้ำบางเหนียวดำ คาดว่ามีปริมาณน้ำที่เพียงพอต่อการอุปโภค-บริโภค ตลอดฤดูแล้ง

ทั้งนี้ ได้มีเตรียมรับมือฤดูแล้งของจังหวัดภูเก็ต ตาม 10 มาตรการ รองรับ ฤดูแล้ง ดังนี้ 1.เร่งเก็บกักน้ำทุกประเภท 2.เฝ้าระวังและเตรียมจัดหาแหล่งน้ำสำรองพร้อมวางแผนเตรียมเครื่องจักรเครื่องมือ ในพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำ 4.กำหนดแผนจัดสรรน้ำและพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้ง 7.เฝ้าระวังคุณภาพน้ำ 8.เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการบริหารจัดการน้ำของชุมชน 9.สร้างการรับรู้ประชาสัมพันธ์ 10.ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน และได้เตรียมแผนระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำของจังหวัดภูเก็ตในปีต่อไปให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งหวังให้ ทั้งด้านอุปโภค-บริโภค และภาคการท่องเที่ยวให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด