นายชัยวัฒน์ แสงศรี ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชนและคณะ ติดตามผลการปฏิบัติงานและตรวจราชการสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสงขลา ประจำเดือนตุลาคม 2564 ผ่านระบบ Zoom Cloud Meeting

วันที่ 11 ตุลาคม 2564 นายชัยวัฒน์ แสงศรี ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน เขตตรวจราชการที่ 5 กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย พร้อมคณะ จัดประชุมเพื่อติดตามผลการปฏิบัติงานและรับฟังการรายงานการตรวจราชการ ตามประเด็นตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน ผ่านระบบ Zoom Cloud Meeting

ในการนี้ นางสาวอรวรรณ ศรีเกตุ ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์ฯ รักษาการแทนพัฒนาการจังหวัดสงขลา นางปราณี อ่อนมณี ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมฯ นางอรุณลักษณ์ สังข์ด้วงยาง ผู้อำนวยการกลุ่มงานสารสนเทศฯ นางสาวกาญดา จิตมานะ ผู้อำนวยการกลุ่มงานประสานและสนับสนุนฯ นักวิชาการสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสงขลา เข้าร่วมการประชุมและรายงานผลการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญ ณ ห้องประชุมสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสงขลา ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดสงขลา อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสงขลา นำเสนอผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค แนวทางแก้ไขปัญหา ข้อเสนอแนะ ความต้องการสนับสนุนจากกรมฯ และแผนงานที่จะดำเนินต่อไป ประจำเดือนตุลาคม 2564 มีประเด็นสำคัญดังนี้

1. การตรวจติดตามการดำเนินงานโครงการภายใต้กรอบนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVOD-19) ประกอบด้วย

1.1 โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ “ประยุกต์สู่โคก หนอง นา”

-กิจกรรมที่ 1 ฝึกอบรมเพิ่มทักษะระยะสั้นการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง รูปแบบ “โคก หนอง นา โมเดล” ประกอบด้วย ตัวแทนครัวเรือน 52 ครัวเรือน และนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) 96 คน

-กิจกรรมที่ 2 สร้างพื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล (CLM) และพื้นที่ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับครัวเรือน (HLM) ได้มีการดำเนินการก่อหนี้ผูกพันแล้วเสร็จ จำนวน 45 แปลง ปรับปรุงพื้นที่เสร็จสิ้นแล้ว จำนวน 45 แปลง คิดเป็นร้อยละ 98 และเบิกจ่ายแล้ว จำนวน 42 แปลง คิดเป็นร้อยละ 91.3

-กิจกรรมที่ 3 สร้างงานสร้างรายได้รายเดือน ให้แก่ เกษตรกร บัณฑิตจบใหม่ กลุ่มแรงงานที่อพยพกลับท้องถิ่นและชุมชน ประกอบด้วย เกษตรกร 25 คน บัณฑิตจบใหม่ 31 คน ผู้ว่างงาน 31 คนแรงงานอพยพ 8 คน ผู้พ้นโทษ 1 คน

-กิจกรรมที่ 4 กระตุ้นการบริโภค ภาคครัวเรือนและเอกชน ผ่านกิจกรรมการพัฒนา และสนับสนุนพื้นที่ครัวเรือนต้นแบบการ พัฒนาคุณภาพชีวิต (Household Lab Model for quality of life : HLM) ระดับครัวเรือน มีการดำเนินการจัดกิจกรรมเอามื้อสามัคคี ครบทั้ง 3 ครั้ง แล้ว จำนวน 32 แปลง

2. ติดตามโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 จังหวัดสงขลามีพื้นที่ครัวเรือนเป้าหมายพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ “โคก หนอง นา โมเดล” จำนวน 167 หมู่บ้าน แบ่งเป็นพื้นที่ พื้นที่ 1 ไร่ จำนวน 121 ครัวเรือน และพื้นที่ 3 ไร่ จำนวน 46 ครัวเรือน

