สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 1 ก.พ. 66 เวลา 7.00 น.

ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคใต้ตอนล่างมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง

ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกปานกลางบริเวณ จ.เชียงราย (17 มม.) จ.พระนครศรีอยุธยา (13 มม.) และ จ.ตาก (13 มม.)

น้ำใช้การแหล่งน้ำทุกขนาด 37,523 ล้าน ลบ.ม. (65%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 30,185 ล้าน ลบ.ม. (63%)

คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี

กรมอุตุนิยมวิทยา แจ้งเตือนประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนอง ในพื้นที่ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ช่วงวันที่ 2-5 ก.พ.66
ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้ และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ ส่วนภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคใต้ตอนล่าง

กอนช.ถอดบทเรียนฤดูฝน ปี65 ปรับกระบวนทัพรับฝนปีถัดไป

ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาถอดบทเรียนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ฤดูฝน ปี 2565

การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ฤดูฝน ปี 2565 สทนช. ได้ร่วมบูรณาการหน่วยงานภายใต้ กอนช. ตั้งแต่ก่อนฤดู ระหว่างฤดู และสิ้นสุดฤดูฝน โดยผลการดำเนินงานตาม 13 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2565 ได้จัดตั้งศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย 3 ศูนย์ ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ซึ่งการคาดการณ์และประเมินพื้นที่เสี่ยงในพื้นที่ภาคใต้ ได้นำบทเรียนจากการทำงานของศูนย์ฯ ส่วนหน้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง มาปรับกระบวนการทำงานให้มีความเหมาะสม

ดังนั้นเพื่อเป็นกรอบแนวทางในการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ในฤดูฝนปีถัดไป สทนช. จึงได้จัดประชุมสัมมนาถอดบทเรียนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำฤดูฝน ปี 2565 เพื่อสรุปผลการดําเนินงานและสรุปผลถอดบทเรียน 13 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2565 และศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย พร้อมรับทราบปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ รวมทั้งเปิดเวทีให้ทุกภาคส่วนร่วมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น เพื่อนำไปปรับปรุงแนวทางการดำเนินการร่วมกัน