+ ประเทศไทยตอนบนรวมถึงกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น ส่วนภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่ง
+ ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีมีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.สตูล (105 มม.) จ.ตราด (89 มม.) และจ.กาญจนบุรี (79 มม.)
+ ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยา ได้คาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 6 – 8 มี.ค.65 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น กอนช. ได้ประสานกรมฝนหลวงและการบินเกษตร พิจารณาปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อลดความรุนแรงของผลกระทบจากพายุฤดูร้อน บริเวณภาคเหนือ ในช่วงเวลาดังกล่าว
+ ปริมาณน้ำใช้การแหล่งน้ำทั้งประเทศทุกขนาด 30,088 ล้าน ลบ.ม. (52%) ขนาดใหญ่ 24,009 ล้าน ลบ.ม. (50%) เฝ้าระวังน้ำน้อยในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 3 แห่ง (เขื่อนแม่งัด ภูมิพล และ สิริกิติ์)
+ คุณภาพน้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตร ณ จุดเฝ้าระวัง ในแม่น้ำสายหลัก แม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน บางปะกง แม่กลอง อยู่ในเกณฑ์ปกติ ปริมาณออกซิเจนละลายในแม่น้ำ ที่ท่าจีน และแม่กลอง ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
+ กอนช. ติดตามการดำเนินการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ต่างๆ ดังนี้
กรมเจ้าท่า ดำเนินการขุดลอก
– แม่น้ำคำ ตำบลจันจว้า อ.แม่จัน จ.เชียงราย ดำเนินการขุดลอก ระยะทาง 3,050 เมตร ความกว้างก้นร่องน้ำ 10 – 15 เมตร
– แม่น้ำตุ๋ย ต.ทุ่งกว๋าว อ.เมืองปาน จ.ลำปาง ดำเนินการขุดลอกระยะทาง 4,050 เมตร ความกว้างก้นร่องน้ำ 10 – 25 เมตร
กรมชลประทาน ดำเนินการกำจัดวัชพืชและผักตบชวา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งน้ำและการระบายน้ำ บริเวณ
– คลองพระยาบันลือ ต.สิงหนาท อ.ลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา
– คลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งซ้าย อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ดำเนินโครงการจัดหาแหล่งน้ำบาดาลระยะไกลเพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่แล้งซ้ำซากหรือน้ำเค็ม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เพื่อช่วยเหลือการขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภคของประชาชนมากกว่า 300 ครัวเรือน พร้อมแนะนำวิธีการใช้งานและการบำรุงรักษาเบื้องต้นให้แก่ผู้นำกลุ่มเพื่อให้ใช้ประโยชน์จากน้ำบาดาลได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ที่บ้านคลองอุดมชลจร หมู่ที่ 2 ต.คลองอุดมชลจร อ.เมืองฉะเชิงเทรา จ.ฉะเชิงเทรา