วันศุกร์ที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๓.๓๐ น. นางนวลจันทร์ ศรีมงคล พัฒนาการจังหวัดร้อยเอ็ด พบปะ มอบนโยบายแนวทางการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ไทยเพื่อสู้ภัยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID – 19) โดยนางราณี วงศ์ลุน ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน กล่าวชี้แจงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ไทย เพื่อสู้ภัยสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID = ๑๙) โดยมีกลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ที่มีผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (Quadrant D) ประเภทอาหาร เครื่องดื่ม และสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร จำนวน ๑๐ กลุ่มๆ ละ ๒ คน รวมจำนวน ๒๐ คน ณ ห้องประชุมสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด ศาลากลางจังหวัดร้อยเอ็ด
กรมการพัฒนาชุมชน ได้กำหนดดำเนินงานโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ไทย เพื่อสู้ภัยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID – 19) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ OTOP ให้มีคุณภาพมาตรฐาน พร้อมรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID – 19) ซึ่งจังหวัดร้อยเอ็ด โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด ได้มอบหมายให้ บริษัท เอ ซี ที อินเทลลิเจนท์ จำกัด เป็นผู้ดำเนินงานตามโครงการฯ พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน ๑๐ กลุ่ม โดยอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ๓ ท่าน ได้แก่
๑. ผศ.ดร.ปริยาภรณ์ อิศรานุวัฒน์ อาจารย์ประจำภาควิชา เทคโนโลยีชีวภาพ คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย มหาสารคาม
๒. อาจารย์ราชัน แพ่งประเสริฐ อาจารย์ประจำสาชาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
๓. อาจารย์ณรงค์ชัย พิพิธพัฒนาปราปต์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ ซี ที อินเทลลิเจนท์ จำกัด
กิจกรรมที่ดำเนินการประกอบด้วย
๑ ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบให้มีความหลากหลาย ตรงกับความต้องการของตลาดในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID – 19) และจัดทำบรรจุภัณฑ์ หรือแท็ก หรือสายคาด หรือสติ๊กเกอร์ หรือตราสินค้า ตามความเหมาะสมของแต่ละผลิตภัณฑ์โดยทีมอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ
๒. บันทึกภูมิปัญญา ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ ๑)จัดทำบันทึกภูมิปัญญาเดิม และผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ได้รับการพัฒนา ได้แก่ บันทึกภูมิปัญญาในรูปแบบคลิปวีดีโอ และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์บันทึกภูมิปัญญาผ่านช่องทางออนไลน์ จำนวนไม่น้อยกว่า ๓ ช่องทาง ๒) จัดทำ E-Catalog เผยแพร่บนเว็บไซต์ จำนวนอย่างน้อย ๓ แห่ง ๓)ออกแบบและจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ ให้แก่ผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่ได้รับการพัฒนาของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน ๑๐ ผลิตภัณฑ์ ผ่านช่องทางการตลาดออนไลน์จำนวนไม่น้อยกว่า ๓ ช่องทาง ๔) สนับสนุนนักการตลาดรุ่นใหม่ ประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์และจำหน่ายทางออนไลน์
การประชุมในครั้งนี้ เป็นการประชุมครั้งที่ ๒ เพื่อสรุปผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ไทย เพื่อสู้ภัยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID – 19) ทั้ง ๑๐ ผลิตภัณฑ์ โดย นางนวลจันทร์ ศรีมงคล พัฒนาการจังหวัดร้อยเอ็ด ได้มอบแนวทางการดำเนินงานการตลาดนำการผลิต โดยเน้นการจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อให้จำหน่ายสินค้าได้มากยิ่งขึ้นในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID – 19) และได้มีการส่งมอบวัสดุสนับสนุนกลุ่ม เช่น บรรจุภัณฑ์ แท๊ก สายคาด สติกเกอร์ หรือตราสินค้า พร้อมทั้งถ่ายทำวิดีทัศน์ บันทึกภูมิปัญญา และเก็บรวบรวมภาพถ่ายเพื่อนำไปจัดทำ E-Catalog และสื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ ต่อไป
💠 ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑) ผลิตภัณฑ์ OTOP ประเภทอาหาร เครื่องดื่ม และสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร มีคุณภาพมาตรฐาน พร้อมจำหน่ายในสถานการการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID – 19)
๒) ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP มีศักยภาพในการพัฒนาสินค้า การแปรรูปผลิตภัณฑ์ และการขยายตลาดได้มากขึ้น
๓) ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ที่มีผลิตภัณฑ์อยู่ในกลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (Quadrant D) มีรายได้เพิ่มขึ้น
๔.) ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ที่ผ่านกระบวนการพัฒนาแล้ว มีโอกาสนำเสนอผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดให้ผู้บริโภคและผู้ที่สนใจได้เลือกชมและตัดสินใจซื้อ ซึ่งเป็นการเปิดช่องทางการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ OTOP เพิ่มมากขึ้น
พช.ร้อยเอ็ด Change for Good : องค์กรคุณธรรม น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติจนเป็นวิถี