1. ผลการดำเนินงานตาม 9 มาตรการ รองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2564/65 กรมวิชาการเกษตร ได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมในด้านการสำรองปัจจัยการผลิตทางการเกษตร โดยสำรองเมล็ดพันธุ์พืชไร่ จำนวน 6 ตัน สามารถรองรับพื้นที่ปลูกได้ 750 ไร่ และสำรองเมล็ดพันธุ์พืชสวนเมล็ดพันธุ์ผัก จำนวน 54,900 ซอง (410 กิโลกรัม) รองรับพื้นที่ปลูกได้ 11,935 ไร่
2. แหล่งน้ำทั่วประเทศ
2.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำใช้การ 32,950 ล้าน ลบ.ม. (57%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่38 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 26,540 ล้าน ลบ.ม. (56%) ขนาดกลาง 355 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 3,761 ล้าน ลบ.ม. (74%) และขนาดเล็ก 139,894 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 2,649 ล้าน ลบ.ม. (52%) สำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย ได้แก่ เขื่อนแม่กวงอุดมธารา แม่งัดสมบูรณ์ชล ภูมิพล และสิริกิติ์
2.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยฯ และป่าสักฯ) ปริมาณน้ำใช้การ 6,075 ล้าน ลบ.ม. (33%) โดยเขื่อนภูมิพล และสิริกิติ์ อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย
3. ผลการจัดสรรน้ำ (สะสมตั้งแต่ 1 พ.ย. 64 ถึงปัจจุบัน)
3.1 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถจัดสรรน้ำได้มีจำนวน 35 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การทั้งสิ้น 26,316 ล้าน ลบ.ม. (56%) มีแผนการจัดสรรน้ำ 16,678 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 7,576 ล้าน ลบ.ม. (45%)
3.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีแผนการจัดสรรน้ำ 4,700 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 2,642ล้าน ลบ.ม. (56%)
4. คุณภาพน้ำ และแจ้งเตือนน้ำทะเลหนุนสูง
4.1 คุณภาพน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตร ในแม่น้ำสายหลักทั่วประเทศ คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ
4.2 ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณป้อมพระจุลจอมเกล้า คาดว่าระดับน้ำจะขึ้นสูงสุด เวลา 08.48 น.ประมาณ 1.46 ม.จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งกองอำนวยการน้ำแห่งชาติวิเคราะห์แล้วพบว่ายังไม่มีผลกระทบ
ต่อคุณภาพน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยา
5. การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ได้จัดทำโครงการศึกษาการบริหารจัดการน้ำพื้นที่รอยต่อลุ่มน้ำแม่กลองลุ่มน้ำเพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำ โดยบูรณาการร่วมกับ กรมปศุสัตว์ กรมควบคุมมลพิษ กรมชลประทาน กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมประมง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมการปกครอง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น โดยมีวัตถุประสงค์ในการแก้ปัญหาเชิงพื้นที่ลุ่มน้ำ ผลักดันการแก้ไขปัญหาให้สอดรับกันตั้งแต่ระดับนโยบายถึงระดับปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม และนำไปสู่การจัดทำแผนบริหารจัดการปัญหาคุณภาพน้ำที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่