วันที่ 30 กรกฎาคม 2564 เวลา 08.00 – 16.30 น. นายสุวิทย์ จันทร์หวร รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เป็นประธานพิธีเปิดกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อถอดบทเรียน สรุปผลการดำเนินงานผู้นำการเปลี่ยนแปลง และจัดตั้งศูนย์แบ่งปัน ระดับจังหวัด และร่วมกิจกรรม “เอามื้อสามัคคี ปลูกพืชสมุนไพร ต้านภัยโควิด-19” ตามโครงการเสริมสร้างและพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง โดยมี นายสุรพล แก้วอินธิ พัฒนาการจังหวัดนครพนม กล่าวรายงาน พร้อมด้วย ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน ผู้อำนวยการกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าค้อ หัวหน้าส่วนราชการระดับอำเภอ พัฒนาการอำเภอ นักวิชาการพัฒนาชุมชนจังหวัด/อำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) และประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรมฯ ณ สวนสมุนไพร บ้านท่าค้อ หมู่ที่ 3 ตำบลท่าค้อ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม
จังหวัดนครพนม ดำเนินโครงการเสริมสร้างและพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อถอดบทเรียน สรุปผลการดำเนินงานผู้นำการเปลี่ยนแปลง และจัดตั้งศูนย์แบ่งปันระดับจังหวัด ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อถอดบทเรียน สรุปผลการดำเนินงานโครงการเสริมสร้างและพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง และจัดตั้งศูนย์แบ่งปัน ระดับจังหวัด จำนวน 1 แห่ง ซึ่งจะมีการขยายผลสู่ 12 อำเภอ ตามคติพจน์ “ทุกครัวเรือน คือ คลังอาหาร ทุกหมู่บ้าน คือ ศูนย์แบ่งปัน ในครั้งนี้ ประกอบด้วยกิจกรรม ดังนี้
1. การขับเคลื่อนโครงการเสริมสร้างและพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง
2. การถอดบทเรียน สรุปผลการดำเนินงานผู้นำการเปลี่ยนแปลง
3. กิจกรรม “เอามื้อสามัคคี ปลูกพืชสมุนไพร”
4. การสร้างเครือข่ายและการขยายผลโครงการฯ
5. การขับเคลื่อนศูนย์โฮมฮัก ปลูกผักปันแนวดีวิถีนครพนม (ศูนย์แบ่งปัน)
6. จัดตั้งเครือข่ายผู้นำการเปลี่ยนแปลงระดับจังหวัด
ในการนี้ นายสุวิทย์ จันทร์หวร รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ได้นำผู้เข้าร่วมกิจกรรมฯ ลงพื้นที่ร่วมกิจกรรม “เอามื้อสามัคคี ปลูกพืชสมุนไพร” เฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้แก่ กระชาย ฟ้าทะลายโจร ข่า ขิง ตะไคร้ มะกรูด ใบชะพลู ย่านาง ฯลฯ เพื่อสู้ภัยโควิด-19 รวมทั้งสร้างความมั่นคงทางอาหารและเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน
นายสุวิทย์ จันทร์หวร รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม กล่าวว่า ด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด 19) ส่งผลต่อการพัฒนาในทุกมิติ การประกอบอาชีพ คุณภาพชีวิตและความสุขของคนในชุมชนลดลง การบูรณาการการทำงานในระดับพื้นที่ และการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่การปฏิบัติให้เป็นวิถีชีวิตของคนในชุมชน การสร้างความมั่นคงทางอาหาร เป็นประเด็นสำคัญที่จะช่วยให้พี่น้องประชาชน สามารถพึ่งตนเองได้โดยใช้กลไกผู้นำชุมชน ในการขับเคลื่อนกิจกรรมของหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของ (ผู้นำ) สามารถบูรณาการงานพัฒนาชุมชน นำไปสู่การพึ่งพาตนเองได้ และเพื่อใช้พลังชุมชน ในการเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร สร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมและสร้างสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน ในภาวะวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) และเกิดการบูรณาการโครงการอย่างเป็นรูปธรรม การจัดกิจกรรมในวันนี้ ถือเป็นการผนึกพลังความร่วมมือจากทุกภาคส่วน การถอดบทเรียน สรุปผลการดำเนินงาน กำหนดแนวทางการพัฒนา และสร้างเครือข่ายผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่เข้มแข็ง เกิดการบูรณาการกิจกรรมโครงการในระดับพื้นที่ โดยมีเป้าหมายเดียวกันคือ เกิดประโยชน์สุขกับพี่น้องประชาชนอย่างแท้จริง และเกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลจากโครงการกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป
