สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 6 ก.พ. 65

+ ภาคเหนือตอนบน มีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับที่ 6 ในช่วงวันที่ 5–6 กุมภาพันธ์ 2565 คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกปกคลุมภาคเหนือ ทำให้บริเวณ จ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย และกำแพงเพชร มีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและลูกเห็บตก รวมถึงฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่

+ ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณจ.ประจวบคีรีขันธ์ (65 มม.) จ.อุตรดิตถ์ (62 มม.) และ จ.ชุมพร (60 มม.)

+ เฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูง บริเวณปากแม่น้ำและพื้นที่ราบลุ่มชายฝั่งบริเวณ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส

+ ปริมาณน้ำใช้การแหล่งน้ำทั้งประเทศทุกขนาด 33,381 ล้าน ลบ.ม. (57%) ขนาดใหญ่ 26,830 ล้าน ลบ.ม. (56%) เฝ้าระวังน้ำน้อยในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 5 แห่ง (เขื่อนแม่กวงฯ แม่งัด ภูมิพล แม่จาง และ สิริกิติ์)

+ คุณภาพน้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตร ณ จุดเฝ้าระวัง ในแม่น้ำสายหลัก แม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน บางปะกง แม่กลอง อยู่ในเกณฑ์ปกติ ปริมาณออกซิเจนละลายในแม่น้ำ ที่ท่าจีน และแม่กลอง ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

+ สทนช. เร่งดำเนินการคัดเลือกและสรรหาคณะกรรมการลุ่มน้ำทั้ง 22 ลุ่มน้ำตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงภายใต้พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 ได้แก่ กรรมการลุ่มน้ำโดยตำแหน่ง กรรมการลุ่มน้ำผู้แทนองค์กรผู้ใช้น้ำ กรรมการผู้แทนองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และกรรมการลุ่มน้ำผู้ทรงคุณวุฒิให้แล้วเสร็จภายในเดือน มี.ค. 65 ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการคัดเลือกกรรมการผู้แทนคณะกรรมการลุ่มน้ำในคณะกรรมทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) จำนวน 6 คน (กรรมการลุ่มน้ำผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1 คน กรรมการลุ่มน้ำผู้แทนองค์กรผู้ใช้น้ำ 4 คน และกรรมการลุ่มน้ำผู้ทรงคุณวุฒิ 1 คน)

ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการประชุมคัดเลือกสรรหากรรมการผู้แทนองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ผู้แทนลุ่มน้ำละ 1 คน เพื่อเป็นผู้แทนของแต่ละจังหวัดในเขตลุ่มน้ำนั้น โดยจังหวัดที่ได้ดำเนินการคัดเลือกแล้วเสร็จ ได้แก่ จ.แม่ฮ่องสอน ลำพูน สมุทรสงคราม สระแก้ว เลย ขอนแก่น อุดรธานี และหนองบัวลำภู
ทั้งนี้ สทนช. หวังสร้างการมีส่วนร่วมเสริมจุดแข็งการบริหารจัดการน้ำได้อย่างเบ็ดเสร็จในแต่ละลุ่มน้ำ สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่และสถานการณ์ปัจจุบัน