อยุธยา เร่งตั้งแนวป้องกันน้ำ ผลกระทบจากน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมใต้ถุนบ้าน และพื้นที่การเกษตร

อยุธยา เร่งตั้งแนวป้องกันน้ำ หลังระดับน้ำเหลืออีกไม่ถึง 50 ซม. จะเสมอพื้นวัด โบราณสถานและแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ในขณะบ้านเรือนประชาชนติดริมแม่น้ำ 4 อำเภอ ได้รับผลกระทบจากน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมใต้ถุนบ้าน และพื้นที่การเกษตร

วันที่ 17 สิงหาคม 2565 ผู้สื่อข่าวเดินทางลงพื้นที่ ตำบลบ้านกุ่ม อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา พบว่ามีชุมชนหลายชุมชนเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ หลังจากเขื่อนเจ้าพระยามีการระบายน้ำลงท้ายเขื่อนอยู่ที่ 1,200 ลูกบาตรเมตรต่อวินาที ติดต่อกันหลายวัน ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเริ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องหลายบ้านน้ำเริ่มสูงขึ้นจ่อจะเข้าตัวบ้าน

โบราณสถานและแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่อยู่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น หมู่บ้านโปรตุเกต วัดกษัตราธิราชวรวิหารและ วัดไชยวัฒนารามพบว่าระดับน้ำเหลืออีกไม่ถึง 50 เซนติเมตร ก็จะเสมอพื้นวัด ซึ่งทางเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร เตรียมยกแนวคันกั้นน้ำให้เสร็จภายใน 3 วัน หากระดับน้ำยังสูงต่อเนื่อง เพื่อป้องกันแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของอยุธยา

ในส่วน ปภ.พระนครศรีอยุธยา รายงานว่า มีบ้านเรือนประชาชน ได้รับผลกระทบจากน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมใต้ถุนบ้าน และพื้นที่การเกษตร จำนวน 4 อำเภอ 32 ตำบล 126 หมู่บ้าน 2 ชุมชน 3,472 ครัวเรือน ดังนี้

1. อำเภอเสนา ประชาชนได้รับผลกระทบ รวมจำนวน 1,586 ครัวเรือน 38 หมู่บ้าน 6 ตำบล 2 ชุมชน ได้แก่ ต.หัวเวียง หมู่ 1-11 ต.บ้านกระทุ่ม หมู่ 1-9 ต.บ้านโพธิ์ หมู่ 1-9,12 ต.บ้านแพน หมู่ 1-3,6-7 ต.รางจรเข้ หมู่ 5- 7 ต.เสนา ชุมชน ข, ม

2. อำเภอผักไห่ ประชาชนได้รับผลกระทบประมาณ 296 ครัวเรือน จำนวน 3 ตำบล 23 หมู่บ้าน ได้แก่ ต.ท่าดินแดง หมู่ 1 – 8 ต.ลาดชิด หมู่ 1-6 ต.ผักไห่ หมู่ 3,7 ต.บ้านใหญ่ หมู่ 4-6 ต.ตาลาน หมู่ 1 ต.อมฤต หมู่ 3-4

3. อำเภอบางบาล ประชาชนได้รับผลกระทบ จำนวน 315 ครัวเรือน 8 ตำบล 23 หมู่บ้าน ได้แก่ ต.บ้านกุ่ม หมู่ 3 ต.วัดตะกู หมู่ 1-2,4,7,9 ต.บ้านคลัง หมู่ 6-7 ต.บางหัก หมู่ 2,5-7 ต.ทางช้าง หมู่ 3-6 ต.น้ำเต้า หมู่ 1,2,4,8 ต.บางหลวง หมู่ 3 ต.บางหลวงโดด หมู่ 3-4

4. อำเภอบางไทร ประชาชนได้รับผลกระทบ จำนวน 950 ครัวเรือน 12 ตำบล 42 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลบางยี่โท หมู่ 1-5 ตำบลสนามไชย 1-8 ตำบลบ้านเกาะ 1-5 ตำบลบ้านกลึง หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านแป้ง 1-3 ตำบลหน้าไม้ 1-3 ตำบลโคกช้าง 1-2,4 ตำบลราชคราม 3-5 ตำบลแคตก 2-3 ตำบลแคออก 1-4 ตำบลเชียงรากน้อย 1 ตำบลบ้านม้า 1-2,5-6

สถานการณ์น้ำเอ่อล้นตลิ่งดังกล่าว ยังไม่กระทบกับ การดำเนินชีวิตของประชาชน เนื่องจากเป็นวิถีชีวิตของบ้านริมแม่น้ำ บ้านมีใต้ถุนสูง มีเรือทุกบ้าน พร้อมมีไม้กระดานวางเพื่อเดินเข้าบ้าน สำหรับ แนวทางการให้ความช่วยเหลือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้ดำเนินการแล้ว ดังนี้

1. ตรวจสอบ และเฝ้าระวัง พื้นที่สำคัญแบ่งเป็น 3 พื้นที่ ดังนี้

– พื้นที่เขตพระราชฐาน โบราณสถาน และวัดที่สำคัญ

– พื้นที่เขตเศรษฐกิจ นิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ต่างๆ

– พื้นที่ชุมชนหนาแน่น เขตเทศบาลนคร เทศบาลเมือง

2. ตั้งวอร์รูมและติดตามสถานการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อแจ้งเตือนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประชาชนในพื้นที่

3. ประสานศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 2 สุพรรณบุรี สนับสนุนเครื่องจักรกลสาธารณภัย พร้อมบุคลากร