+ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอุณหภูมิลดลง 2-4 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
+ ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกเล็กน้อยบริเวณ จ.พระนครศรีอยุธยา (7 มม.) จ.สงขลา (7 มม.) และ จ.สตูล (6 มม.)
+ น้ำใช้การแหล่งน้ำทุกขนาด 39,636 ล้าน ลบ.ม. (68%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 32,059 ล้าน ลบ.ม. (67%)
+ คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
+ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ติดตามการใช้ประโยชน์โครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรแปลงใหญ่ พื้นที่ 300ไร่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (งบกลาง) ในพื้นที่ บ้านวังเพชรพัฒนา หมู่ที่ 11 ต.นิคมทุ่งโพธิ์ทะเล อ.เมือง จ.กำแพงเพชร และ ดำเนินการเจาะบ่อน้ำบาดาล ตามโครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อความมั่นคงระดับชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ณ บ้านสระประทุม หมู่ที่ 6 ต.ไผ่รอบ อ.โพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตร
+พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ลงพื้นที่ เพื่อติดตามการบริหารจัดการน้ำ ฤดูแล้ง จ.ลำปาง และพะเยา วานนี้ (16 ม.ค. 66) พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) พร้อมด้วย ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการ สทนช. และคณะ ลงพื้นที่ตรวจราชการและเน้นย้ำหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการบริหารจัดการน้ำ เพื่อป้องกันและบรรเทาผลกระทบช่วงฤดูแล้งไว้ล่วงหน้าเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบกับประชาชนหรือเกิดให้น้อยที่สุด
โดยมอบหมายให้ สทนช. บูรณาการร่วมกับทุกหน่วยงาน ดำเนินการตามมาตรการรองรับฤดูแล้ง 2565/2566 อย่างเคร่งครัด และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วงปี 2566 รวมทั้งให้จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมการป้องกันและบรรเทาปัญหาพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ
พร้อมกันนี้ได้ติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงานของโครงการพัฒนาฟื้นฟูกว๊านพะเยารวม 5 ด้าน ได้แก่
1. การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
2. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
3. การพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว
4. การส่งเสริมอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิต
5. ด้านการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ ซึ่งดำเนินการโดยหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
หากดำเนินการแล้วเสร็จ จะช่วยเพิ่มปริมาณการกักเก็บน้ำในพื้นที่ตอนบนของกว๊านพะเยากว่า 6 ล้าน ลบ.ม. เพิ่มปริมาตรเก็บกักในกว๊านพะเยา 9.275 ล้าน ลบ.ม. ทำให้มีน้ำต้นทุนเพียงพอต่อการทำการเกษตร และการอุปโภคบริโภคในพื้นที่รอบกว๊าน พื้นที่รับประโยชน์ประมาณ 1.5 แสนไร่ ครัวเรือนรับประโยชน์ 1.6 แสนครัวเรือน ปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้เพิ่มมูลค่าไม่น้อยกว่า 40 ล้านบาท/ปี ลดความเสียหายจากพื้นที่น้ำท่วม 31,700 ไร่ รวมทั้งเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่พื้นที่ต้นน้ำอีกด้วย ซึ่งระยะเร่งด่วนรองนายกฯ ได้สั่งการให้หน่วยที่รับผิดชอบเร่งรัดดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามแผน เพื่อให้กว๊านพะเยามีการพัฒนาและฟื้นฟู สามารถกลับมาใช้ประโยชน์ในทุกมิติได้เต็มศักยภาพ