1. ผลการดำเนินงานตาม 10 มาตรการ รองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2565/66 กองทัพบก จัดกำลังพลจิตอาสาพระราชทาน พร้อมรถบรรทุกน้ำขนาด 6,000 ลิตร ดำเนินการแจกจ่ายน้ำช่วยเหลือประชาชนที่ขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค ในครัวเรือน ตามโครงการ “ราษฎร์ รัฐ ร่วมใจ ช่วยภัยแล้ง” เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชน พื้นที่ ต.สนวน อ.ห้วยราช จ.บุรีรัมย์ จำนวน 10 ครัวเรือน จำนวนน้ำ 18,000 ลิตร ทั้งนี้หน่วยทหารยังคงจัดรถบรรทุกน้ำเข้าช่วยเหลือจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย
2. สภาพอากาศ
ความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางได้แผ่ลงมาปกคลุมถึงประเทศจีนตอนใต้แล้ว และจะแผ่ปกคลุมด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ในวันนี้ (6 เม.ย. 66) ทำให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยจะเริ่มมีผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกก่อน ส่วนภาคอื่นๆจะได้รับผลกระทบในระยะ สำหรับลมตะวันตก
เฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
3. แหล่งน้ำทั่วประเทศ
3.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำใช้การ 26,016 ล้าน ลบ.ม. (45%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 21,375 ล้าน ลบ.ม. (45%) ขนาดกลาง 369 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 2,889 ล้าน ลบ.ม. (57%) และขนาดเล็ก 139,903 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 1,752 ล้าน ลบ.ม. (35%)
3.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ) ปริมาณน้ำใช้การ 8,003 ล้าน ลบ.ม. (44%)
4. การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
วานนี้ (5 เม.ย. 66) ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เข้าร่วมประชุมสุดยอดผู้นําลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ครั้งที่ 4 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติลาว เวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ตามที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา) ให้เป็นผู้แทนรัฐบาลไทยประชุมระดับนายกรัฐมนตรี ร่วมกับผู้นำรัฐบาลจากประเทศสมาชิกอีก 3 ประเทศ เพื่อแสดงเจตนารมณ์เชิงนโยบายของประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง โดยมุ่งเน้นการดําเนินงานตามพันธกรณีของความตกลง ว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน เพื่อพัฒนาและต่อยอดผลการดำเนินงานตามที่ประเทศสมาชิกได้เห็นชอบร่วมกันจากผลการประชุมสุดยอดผู้นำลุ่มน้ำโขงตอนล่างตลอด 3 ครั้งที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2553
ซึ่งพบว่า มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องในการมุ่งสู่เป้าหมายร่วมกันในการจัดการความท้าทายทางสิ่งแวดล้อมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การส่งเสริมการอนุรักษ์ การใช้ และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ซึ่งจะช่วยต่อยอดจุดแข็งของประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงที่มีความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยอาศัยกลไกวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้เกิดการเติบโตด้านเศรษฐกิจแบบก้าวกระโดดและทั่วถึง บนฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งจะช่วยพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงให้เกิดความยั่งยืน โดยคำนึงถึงคุณภาพชีวิตของประชาชน ความมั่นคงทางอาหาร น้ำ พลังงานและสิ่งแวดล้อม นวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการการดำเนินงานร่วมกัน ภายใต้การพัฒนาเชิงเศรษฐกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและมีธรรมาภิบาล