สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 13 มี.ค. 66 เวลา 7.00 น.

ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ส่วนภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งเกิดขึ้นได้

ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ จ.แพร่ (81 มม.) จ.เชียงใหม่ (53 มม.) และจ.พะเยา (43 มม.)

น้ำใช้การแหล่งน้ำทุกขนาด 31,172 ล้าน ลบ.ม. (54%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 24,651 ล้าน ลบ.ม. (52%)

คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี

หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา เจาะบ่อน้ำบาดาล ปฏิบัติงานตามแผนงาน/โครงการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 งานขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลในพื้นที่ประสบภัยแล้ง ให้สามารถใช้น้ำเพื่ออุปโภค – บริโภค บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ โดยมีผู้รับประโยชน์ จำนวน 74 ครัวเรือน ประชากร 241 คน ผลการปฏิบัติงาน 100% ณ โรงเรียนบ้านนาคู ม.10 ต.นาคู อ.นาคู จ.กาฬสินธุ์ กองพันทหารปืนใหญ่ สนับสนุนรถบรรทุกน้ำ เพื่อแจกจ่ายน้ำอุปโภค-บริโภค ให้กับประชาชนที่ขาดแคลนน้ำ ในพื้นที่ บ.ปากน้ำใต้ ต.นาป่า อ.เมืองเพชรบูรณ์ จ.เพชรบูรณ์

กอนช. ติดตามการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานเพื่อเฝ้าระวังพายุฤดูร้อน ช่วงวันที่ 12-14 มี.ค.66

ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศเรื่อง “พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน” ในช่วงวันที่ 12 – 14 มีนาคม 2566 ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง

กรมชลประทาน ได้เตรียมพร้อมรับสถานการณ์โดยกำชับให้เจ้าหน้าที่ประจำอยู่ในพื้นที่เสี่ยงหากมีฝนตกหนัก หรือลมกระโชกแรงจนส่งผลกระทบต่ออาคารชลประทานให้เข้าดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ได้ทันที และตรวจสอบอาคารชลประทาน ให้มีสภาพพร้อมใช้งาน บริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ควบคุมและปรับการระบายน้ำให้เหมาะสม นอกจากนี้เน้นย้ำให้โครงการชลประทานทุกแห่ง ติดตามสภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด ควบคู่กับการกำจัดวัชพืชไม่ให้กีดขวางทางน้ำ ติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนบูรณาการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแจ้งเตือนและประชาสัมพันธ์ประชาชนรับมือสถานการณ์น้ำ อีกทั้งยังได้จัดเตรียมเครื่องจักรเครื่องมือไว้ในพื้นที่เสี่ยงภัย ให้สามารถออกปฏิบัติการช่วยเหลือประชาชนได้ตลอดเวลา