วันที่ 14 ตุลาคม 2564 เวลา 09.00 น. นายชัยยงค์ ผ่องใส ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน รักษาราชการแทนพัฒนาการจังหวัดศรีสะเกษ นายสะมะภู สิงห์ดง ผู้อำนวยการกลุ่มงานประสานและสนับสนุนงานพัฒนาชุมชน นายอัศวณัฏฐ์ ชิณพันธ์ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ นางพรรรณี ต้อไธสง ประธานศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ และทีมผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน ร่วมเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล ตลอดจนการนำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แก่นักโทษเด็ดขาดที่มีโทษระยะสั้น โดยกำหนดเงื่อนไขให้นักโทษเด็ดขาด
ต้องเข้าการอบรมโครงการพระราชทานในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว “โคกหนองนาแห่งน้ำใจและความหวัง กรมราชทัณฑ์” ณ สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดศรีสะเกษ
ทั้งนี้ สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดศรีสะเกษ โดย ว่าที่ร้อยโทสิทธิ์ธนัตถ์ สิทธิบัวศรี ผู้อำนวยการสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดศรีสะเกษ ได้กำหนดจัดโครงการแก้ไขพื้นฟูผู้ได้รับพักการลงโทษกรณีพิเศษ นักโทษเด็ดขาดที่มีโทษระยะสั้น ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๔ ในระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเตือนธันวาคม ๒๕๖๔ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีเป้าหมายในการดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ ได้รับความรู้ สร้างความเข้าใจในการทำงานร่วมกับผู้อื่นมีเจตคติที่ดีต่อการทำงานมีแรงจูงใจและเตรียมความพร้อมในกรประกอบอาชีพ เพื่อช่วยเหลือให้มีตัวเลือกในการประกอบอาชีพอิสระได้มีรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัว ไม่หวนกลับไปกระทำผิดช้ำเกิดความตระหนักมีความรับผิดชอบมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อผู้อื่นและสังคมมากยิ่งขึ้น เกิดความภาคภูมิใจว่ายังมีคุณค่าต่อตนเองและสังคมยังทำคุณประโยชน์ต่อผู้อื่นได้ในการนี้ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ จึงได้ร่วมกับผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน เข้าร่วมบรรยายให้ความรู้ความเข้าใจหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล โดยมีหัวข้อเรื่องที่สำคัญๆ ประกอบด้วย
1) “หลักกสิกรรมธรรมชาติ” ,
2) “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทฤษฎีบันได ขั้นสู่ความพอเพียง”
3) “การออกแบบเชิงภูมิสังคมไทยตามหลักการพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน เพื่อการพึ่งตนเองและรองรับภัยพิบัติ”
4) “การเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ศาสตร์พระราชากับพัฒนาที่ยั่งยืน”
5) “สุขภาพพึ่งตนเองพัฒนา 3 ขุมพลัง พลังกาย พลังใจ พลังปัญญา”
6) “วิถีภูมิปัญญาไทยกับการพึ่งพาตนเองในภาวะวิกฤติ”
7) “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติแบบเป็นขั้นเป็นตอน”
ในระหว่างวันที่ 14 , 21 , 28 ตุลาคม 2564 , 11 , 14 , 25 พฤศจิกายน 2564 และวันที่ 9 ธันวาคม2564 อันเป็นการสร้างเครือข่าย และให้ความสำคัญในการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของพี่น้องประชาชน เน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง โดยการพัฒนาคนให้พึ่งตนเองได้ มีความเป็นเจ้าของและบริหารโดยชุมชน พัฒนาหมู่บ้านหรือชุมชนให้มีวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงและเป็นสังคม “อยู่เย็น เป็นสุข” ตามที่ กรมการพัฒนาชุมชน และภาคีเครือข่ายภาคส่วนต่างๆ น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงลงสู่การปฏิบัติอย่างเป็นขั้นตอน โดยใช้หมู่บ้านเป็นฐานของการพัฒนา มุ่งสร้างภูมิคุ้มกันให้ทุกครัวเรือน และพัฒนาคนให้มีความรู้และปรับตัวให้สามารถดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข มีอาชีพ การพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ขับเคลื่อนเพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้ เป็นต้นแบบ เป็นครูพาทำ สร้างรายได้ สร้างเครือข่าย สร้างมาตรฐานผลผลิต การแปรรูป และการตลาด สามารถพิสูจน์ว่าหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทำให้เราอยู่ได้อย่างยั่งยืน ท่ามกลางวิกฤตโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วให้เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง และพึ่งตนเองได้ ต่อไป