สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 5 ม.ค. 66 เวลา 7.00 น.

ประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกบางในตอนเช้า สำหรับภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง อ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2-4 ม. บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 ม.

ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกปานกลางถึงหนักบริเวณ จ.นครศรีธรรมราช (46 มม.) จ.สุราษฎร์ธานี (42 มม.) และ จ.ยะลา (32 มม.)

น้ำใช้การแหล่งน้ำทุกขนาด 41,022 ล้าน ลบ.ม. (71%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 33,287 ล้าน ลบ.ม. (70%)

คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี

ศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคใต้ รายงานสถานการน้ำในพื้นที่ (4 ม.ค. 66) ดังนี้

– อ่างเก็บน้ำบางลาง จ.ยะลา มีปริมาณน้ำกักเก็บ 1,225.43 ล้าน ลบ.ม. (84.3%) ยังสามารถรองรับน้ำได้อีก 228.93 ล้าน ลบ.ม. วันที่ 3 ม.ค. 66 ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่าง 9.19 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำระบาย 10.05 ล้าน ลบ.ม. (แผนการระบายน้ำณ วันที่ 4 ม.ค. 66 ระบาย 10 ล้าน ลบ.ม.)
– คาดการณ์พื้นที่เสี่ยงและการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ ในช่วงวันที่ 6 – 8 ม.ค. 66 บริเวณภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้นและ
มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ประกาศ ฉบับที่ 1/2566 เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ภาคใต้ ในช่วงวันที่ 6 – 11 ม.ค. 66 ดังนี้

1. เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก น้ำท่วมขัง บริเวณ จ.สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

2. เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่ง บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของแม่น้ำตาปี แม่น้ำปากพนัง แม่น้ำตรัง คลองชะอวด แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำปัตตานี แม่น้ำบางนรา และแม่น้ำโก-ลก

3. เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่มีแนวโน้มปริมาตรน้ำสูงกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการเก็บกักน้ำสูงสุด (Upper Rule Curve) รวมทั้งอ่างฯ ขนาดกลางและขนาดเล็กที่มีปริมาตรน้ำมากกว่าร้อยละ 80 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงน้ำล้นกระทบพื้นที่ด้านท้ายน้ำ โดยเฉพาะเขื่อนบางลางให้พิจารณาบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบหรือเกิดผลกระทบน้อยที่สุดบริเวณท้ายเขื่อน

4. เฝ้าระวังคลื่นซัดฝั่งที่อาจจะส่งผลกระทบต่อประชาชนและผู้ประกอบกิจการบริเวณแนวชายฝั่งทะเลตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราช จนถึง จ.นราธิวาส

เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง ปรับการบริหารจัดการน้ำในแหล่งเก็บกักน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก น้ำในลำน้ำ รวมถึงเขื่อนระบายน้ำและประตูระบายน้ำ ให้สอดคล้องกันตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำและ อิทธิพลของการขึ้น – ลง ของน้ำทะเล ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ และแจ้งเตือนล่วงหน้า ให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ เตรียมพร้อมในการอพยพได้ทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์