วันที่ 4 ตุลาคม 2564 วัดทุ่งศรีวิไล บ้านชีทวน หมู่ที่ 1 ตำบลชีทวน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี มอบหมายให้ นายคมกริช ชินชนะ พัฒนาการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการพัฒนากระบวนการบริหารจัดการชุมชนท่องเที่ยงเชิงสร้างสรรค์ กิจกรรมการส่งเสริมการเรียนรู้ที่นักท่องเที่ยวลงมือปฏิบัติ (D-HOPE) ณ บ้านชีทวน หมู่ที่ 1 ตำบลชีทวน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี นางกนกอร โพธิ์สิงห์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน นางวริชา เสาทอง พัฒนาการอำเภอเขื่องใน หัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนจังหวัดและอำเภอ ผู้นำอาสาพัฒนาบ้านเกิดระดับจังหวัด ผู้บริหารสถานศึกษา ภาคีเครือข่ายพัฒนาชุมชนอำเภอเขื่องใน เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ผู้นำท้องที่ท้องถิ่น ผู้นำชุมชน เครือข่ายสัมมาชีพชุมชน สื่อมวลชน ตลอดจนผู้ประกอบการและชาวบ้านชีทวน เข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการฯ ระหว่างวันที่ 4-5 ตุลาคม 2564
กรมการพัฒนาชุมชน ดำเนินงานโครงการเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการชุมชน (Project for Community-Based Entrepreneurship Promotion) โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่โครงการฯ ได้รับการกระตุ้นด้วยการเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการในชุมชน และกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบการในชุมชนได้รับการพัฒนาตามแนวทางการจัดนิทรรศการแบบกระจายที่ผู้บริโภคได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง (Decentralized Hands-On Program Exhibition : D-HOPE ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางสนับสนุนการขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี กรอบความคิดของ D-HOPE : D-HOPE คือการนำเสนอกิจกรรมในท้องถิ่นที่คนส่วนใหญ่มองข้าม ผ่านโครงการที่ผู้เข้าร่วมสามารถลงมือปฏิบัติได้เองที่จัดดำเนินการโดยแชมป์ประจำชุมชนที่สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในท้องถิ่น (ภูมิปัญญา ความรู้ ความสามารถ ทักษะ และอื่นๆ) ณ สถานที่ที่พวกเขากำหนดเองต่อสาธารณะชน
โอกาสนี้ นางวริชา เสาทอง พัฒนาการอำเภอเขื่องใน ได้เปิดเผยว่า “D-HOPE เป็นกิจกรรมแบบรวมที่จะทำให้ความสามารถพิเศษของแชมป์เปียนประจำชุมชน เช่น บ้านชีทวนหมู่ที่ 1 ซึ่งเป็นชุมชนโบราณที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ดั้งเดิมไว้อย่างเหนียวแน่นทั้งวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี และสถานที่แห่งศรัทธา ผู้คนที่นี่ มีความเอื้อเฟื้อ แบ่งปัน มีไมตรี ต่อผู้มาเยือนให้มีความประทับใจ ถือว่ามีความพร้อมเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชน ดังที่แขกผู้มีเกียรติได้รับรู้ข้อมูลในแคตตาล็อก D-HOPE ที่บรรจุข้อมูลโปรแกรมทั้ง 10 ฐานการเรียนรู้ ที่ผู้เข้าชมสามารถลงมือปฏิบัติได้ทั้งหมด ประกอบด้วย ข้าวตอกลิ่ม ผ้ามัดย้อมลูกบก ขันหมากเบ็ง ข้าวเกรียบอีสาน ปูจ๋าพารวย ถั่วกรอบแก้ว ผ้าเช็ดหน้าขัวน้อยร้อยล้าน กระเป๋าดอกไม้ ไข่นึ่งใบเตย และถั่วร้อยรัก ผ่านการเตรียมการโดยสำนักงานพัฒนาชุมชนระดับจังหวัดแล้ว D-HOPE จึงเสริมสร้างความสามารถของแชมป์เปียน ประจำชุมชนผ่านการประชุมเชิงปฏิบัติการ รวมถึงการสนทนากลุ่มและการทดลองจัดโปรแกรมที่ผู้เข้าชมสามารถลงมือปฏิบัติได้จริงเพื่อออกแบบและพัฒนาโปรแกรมดังกล่าว และการดำเนินการที่เปิดให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วมในงานอีเวนต์จริง อีเวนต์ D-HOPE ช่วยให้แชมป์เปียนมีความเป็นผู้ประกอบการ และมีแนวคิดสร้างนวัตกรรม ผ่านการเปิดเผยผลิตภัณฑ์และการบริการที่มีอยู่หรือมีแนวโน้มที่จะพัฒนาผ่านการมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับผู้มาเยือน”
ขณะที่ นายคมกริช ชินชนะ พัฒนาการจังหวัดอุบลราชธานี ประธานในพิธีฯ ได้เปิดเผยว่า “โครงการพัฒนากระบวนการบริหารจัดการชุมชนท่องเที่ยงเชิงสร้างสรรค์ กิจกรรมการส่งเสริมการเรียนรู้ที่นักท่องเที่ยวลงมือปฏิบัติ (D-HOPE) ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นั้น เกิดขึ้นจากการที่รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองหลักและเมืองรอง โดยเฉพาะเมืองรองมีการส่งเสริม การท่องเที่ยวโดยชุมชน เนื่องจากมีความสำคัญต่อการสร้างรายได้เพื่อพัฒนาประเทศอย่างมากและยังเป็นรายได้ที่เป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นจังหวัดในภาคอีสานที่มีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ อารยธรรมอีสานใต้ วิถีชีวิตลุ่มน้ำ โขง ชี มูล และศิลปวัฒนธรรมที่หลากหลาย และแต่ละชุมชนยังรักษาขนบธรรมเนียม ประเพณีไว้ได้อย่างลงตัวทั้งวิถีชีวิต การแต่งกาย และอาหารพื้นบ้าน และอำเภอเขื่องใน มีพื้นที่ที่มีศักยภาพในการส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชน คือบ้านชีทวน ตำบลชีทวน ซึ่งเป็นจุดศูนย์รวมวัฒนธรรมที่สามารถส่งเสริมการเรียนรู้ที่นักท่องเที่ยวลงมือปฏิบัติ (D-HOPE)”
ดังนั้น เพื่อเป็นโอกาสในการประชาสัมพันธ์ผู้ประกอบการและเส้นทางท่องเที่ยวในชุมชนของหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว ทางสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเขื่องใน จึงได้รวบรวมข้อมูลองค์ความรู้ของผู้ประกอบการชุมชน (CHAMP) ในรูปแบบโปรแกรมการท่องเที่ยว โดยชุมชนที่ผู้มีส่วนร่วมได้ลงมือปฏิบัติ เพื่อใช้ในการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักแก่นักท่องเที่ยวและประชาชนที่มีความสนใจ ที่ผ่านมามีการจัดพิมพ์แคตตาล๊อกโปรแกรมการท่องเที่ยวของผู้ประกอบการ ขึ้นเพื่อสนับสนุนการถ่ายทอดองค์ความรู้และจัดทำโปรแกรมการท่องเที่ยวของผู้ประกอบการชุมชน (Champ) ที่ได้จากการประชุมเชิงปฏิบัติการค้นหาผู้ประกอบการชุมชน (Champ) และทดสอบโปรแกรมตามแนวคิด การจัดนิทรรศการแบบกระจายที่ผู้ชมลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง (Decentralized Hand-On Program Exhibition): D-HOPE เพื่อรับรองและให้บริการแก่นักท่องเที่ยวต่อไป”
“ผมขอให้ผู้เข้าร่วมเป็นเกียรติในงานครั้งนี้ทุกท่าน มีความสุข ความเจริญ มีสุขภาพกายแข็งแรง สุขภาพจิตเข้มแข็ง และขออำนวยอวยพรให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น ชุมชนชีทวน เป็นที่รู้จักแพร่หลายอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น และขอให้โครงการพัฒนากระบวนการบริหารจัดการชุมชนท่องเที่ยงเชิงสร้างสรรค์กิจกรรมการส่งเสริมการเรียนรู้ที่นักท่องเที่ยวลงมือปฏิบัติ (D-HOPE) สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี” นายคมกริช กล่าวปิดท้ายด้วยความยินดี