สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 13 ส.ค. 64
+ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนตกหนักบางพื้นที่
+ แม่น้ำสายหลัก ภาคกลาง น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคใต้ และแม่น้ำโขง มีน้ำน้อยถึงปกติ แนวโน้มลดลง
+ ปริมาณน้ำทั้งประเทศ 40,638 ล้าน ลบ.ม. (50%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 36,080 ล้าน ลบ.ม. (50%) เฝ้าระวังน้ำน้อยในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 10 แห่ง
+ ตามที่ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีสั่งการและเน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานภายใต้ กอนช.มีแผนปฏิบัติที่ชัดเจนรายพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยและขาดแคลนน้ำทั้งก่อนเกิดภัย และระหว่างเกิดภัยเพื่อแก้ไขสถานการณ์ได้ทันที รวมถึงเตรียมความพร้อมของพื้นที่ลุ่มต่ำรับน้ำจุดต่าง ๆ หรือแก้มลิง ที่มีศักยภาพรองรับน้ำหลากได้ โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มภาคกลาง ซึ่ง กอนช. ได้คาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมภาคกลาง ในช่วงเดือน ส.ค.-พ.ย. 64 รวม 368 ตำบล 56 อำเภอ ใน 9 จังหวัด
เมื่อวันที่ 12 ส.ค.64 ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการ สทนช. ได้ดำเนินการตามข้อสั่งการฯ โดยลงพื้นที่เตรียมความพร้อมพื้นที่ ลุ่มน้ำภาคกลาง และเร่งติดตามมาตรการบริหารจัดการน้ำพื้นที่ลุ่มต่ำรองรับน้ำหลาก การพัฒนาระบบรับน้ำ เข้า-ออก ทุ่งท่าวุ้ง จ.ลพบุรี ทุ่งผักไห่ และทุ่งเจ้าเจ็ด จ.พระนครศรีอยุธยา โมเดลเก็บน้ำช่วงหน้าฝนและใช้ประโยชน์หน้าแล้งในพื้นที่แก้มลิงตามผลศึกษาจัดทำผังน้ำ ลุ่มน้ำสะแกกรัง ป่าสัก เจ้าพระยา ท่าจีน รวมทั้งยังได้ติดตามความก้าวหน้าความพร้อมการบริหารจัดการพื้นที่ลุ่มต่ำอื่น ๆ อาทิ ทุ่งบางระกำ รวมถึงพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่ได้จัดเตรียมแก้มลิงเพื่อรองรับน้ำในพื้นที่ ซึ่งจะต้องมีการติดตามผลการเตรียมการให้เป็นไปตามแผน
ทั้งนี้ กอนช. มีความห่วงใยต่อสถานการณ์ฝนที่จะเพิ่มขึ้น ในช่วง 3 เดือนต่อจากนี้ ในวันที่ (13 ส.ค.64) จึงได้กำหนดประชุม กอนช. เพื่อติดตามประเมินผลความก้าวหน้าตาม 10 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 64 ต่อไป