จังหวัดสระบุรี เสริมแกร่งผู้ผลิตผู้ประกอบการ OTOP จัดโครงการศูนย์ส่งเสริมตลาดออนไลน์สระบุรี (One Stop Online Center Saraburi : OSC) สู่การขายอย่างมืออาชีพ สู้วิกฤติโควิด-19

วันที่ 16 กันยายน 2564 เวลา 09.00 น.นายสุริยา บุญเรืองยศศิริ พัฒนาการจังหวัดสระบุรี เป็นประธานเปิดโครงการส่งเสริมตลาดออนไลน์สระบุรี (One Stop Online Center Saraburi : OSC) โดยมีกลุ่มเป้าหมาย
ผู้ผลิตผู้ประกอบการ OTOP จังหวัดสระบุรี จำนวน 13 อำเภอ ๆ ละ 5 ราย/กลุ่ม (ประกอบด้วย ทายาท OTOP หรือ นักการตลาดวิถีใหม่ Young OTOP จำนวน 2 คน และผู้ประกอบการ จำนวน 3 คน) รวมจำนวน 65 ราย/กลุ่ม เข้าร่วมประชุมฯ ผ่านระบบประชุมออนไลน์ Zoom Cloud Meeting ณ ห้องประชุมสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสระบุรี ชั้น 3 ศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี

โดยการจัดดำเนินการโครงการฯ ในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากโค้ชหมี นายเดชา วัฒนสุพงษ์ จากเพจคิดว่าดี academy เป็นวิทยากรอบรมให้ความรู้ฯ การดำเนินการฝึกอบรมให้ความรู้ ทักษะ และฝึกปฏิบัติ ผ่านระบบ Zoom โดยใช้ศูนย์โอทอปคอมเพล็กซ์สระบุรี เป็นศูนย์กลางในการถ่ายทอดออนไลน์ (One Stop Online Center) ระหว่างวันที่ 16-17 , 21-23 กันยายน 2564 ดังนี้
กิจกรรมที่ 1 ฝึกอบรม เสริมสร้างองค์ความรู้ด้านตลาดออนไลน์ (Digital Marketing) และฝึกปฏิบัติ Workshop จำนวน 5 หลักสูตร ดังนี้

1. อบรมหลักสูตรทำ Content ให้น่าสนใจ และเทคนิคการถ่ายภาพผลิตภัณฑ์

2. อบรมหลักสูตรขายของให้โดน Live Streaming CF ให้ปังใน Facebook 4.1.3 อบรมหลักสูตรเปิดร้านและการจัดการอย่างไรใน Platform และสอนเทคนิคยิงแอด (วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย)

3. อบรมหลักสูตรขายของและสร้าง Content ให้น่าสนใจใน Tiktok การใช้ IG สร้างรายได้ไม่เสียค่าโฆษณา

4. อบรมหลักสูตรเล่าเรื่องใน Social Platfrom และ Clubhouse Community การบรรจุผลิตภัณฑ์พร้อมระบบการขนส่งจากผู้ประกอบการถึงผู้บริโภคอย่างปลอดภัย

กิจกรรมที่ 2 สร้างการรับรู้และสร้างยอดขายผ่านสื่อออนไลน์

กิจกรรมที่ 3 การประเมินและวิเคราะห์ผู้ประกอบการในการพัฒนาปรับปรุงทั้งก่อนเข้าร่วมโครงการและหลังเข้าร่วมโครงการ ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. ผู้ประกอบการมีเทคนิคการขายสินค้าในระบบ Online อย่างเต็มรูปแบบ สามารถรองรับและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ได้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน

2. มีจำนวนผลิตภัณฑ์ OTOP จังหวัดสระบุรี จำหน่ายใน Platform Online เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 65 ผลิตภัณฑ์

3. เกิดช่องทางการจำหน่ายสินค้าอีกช่องทางหนึ่ง เพื่อกระตุ้นการซื้อขายสินค้า OTOP ให้เศรษฐกิจฐานรากมีการขยายตัว ซึ่งจะก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้นกับผู้ผลิตผู้ประกอบการ OTOP

