สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 12 เม.ย. 66 เวลา 7.00 น.

+ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่

+ ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกปานกลางบริเวณ จ.นครราชสีมา (29 มม.) จ.เลย (15 มม.) และ จ.พระนครศรีอยุธยา (13 มม.)

+ น้ำใช้การแหล่งน้ำทุกขนาด 25,061 ล้าน ลบ.ม. (43%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 20,588 ล้าน ลบ.ม. (43%)

+ คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี

+ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ดำเนินการช่วยเหลือ ส่งมอบโครงการงานสร้างประปาภูเขา ระยะทาง 3,150 ม. พร้อมถังปรับแรงดัน ขนาด 9 ลบ.ม. จำนวน 1 แห่ง และถังเก็บน้ำขนาด 50 ลบ.ม. จำนวน 1 ถัง ประชาชนได้รับประโยชน์ 162 ครัวเรือน 469 คน ในพื้นที่บ้านแม่เกาะ ม.3 ต.แม่คะตวน อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน

+ กอนช.ติดตามพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำภาคอีสานกำชับหน่วยงานเตรียมแผนสำรอง-วางแผนระยะยาว ลดผลกระทบประชาชน สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ โดย ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการ สทนช. มอบหมายให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 3 ลงพื้นที่ติดตามเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ณ เขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น บูรณาการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ในการบริหารจัดการน้ำช่วงฤดูแล้งนี้ ให้เป็นไปตาม 10 มาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2565/66 อย่างเคร่งครัด จากการติดตามปริมาณน้ำในเขื่อนอุบลรัตน์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ยืนยันว่าปริมาณน้ำที่เหลืออยู่ ยังคงเพียงพอต่อการใช้น้ำจนสิ้นสุดฤดูแล้ง (30 เม.ย. 66) และพอเพียงจนถึงต้นฤดูฝน (1 พ.ค.-31 ก.ค. 66) รวมทั้งได้จัดทำแผนสำรองไว้ในกรณีที่ปริมาณการใช้น้ำไม่เป็นไปตามแผน

นอกจากนี้ สทนช. ยังได้ติดตามเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภค-บริโภคในเขตการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) พบว่ากปภ.สาขาสว่างแดนดิน ประสบปัญหาแหล่งน้ำดิบสำหรับการผลิตน้ำอุปโภคบริโภคมีไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องมีการใช้น้ำจากแหล่งน้ำดิบสำรอง คาดว่าปริมาณน้ำจะสามารถใช้ได้จนถึงสิ้นสุดเดือน พ.ค. 66 และได้เตรียมแผนสำรองในการรับน้ำจาก กปภ.สาขาอุดรธานี มาช่วยจ่ายน้ำประปาเพื่อให้มีน้ำอุปโภคบริโภคใช้ได้ตามปกติ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชน ทั้งนี้ สทนช. ยังได้ให้ข้อเสนอแนะต่อแนวทางแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในระยะยาวเพื่อไม่ให้ประสบปัญหาซ้ำซาก พร้อมขอความร่วมมือประชาชนให้ใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อให้มีน้ำใช้เพียงพอตลอดฤดูแล้ง