3. การตรวจติดตามการขับเคลื่อนการน้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สร้างความมั่นคงทางอาหารสู่ปฏิบัติการ 90 วัน ปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร รอบ 2 ประกอบด้วย กิจกรรมส่งเสริม/การรณรงค์/ขยายผลอย่างต่อเนื่อง

จังหวัดสงขลาสร้างการรับรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายเรื่องการรณรงค์การน้อมนำแนวพระราชดำริ สร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในการรณรงค์การปลูกผักสร้างความมั่นคงทางอาหารฯ ระหว่างภาครัฐ/เอกชนและประชาชน จัดกิจกรรม สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ผัก ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติ ดำเนินโครงการ “สงขลา ศุกร์ส่งสุข” รวมทั้งรณรงค์ให้ทุกหมู่บ้านสร้างคลังอาหารชุมชน

4. การตรวจติดตามการดำเนินงาน “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ตามพระดำริสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ประกอบด้วย

4.1 การรณรงค์/ขยายผลอย่างต่อเนื่องสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสงขลา ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ผ่านกิจกรรมประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ /ออฟไลน์อย่างต่อเนื่อง พัฒนาเสริมสร้างวัฒนธรรมและค่านิยมจังหวัด จัดพิธีมอบลายผ้าพระราชทาน รวมทั้งสนับสนุนให้กลุ่มผู้ประกอบการผ้าและเครื่องแต่งกายเข้าถึงแหล่งทุนโดยใช้งบประมาณกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี

4.2 จังหวัดมีนวัตกรรมอย่างไร ได้จัดทำโครงการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอผ้าจังหวัดสงขลา ของบประมาณ ปี 2564 จากกรมการพัฒนาชุมชน จำนวน 449,000 บาท มาสร้างความรู้และฝึกทักษะการทอผ้า การย้อมผ้าเส้นด้ายด้วยสีธรรมชาติและวัสดุเหลือใช้ รวมทั้งพัฒนายกระดับผ้าบาติกยางกล้วยด้วยโดยใช้วัสดุเส้นใย และสีธรรมชาติจากยางกล้วย และการนำผ้าเก่าที่ไม่ใช้แล้ว นำกลับมาตีเกลียว เป็นเส้นด้ายนำกลับมาทอใหม่

5. การตรวจติดตามการดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ประกอบด้วย

5.1 ผลการดำเนินการบริหารจัดการหนี้

-พักชำระหนี้ จำนวน 43 โครงการ เป็นเงิน 5,155,136.61 บาท

-ปรับโครงสร้างหนี้ จำนวน 43 โครงการ เป็นเงิน 4,555,586.96 บาท

-รับสภาพหนี้/รับสภาพความผิด จำนวน 449 โครงการ เป็นเงิน 42,710,062.39 บาท

5.2 ผลการบริหารงบประมาณกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี

-งบบริหาร ได้รับจัดสรร เป็นเงิน 3,773,070 บาท เบิกจ่ายแล้ว เป็นเงิน 2,833,913.42 บาท คิดเป็นร้อยละ 71.54

-เงินอุดหนุน ได้รับจัดสรร เป็นเงิน 4,000,000 บาท เบิกจ่ายแล้ว เป็นเงิน 4,000,000 บาทคิดเป็นร้อยละ 100

-เงินทุนหมุนเวียน ได้รับจัดสรร เป็นเงิน 22,050,000 บาท เบิกจ่ายแล้ว เป็นเงิน 22,050,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 100

6. การตรวจติดตามการบริหารการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.)และข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช.2ค) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564  สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสงขลา และสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ ได้มีการเตรียมการและวางแผนการจัดเก็บข้อมูล ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ) ครอบคลุมทุกครัวเรือนโดยเป้าหมายการจัดเก็บ จำนวน 274,880 ครัวเรือน จัดเก็บไปแล้ว 245,972ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 89.35 และข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช. 2ค) เป้าหมายการจัดเก็บ จำนวน 923 หมู่บ้าน จัดเก็บไปแล้ว 619 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 67.06