นายสุรพล แก้วอินธิ พัฒนาการจังหวัดนครพนม กล่าวว่า กรมการพัฒนาชุมชน ได้ให้ความสำคัญในการเสริมสร้างผู้นำชุมชน โดยการพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในระดับต่าง ๆ ให้มีความรู้ คู่คุณธรรม สามารถบริหารจัดการชุมชนของตนเองและเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนการดำเนินงานพัฒนาชุมชนในพื้นที่ โดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ เป็นการสนับสนุนนโยบายรัฐบาล ที่มุ่งสืบสาน รักษา ต่อยอด และพัฒนาประเทศตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผู้นำชุมชนเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนบูรณาการงาน สร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน การอนุรักษ์ดิน น้ำ ป่า การปกป้องดิน สร้างความสามัคคีของคนในชุมชน มีการพึ่งตนเองอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้กำหนดคติพจน์ (Motto) ภายใต้หัวข้อ “1 หมู่บ้าน สามารถดูแลได้ทั้งตำบล สร้างความมั่นคงทางด้านอาหารด้วยหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง”
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครพนม ได้ดำเนินกิจกรรมดังกล่าว ในพื้นที่จังหวัดนครพนม เป้าหมาย จำนวน 13 ตำบล ๆ ละ 15 คน ครอบคลุม 12 อำเภอ สามารถดำเนินการขับเคลื่อนและขยายผลให้ทุกครัวเรือน มีการปลูกพืชผักสวนครัวอย่างน้อย 10 ชนิด เกิดความมั่นคงทางอาหาร ครอบคลุมทุกพื้นที่ และเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของผู้นำชุมชน ให้สามารถบูรณาการงานพัฒนาชุมชนนำไปสู่การพึ่งพาตนเองได้ และเพื่อใช้พลังชุมชนในการเสริมสร้างความมั่นคง ทางด้านอาหารสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม และสร้างสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน ในภาวะวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) และเกิดการบูรณาการโครงการอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อเป็นการถอดบทเรียน สรุปผลการดำเนินงานผู้นำการเปลี่ยนแปลงและจัดตั้งศูนย์แบ่งปัน ระดับจังหวัด จำนวน 1 แห่ง
เพื่อขยายผล ไปยัง 12 อำเภอ ตามคติพจน์ “ทุกครัวเรือน คือ คลังอาหาร ทุกหมู่บ้าน คือ ศูนย์แบ่งปัน” เป็นกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ในการจัดกิจกรรมแบ่งปันอาหารผลผลิตที่เกิดขึ้นจากโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลง และเพื่อช่วยเหลือแบ่งปันการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารให้กับชุมชน ผู้มีรายได้น้อย กลุ่มเปราะบางในยามวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) โดยจัดสรรงบประมาณให้จังหวัดดำเนินการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อถอดบทเรียน สรุปผลการดำเนินงานผู้นำการเปลี่ยนแปลงและจัดตั้งศูนย์แบ่งปัน ระดับจังหวัด ตามแนวทางที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนด
การจัดกิจกรรมดังกล่าว ดำเนินการภายใต้มาตรการ Social Distancing และภายใต้มาตรฐาน SHA (Safety & Health Administration)
นครพนม : เมืองแห่งความสุข
เศรษฐกิจฐานรากมั่นคงและชุมชนพึ่งตนเองได้ ภายในปี 2565
Change for Good