โครงการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับผู้ประกอบการ OTOP ผ้าไทย(Coaching ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา)

โครงการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับผู้ประกอบการ OTOP ผ้าไทย (Coaching ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา) กิจกรรมที่ 1 จัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้า และอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพ ผู้ประกอบการ OTOP ผ้าไทย (Coaching ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา) จุดดำเนินการที่ 3

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม 2565 ณ โรงแรมเจริญธานี อำเภอเมืองฯ จังหวัดขอนแก่น กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการพัฒนาชุมชน สนองแนวพระดำริ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา จัดโครงการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับผู้ประกอบการ OTOP ผ้าไทย (Coaching ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา) พร้อมจัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าและผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ จากกลุ่มทอผ้ามากกว่า 60 กลุ่ม

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม 2565 นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับผู้ประกอบการ OTOP ผ้าไทย (Coaching ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา) กิจกรรมที่ 1 จัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้า และอบรม เชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพ ผู้ประกอบการ OTOP ผ้าไทย (Coaching ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา)

โดยมี นายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดทำโครงการฯ พร้อมด้วย นางสาวธนียา นัยพินิจ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น นายสมบัติ ไตรศักดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ นายพนม สายสิงห์ พัฒนาการจังหวัดขอนแก่น นางกชพร ปริปุณนัง พัฒนาการจังหวัดชัยภูมิ นางพิศ นันทพูนพิพัฒน์ พัฒนาการจังหวัดร้อยเอ็ด ที่ปรึกษาโครงการผ้าไทยใส่ให้สนุก หัวหน้าส่วนราชการ ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไทย และผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ผ้าไทย เข้าร่วม ณ โรงแรมเจริญธานี อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

โครงการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับผู้ประกอบการ OTOP ผ้าไทย (Coaching ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา) จัดทำขึ้นเพื่อสนองแนวพระดำริ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ในการสืบสานพระราชปณิธาน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง อนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาการทอผ้า พร้อมทั้งเผยแพร่พระอัจฉริยภาพของ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ด้านการออกแบบเครื่องแต่งกายและสิ่งทอ ต่อยอดการพัฒนาลายผ้าพระราชทาน “ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา” ตามแนวพระดำริ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ตลอดจนเพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดและเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลายผ้าพระราชทาน “ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา” แก่ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ผ้าไทย และเพื่อให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ผ้าไทย สามารถนำลายผ้าพระราชทาน “ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา” ไปเป็นต้นแบบและพัฒนา ต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ผ้าตามอัตลักษณ์พื้นถิ่น รวมทั้งสร้างรายได้เพิ่มให้กับชุมชน กิจกรรมประกอบด้วย

การจัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าและผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ จากกลุ่มทอผ้ากว่า 60 กลุ่ม/ราย พร้อมกิจกรรมส่งเสริมการขาย “Live สด” ผ่านเพจ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” และการอบรม เชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ OTOP ผ้าไทย (Coaching ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา) ถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวการทอผ้าไทย จากผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไทยหลากหลายสาขา ที่มาร่วมบูรณาการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคนิควิธีการเฉพาะต่างๆ อาทิ การย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ การคัดสรรเส้นใย ที่เหมาะสมในการทอผ้า เทคนิคการทอผ้า การทอผ้าลายขิดนารีรัตนราชกัญญา เทรนด์สีแฟชั่นระดับสากลจากเทรนด์บุ๊คฯ การพัฒนาผืนผ้าเป็นผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าแฟชั่นร่วมสมัย การสร้างแบรนด์เบื้องต้น การออกแบบบรรจุภัณฑ์ผ้า การสื่อสารตลาดและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ด้วยตัวเอง พร้อมทั้งการเตรียมความพร้อมสำหรับการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ลายขิดนารีรัตนราชกัญญา” ดำเนินการจำนวน 8 จุดดำเนินการ ดังนี้

29 เมษายน 2565 โรงแรมสุนีย์แกรนด์ จังหวัดอุบลราชธานี (ดำเนินการแล้ว)

8 พฤษภาคม 2565 โรงแรมฟอร์จูน ริเวอร์วิว จังหวัดนครพนม (ดำเนินการแล้ว)

12 พฤษภาคม 2565 โรงแรมเจริญธานี ขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

20 พฤษภาคม 2565 โรงแรมบุรีศรีภู คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จังหวัดสงขลา

27 พฤษภาคม 2565 โรงแรมเชียงใหม่ฮิลล์ จังหวัดเชียงใหม่

1 มิถุนายน 2565 โรงแรมสุวรรณาริเวอร์ไซด์ชัยนาท จังหวัดชัยนาท

11 มิถุนายน 2565 โรงแรมมณฑาทิพย์ ฮอลล์ จังหวัดอุดรธานี

17 มิถุนายน 2565 โรงแรมสุโขทัย เทรเชอร์ รีสอร์ต แอนด์ สปา จังหวัดสุโขทัย

กรมการพัฒนาชุมชน จึงขอเชิญชวนท่านใดที่อยู่ใกล้เคียงกับสถานที่ดำเนินการในจุดดำเนินการต่างๆ เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าไทยและผลิตภัณฑ์ผ้าสร้างสรรค์ หรือสามารถรับชมและเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าไทยผ่านช่องทางออนไลน์ได้ (การ Live สด ผ่าน Facebook เพจ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสืบสานพระราชปณิธาน อนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาการทอผ้า ส่งเสริม สนับสนุนการสร้างอาชีพ กระจายรายได้สู่ชุมชน ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากให้มั่นคง ให้ชุมชนพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน