สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 15 ก.ย.65 65 เวลา 7.00 น.

+ ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้

+ ปริมาณฝน 24 ชั่วโมง สูงสุดที่ จ.กาญจนบุรี (120) จ.ลำปาง (81) จ.ระนอง (80)

+ ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 54,491 ล้าน ลบ.ม. (66%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 47,572 ล้าน ลบ.ม. (67%) เฝ้าระวังน้ำต่ำกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 1 แห่ง บริเวณภาคเหนือ เฝ้าระวังน้ำสูงกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 12 แห่ง ได้แก่ แม่งัด แม่มอก กิ่วลม กิ่วคอหมา แควน้อยบำรุงแดน อุบลรัตน์ น้ำพุง ขุนด่านฯ บางพระ หนองปลาไหล นฤบดิทราจินดา และบึงบระเพ็ด

+ เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก น้ำท่วมขัง ดังนี้

ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ แพร่ น่าน กำแพงเพชร และตาก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ขอนแก่น ชัยภูมิ อำนาจเจริญ บึงกาฬ อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ และยโสธร ภาคกลาง จ.กาญจนบุรี และราชบุรี ภาคตะวันออก จ.จันทบุรี และตราด และภาคตะวันตก จ.ประจวบคีรีขันธุ์ และเพชรบุรี

• เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่ง บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขา ของ แม่น้ำแควน้อย แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำชี แม่น้ำมูล แม่น้ำนครนายก แม่น้ำปราจีนบุรี แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำระยอง แม่น้ำจันทบุรี และแม่น้ำตราด

• เฝ้าระวังแหล่งน้ำและอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่มีปริมาตรน้ำสูงกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการเก็บกักน้ำสูงสุด (Upper Rule Curve) 13 แห่ง อ่างเก็บน้ำแม่งัดสมบูรณ์ชล กิ่วคอหมา กิ่วลม แม่มอก ทับเสลา กระเสียว อุบลรัตน์ ลำตะคอง ลำพระเพลิง มูลบน คลองสียัด บางพระ และหนองปลาไหล

+ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมกรุงเทพฯ หลังฝนตกหนักต่อเนื่องสั่งเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมขัง และช่วยเหลือประชาชน

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม รวมถึงการป้องกันและแก้ไขปัญหาในเขตกรุงเทพมหานครจากสถานการณ์ฝนตกหนักมากในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาทำให้เกิดน้ำท่วมขัง และส่งผลกระทบเป็นวงกว้างในหลายพื้นที่ของกรุงเทพฯ รัฐบาลได้ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด โดยได้สั่งการดังนี้

• กรุงเทพมหานคร หน่วยทหาร รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมขัง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ

• สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการ กอนช. ประสานกับกรุงเทพมหานคร ในการอำนวยการ กำกับ ติดตาม และประสานงานเพื่อลดปัญหาอุปสรรค หรือการขอสนับสนุนกำลังคน เครื่องจักร เครื่องมือต่างๆ ที่ยังเป็นข้อจำกัดของกรุงเทพมหานครให้เพียงพอในการสูบน้ำ ระบายน้ำ เพื่อประจำจุดเสี่ยงน้ำท่วมขังจากสถานการณ์ฝนตกหนักในพื้นที่อย่างต่อเนื่องหรือเกินศักยภาพที่คลองและแม่น้ำจะรับได้

กอนช.เน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานเตรียมซักซ้อมแผนเผชิญเหตุ การช่วยเหลือประชาชน และการบริหารจัดการน้ำ เพื่อรับมือสถานการณ์ฝนที่จะมาเพิ่มอีกระลอกให้ประชาชนได้รับผลกระทบน้อยที่สุด