ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ประกาศ อว.พร้อมขับเคลื่อน “ธัชชา” ด้วยการจับมือกันของ 3 องค์กร ที่มีกระทรวง อว. นิด้า และ มูลนิธิยูนุส เน้นบูรณาการศาสตร์ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง นำเอาความรู้ นโยบาย สู่การปฏิบัติเพื่อน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ศึกษาวิจัยเพิ่มเติม ต่อยอด และประยุกต์ใช้ในรูปแบบต่างๆ สร้างองค์ความรู้ไปเป็นโมเดลที่มีการนำไปปฏิบัติจริงได้ในระดับโลก
โดยการผสมผสานและต่อยอดไปสู่การพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน สร้างการศึกษา ความกินดี อยู่ดี มีงานทำ กระทรวง อว. โดย วิทยสถานสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย หรือ “ธัชชา” ได้ประสานนักวิชาการ ความรู้ โดยมีเป้าหมายในการผลักดันนโยบายด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ซึ่ง อว. มีคลังพลังด้านกำลังคนที่เป็นต้นทุนทรัพยากรมนุษย์พร้อมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศให้มีความยั่งยืนและสร้างรายได้
ทั้งนี้หนึ่งในห้าของสถาบันเฉพาะทางของ “ธัชชา” คือ สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า เป็นพันธมิตรหลัก นิด้าเป็นสถาบันที่ได้ศึกษาสั่งสมความรู้ และทำการทดลองใช้ทฤษฎีเศรษกิจพอเพียงมาอย่างเป็นระบบและเป็นเวลานาน ในขณะที่มูลนิธิยูนุสซึ่งก่อตั้งโดย ศาสตราจารย์ ดร.มูฮัมหมัด ยูนุส นักเศรษฐศาสตร์ชาวบังคลาเทศผู้ได้รับรางวัลโนเบล ปี 2006
ได้มีการศึกษาพัฒนาสร้างทฤษฎีเศรษฐกิจสำคัญของโลกเพื่อใช้ลดความเหลื่อมล้ำของคนในประเทศที่ขาดโอกาส เช่น บังคลาเทศ อินเดีย อย่างได้ผล 1 เมษายน 2564 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในการ ลงนามข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาทางวิชาการและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมด้านการศึกษา วิจัยและนวัตกรรม โดย รมว.อว. เปิดเผยหลังการลงนามว่า วัตถุประสงค์ของการสร้างความร่วมมือระหว่างกระทรวง อว. นิด้า และ มูลนิธียูนุส ในครั้งนี้จะน้อมนำเอาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ซึ่งเป็นหลักคิดและทฤษฎีสำคัญ ประยุกต์กับการวิจัยและวิชาการนำไปสู่การปฏิบัติในรูปแบบต่างๆ เกิดรายได้ยกระดับคุณภาพชีวิตและสังคม ลดความเหลื่อมล้ำ โดยความร่วมมือผลิตและพัฒนาหลักสูตรการศึกษา จัดทำและพัฒนาโครงการฝึกอบรมและโครงการวิชาการ แลกเปลี่ยนอาจารย์/นักวิจัยร่วมกันเพื่อดำเนินการฝึกอบรมสัมมนาและการประชุม รวมถึงการร่วมวิจัยกรณีศึกษา และสร้างการมีส่วนร่วมในการสัมมนาการประชุมทางวิชาการ อีกทั้งให้มีการแลกเปลี่ยนเอกสารทางวิชาการและข้อมูลกันและกันระหว่างหน่วยงานด้วย