สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 19 ก.พ. 65

+ ประเทศไทยตอนบนมีอากาศแปรปรวน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง ส่วนภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับที่ 2 ในช่วงวันที่ 18-21 ก.พ. 65คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตก ประกอบกับกับบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็น ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือทำให้บริเวณดังกล่าว มีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง

+ ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ จ.นครศรีธรรมราช (70 มม.) จ.สุราษฎร์ธานี (67 มม.) และ จ.ราชบุรี (61 มม.)

+ ปริมาณน้ำใช้การแหล่งน้ำทั้งประเทศทุกขนาด 31,843 ล้าน ลบ.ม. (55%) ขนาดใหญ่ 25,553 ล้าน ลบ.ม. (53%) เฝ้าระวังน้ำน้อยในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 5 แห่ง (เขื่อนแม่กวงฯ แม่งัด ภูมิพล แม่จาง และ สิริกิติ์)

+ คุณภาพน้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตร ณ จุดเฝ้าระวัง ในแม่น้ำสายหลัก แม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน บางปะกง แม่กลอง อยู่ในเกณฑ์ปกติ ปริมาณออกซิเจนละลายในแม่น้ำ ที่ท่าจีน แม่กลอง และบางปะกง ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

+ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ติดตามการบริหารจัดการน้ำ และความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการก่อสร้างคลองระบายน้ำ D9 ซึ่งเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของรัชกาลที่ 9 ตั้งแต่ปี 2546 ณ ประตูระบายน้ำคลอง D9 ต.ปึกเตียน อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี โดยในปี 61-64 รัฐบาลได้บูรณาการขับเคลื่อนแผนงาน/โครงการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ จ.เพชรบุรี รวม 728 แห่ง สามารถเพิ่มความจุน้ำได้ 6.84 ล้าน ลบ.ม. มีพื้นที่รับประโยชน์ 43,192 ไร่ ประชาชนได้รับประโยชน์ 75,856 ครัวเรือน และการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งยาว 11,742 เมตร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการ ดังนี้

 กรมชลประทาน

– การก่อสร้างประตูระบายน้ำกลางคลองระบายน้ำ D9 (ปตร.กะจิว)

– การก่อสร้างประตูระบายน้ำกลางคลองระบายน้ำ D9 (ปตร.มาบปลาเค้า)

– การก่อสร้างระบบส่งน้ำพร้อมอาคารประกอบโครงการจัดหาน้ำเพื่อช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่ ต.แก่งกระจาน และ ต.วังจันทร์ จ.เพชรบุรี อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

 การประปาส่วนภูมิภาค การวางท่อขยายเขตจำหน่ายน้ำ ต.ดอนยาง อ.เมือง จ.เพชรบุรี

 องค์การจัดการน้ำเสีย การปรับปรุงฟื้นฟูระบบบำบัดน้ำเสียเทศบาลเมืองชะอำ จ.เพชรบุรี

ทั้งนี้ ในปี 2565 สทนช. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พิจารณาแผนงาน/โครงการพัฒนาแหล่งน้ำตามงบประมาณรายจ่ายบูรณาการมีแผนงานที่มีความเหมาะสมและมีความพร้อมดำเนินการ จำนวน 24 โครงการ สามารถสนับสนุนน้ำในพื้นที่ชลประทาน 7,725 ไร่ ประชาชนได้รับประโยชน์ 3,391 ครัวเรือน พื้นที่ได้รับการป้องกัน 36,000 ไร่ และช่วยเพิ่มปริมาณกักเก็บน้ำได้ 0.51 ล้าน ลบ.ม.