กรมเจ้าท่า พัฒนาแหล่งน้ำ ฟื้นคืนชีวิตสายน้ำ เพื่อประชาชน

วันที่ 7 มิถุนายน 2564 : นายวิทยา ยาม่วง อธิบดีกรมเจ้าท่า เปิดเผยถึงความคืบหน้าภารกิจขุดลอกบริเวณพื้นที่ภาคเหนือและภาคอีสาน เพื่อแก้ปัญหาอุทกภัย ภัยแล้ง ขยายพื้นที่รับน้ำในช่วงฤดูน้ำหลาก ฟื้นฟูลำน้ำเสียว ตำบลสระคู อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด แม่น้ำสงคราม ตำบลทุ่งฝน อำเภอทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี ตำบลคำสะอาด อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร และแม่น้ำจาง ตำบลสบป้าด อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากความตื้นเขินของลำน้ำ เกษตรกรไม่มีแหล่งน้ำใช้เพื่อการเกษตร ตามนโยบายรัฐบาลและมาตรการของกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ โดยพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และกระทรวงคมนาคม โดยนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

กรมเจ้าท่า : สำนักพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำ : สำนักงานพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำที่ 8 เปิดหน่วยปฏิบัติงานขุดลอกลำน้ำเสียว ตำบลสระคู อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ดำเนินการขุดลอกเพื่อแก้ไขปัญหาการตื้นเขินของลำน้ำ ที่เกิดจากตะกอนดินและวัชพืช ส่งผลทำให้การกักเก็บน้ำเพื่อใช้ในการเกษตร การอุปโภค บริโภค ไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน และในช่วงฤดูน้ำหลากประชาชนในพื้นที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ทางการเกษตรซ้ำซากเป็นประจำทุกปี พืชผลทางการเกษตรได้รับความเสียหาย

โดยเปิดหน่วยปฏิบัติงาน ขุดลอกตั้งแต่ กิโลเมตร ที่ 72+750 ถึง กิโลเมตรที่ 74+550 ระยะทาง 1,800 เมตร ความกว้างร่องน้ำ 20-120 เมตร ขุดลอกความลึกประมาณ 118 เมตร (จากระดับน้ำทะเลปานกลาง) ปริมาณวัสดุขุดลอก 97,339 ลูกบาศก์เมตร ปัจจุบันขุดลอกได้ระยะทาง 934 เมตร ปริมาณวัสดุขุดลอก 51,085 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 58 และหน่วยขุดลอกแม่น้ำสงคราม ตำบลทุ่งฝน อำเภอทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี ตำบลคำสะอาด อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ปัจจุบันขุดลอกตั้งแต่ กิโลเมตรที่ 427+500 ถึง กิโลเมตรที่ 430+650 ระยะทาง 3,150 เมตร ขุดลอกร่องน้ำความกว้าง 20-40 เมตร ลึกประมาณ 155 เมตร (จากระดับน้ำทะเลปานกลาง) ปริมาณวัสดุขุดลอก 91,666 ลูกบาศก์เมตร ขณะนี้ขุดลอกได้ระยะทาง 1,731 เมตร ปริมาณวัสดุขุดลอก 48,620 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 53.04

สำหรับพื้นที่ภาคเหนือ สำนักงานพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำที่ 7 ได้เปิดหน่วยปฏิบัติงานขุดลอกแม่น้ำจาง ตำบลสบป้าด อำเภอ แม่เมาะ จังหวัดลำปาง ดำเนินการขุดลอกเพื่อแก้ไขความเดือดร้อนจากความตื้นเขินของแม่น้ำจาง จากตะกอนทรายและวัชพืช ทำให้ปัญหาในการกักเก็บน้ำเพื่อใช้ในการเกษตรในฤดูแล้ง ไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนที่ใช้น้ำในการทำเกษตรกรรม อุปโภคบริโภค และปัญหาอุทกภัย เริ่มขุดลอก

(ช่วงที่ 1) ตั้งแต่ กิโลเมตรที่ 81 + 330 ถึง กิโลเมตรที่ 84 + 150

(ช่วงที่ 2) ตั้งแต่ กิโลเมตรที่ 87+100 ถึง กิโลเมตรที่ 87+650 ระยะทางรวม 3,400 เมตร ขุดลอกความกว้าง 15 – 20 เมตร ขุดลอกลึกประมาณ 253.50 – 264.00 เมตร (จากระดับน้ำทะเลปานกลาง) ปริมาณวัสดุขุดลอก 54,000 ลูกบาศก์เมตร ขณะใกล้แล้วเสร็จ ผลงานร้อยละ 99.06 เป็นไปตามแผนงาน

อธิบดีกรมเจ้าท่า กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันมีพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้งขาดแคลนน้ำเป็นจำนวนมาก จึงได้มีแผนการพัฒนาฟื้นฟูแม่น้ำ ลำคลองต่าง ๆ ให้กลับมีชีวิตขึ้นมาใหม่ และเป็นแหล่งน้ำใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคของประชาชน สามารถปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ในฤดูแล้ง รวมทั้งใช้เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ ปัจจุบันภารกิจขุดลอกของกรมเจ้าท่าคืบหน้าตามแผนพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำ ไปมากในหลายพื้นที่ ทั้งนี้ภายหลังการขุดลอกแล้วเสร็จได้ร่วมรณรงค์กับหน่วยงานในพื้นที่ส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกพืชผักสวนครัว ปล่อยพันธุ์ปลาท้องถิ่น ปลูกไม้ยืนต้นหรือหญ้าแฝกเพื่อป้องกันตลิ่งพังจากการกัดเซาะ เพื่อรักษาระบบนิเวศแม่น้ำ ให้คงความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งน้ำของหมู่บ้านและสามารถพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสร้างรายได้ สร้างอาชีพให้กับชุมชนท้องถิ่น สามารถทำมาหากินได้อย่างมีความสุข

… กรมเจ้าท่า… มุ่งมั่นพัฒนา..เพื่อประชาชน…
————————————————
7 มิถุนายน 2564
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม
โทรศัพท์ 02-233-1311-3 ต่อ 285
E-Mail : Pr@md.go.th