4. มีทายาท OTOP นักการตลาดวิถีใหม่ Young OTOP จำนวน 26 คน และผู้ประกอบการ OTOP จำนวน 36กลุ่ม/ราย ที่สามารถนำความรู้ไปขยายผลให้กับสมาชิกเครือข่าย OTOP จังหวัดสระบุรี ทั้ง 13 อำเภอได้

5. ผู้ประกอบการมีทักษะในการบรรจุหีบห่อ และการขนส่งสินค้า จากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภคอย่างปลอดภัย

นายสุริยา บุญเรืองยศศิริ พัฒนาการจังหวัดสระบุรี กล่าวว่า ในสถานการณ์ปัจจุบันการจัดตั้งศูนย์จำหน่ายสินค้าออนไลน์ครบวงจร (One Stop Online Center (OSC.)) เพื่อเป็นศูนย์ให้บริการขายสินค้าออนไลน์แบบครบวงจรแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียวด้วยระบบออนไลน์ Platform Online จึงเป็นช่องทางสำคัญที่จะช่วยทำให้เศรษฐกิจฐานราก มีรายได้หมุนเวียนเข้าสู่ชุมชนเพิ่มขึ้น โดยใช้กลยุทธ์การจำหน่ายผ่านหน้าร้านออนไลน์ ให้คนรุ่นใหม่ทำงานร่วมกับผู้ประกอบการในชุมชน โดยมุ่งให้คนรุ่นใหม่นำความรู้ทางด้านดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งมาเพิ่มช่องทางการตลาดออนไลน์ให้กับผู้ประกอบการในชุมชน นำความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มาใช้ในการปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนทั้ง ๑๓ อำเภอ ของจังหวัดสระบุรี ให้มีความน่าสนใจ เพื่อรองรับและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและผู้ประกอบการสามารถเปิดตลาดสู่ภายนอกโดยใช้ระบบการตลาดออนไลน์ หรือการค้าขายออนไลน์ผ่านตลาด e – Commerce (e – Marketplace หรือ Social Commerce) โดยเพิ่มทักษะในการขายสินค้าออนไลน์ ผ่านการไลฟ์สดเกิดช่องทางการจำหน่ายสินค้าอีกช่องทางหนึ่ง กระตุ้นการซื้อขายสินค้า OTOP ที่เป็นเศรษฐกิจฐานรากให้มีการขยายตัว ตลอดจนการสร้างกิจกรรมการขายแบบ B2B ผ่านระบบออนไลน์แทนการเดินทางมาซื้อสินค้า พร้อมทั้งมีระบบการบรรจุหีบห่อ การขนส่งสินค้าชุมชนและสินค้าเกษตรส่งตรงถึงผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดความประทับใจและได้รับสินค้าในสภาพที่ดีมีมาตรฐาน วัตถุประสงค์

1. เพื่อเพิ่มองค์ความรู้และทักษะการใช้ Social Media ทำการตลาดออนไลน์ได้ด้วยตนเอง

2. เพื่อสร้างเครือข่าย Platform Online ให้มีช่องทางตลาดออนไลน์ที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค

3. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนกลุ่มผู้ประกอบการชุมชนให้เกิดกิจกรรมการค้าขายผ่านระบบออนไลน์เพิ่มช่องทางการจำหน่ายและเพิ่มรายได้

4. เพื่อสร้างทายาท OTOP นักการตลาดวิถีใหม่ Young OTOP และผู้ประกอบการ OTOPให้สามารถนำความรู้ไปขยายผลให้กับสมาชิกเครือข่าย OTOP ทั้ง 13 อำเภอได้

5. พัฒนารูปแบบกล่องบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง ให้สามารถรักษาคุณภาพจนถึงมือผู้บริโภคอย่างสมบูรณ์