วันที่15 กันยายน2565 เวลา14.00 น.
ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานเปิดงานพิธีมอบกรรมสิทธิ์และไถ่ชีวิตโค-กระบือ เฉลิมพระเกียรติและถวายพระราชกุศลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนม พรรษา90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 โดยมี นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าววัตถุประสงค์การจัดงานพร้อมด้วยคณะผู้บริหารสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมงานในครั้งนี้
โครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ เป็นหนึ่งในโครงการพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งขึ้น ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2522 เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้มีโค-กระบือไว้ใช้แรงงาน และเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร
โดยกรมปศุสัตว์ได้รับสนองพระราชดำริ ดำเนินการตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาถือได้ว่าก่อเกิดประโยชน์เป็นคุณูปการแก่เกษตรกรเป็นอย่างมากและยังมีการต่อยอดการใช้ประโยชน์จากโค-กระบือ เช่น การใช้มูลสัตว์เป็นปุ๋ยในไร่นาลดการใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม รวมถึงการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมในท้องถิ่น ซึ่งการร่วมไถ่ชีวิตโค-กระบือในครั้งนี้เป็นการสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรให้สัมฤทธิ์ผลตามพระราชประสงค์
จากการดำเนินงานที่ผ่านมากรมปศุสัตว์ได้สั่งการให้สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเพชรบุรีให้ความช่วยเหลือเกษตรกรไปแล้ว จำนวน 1,251 รายลูกเกิดโคเพศเมียที่ขยายผลให้เกษตรกรรายอื่น จำนวน 91ตัว ลูกเกิดโค-กระบือ เพศผู้ ที่จำหน่ายแล้วนำเงินส่งโครงการธนาคารโค-กระบือ จำนวน 877 ตัว คิดเป็นมูลค่า 6,370,126 บาทมอบกรรมสิทธิ์โค-กระบือให้แก่เกษตรกรไปแล้วจำนวน 968 ราย คิดเป็นมูลค่า 7,744,000 บาทและยังมีเกษตรกรอยู่ในความดูแลขอโครงการรวม283รายจำนวนโค-กระบือ375ตัวโครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกรตามพระราชดำริถือได้ว่าเป็นโครงการที่สามารถแก้ไขปัญหาความยากจนของเกษตรกร
โดยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการดำเนินงานประกอบกับมีการทำงานบูรณาการร่วมกันในพื้นที่อย่างเป็นระบบ สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มเกษตรกรและให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารโครงการเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งตลอดจนมีการต่อยอดการใช้ประโยชน์เช่นการใช้มูลสัตว์เป็นปุ๋ยในไร่นาการทำแก๊สชีวภาพการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีในท้องถิ่นเป็นต้นสำหรับโคเพศเมีย จำนวน90ตัวที่ได้รับการไถ่ชีวิตในวันนี้ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเพชรบุรีจะนำไปให้ความช่วยเหลือเกษตรกรตามระเบียบและหลักเกณฑ์ของโครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกรตามพระราชดำริ ในพื้นที่ต่างๆดังนี้
1.อำเภอบ้านลาดจำนวน31 ตัว
2.อำเภอชะอำจำนวน28ตัว
3.อำเภอท่ายางจำนวน25ตัว
4.อำเภอหนองหญ้าปล้องจำนวน6ตัว
นอกจากนี้กรมปศุสัตว์ได้จัดนิทรรศการเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนและเกษตรกรภายในงาน ดังนี้
1.สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ จัดกิจกรรมการผลิตอาหารสัตว์ TMR เป็นอาหารผสมครบส่วน ต้นทุนอาหารสัตว์เป็นอาหารผสมสำเร็จรูปที่เกิดจากการนำอาหารหยาบ และอาหารข้นมาผสมกันอัตราส่วนท่ีเหมาะสม โดยคำนวณสัดส่วนของอาหารทั้ง 2 ชนิดจากน้ำหนักแห้งให้ได้ตามความต้องการของสัตว์เลี้ยง
2.การผ่าตัดทำหมันสัตว์ มีการจัดกิจกรรมการรักษาพยาบาลสัตว์ป่วย การฉีดวัคซีนป้องกันโรคในสัตว์ การผ่าตัดทำหมันสุนัข แมว เพื่อควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า การตรวจวินิจฉัยโรคทางห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่ การให้ความรู้ แนะนำการจัดการด้านอาหารสัตว์ การจัดการด้านสุขภาพสัตว์ เป็นต้น
3.กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงแพะพันธุ์แองโกนูเบี้ยน(Anglonubian)ซึ่งกรมปศุสัตว์ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรเลี้ยงแพะมากขึ้นด้านพันธุ์และการผลิตสายพันธุ์แพะ ปัจจุบันเน้นการพัฒนาสายพันธุ์ผลิตเนื้อเป็นหลัก และผสมด้วยสายพันธุ์ผลิตนม ด้านการจัดการพืชอาหารสัตว์ มีระบบการจัดการแปลงพืชอาหารสัตว์และการจัดการอาหารข้น โดยใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ในท้องถิ่น เป็นต้น
ด้านอธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวเพิ่มเติมว่าธนาคารโค-กระบือเป็นโครงการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่มีฐานะยากจน ได้มีโค-กระบือไว้ใช้แรงงานเพิ่มผลผลิตธนาคารโคและกระบือเป็นการรวบรวมโคและกระบือโดยมีบัญชีควบคุม ดูแล รักษา แจกจ่าย ให้ยืมเพื่อใช้ประโยชน์ในการเกษตร และเพิ่มปริมาณโคและกระบือตามหลักการของธนาคารโค-กระบือ และเป็นการช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มข้ึนอีกทางหนึ่ง และเป็นการรักษาชีวิตโค-กระบือ ให้ หลุดพ้นเราจากความตายเฉพาะหน้าได้ และเป็นการสร้างโอกาสขยายพันธุเ์พิ่มข้ึนโดยไม่ให้สัตว์สูญพันธุ์ ต่อไป ณ โรงเรียนนิคมสร้างตนเองเขื่อนเพชร (พิบูลสงเคราะห์ 1) ตำบลเขาใหญ่ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี