เกษตรกรรมแบบยั่งยืน กับ “ความสุขแบบชาวบ้าน”

ในปัจจุบันนี้ การทำเกษตรกรรมแบบยั่งยืนมีหลายรูป แบบ แตกต่างไปตามพื้นฐานความเชื่อความเป็นมา และความเหมาะสมกับแต่ละภูมินิเวศ และวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่/ชุมชน และมีการให้ชื่อและความหมายที่แตกต่างกัน แต่ส่วนใหญ่แล้วจะวางอยู่บนหลักการของการดำเนินกิจกรรมที่สอดคล้องกับระบบนิเวศวิทยา สามารถดำเนินต่อไปไดอย่างยั่งยืน โดยไม่ก่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของผู้บริโภค ตัวอย่างรูปแบบเกษตรกรรมแบบยั่งยืนที่สำคัญ อาทิ

  1. เกษตรผสมผสาน (Integrated Farming) หมายถึง ระบบการเกษตรที่มีการปลูกพืชและ/หรือมีการเลี้ยงสัตว์หลายชนิด อยู่ในบริเวณเดียวกัน โดยกิจกรรมการผลิตแต่ละชนิดสามารถเกื้อกูลประโยชน์ต่อกันได้โดยอาจจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อมมีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในไร่นา เช่น ดิน นํ้า แสงแดดอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด มีการหมุนเวียนแร่ธาตุในไร่นา นั่นคือเป็นการใช้สภาพแวดล้อมอย่างต่อเนื่องและเกิดผลในการเพิ่มพูนความอุดมสมบูรณ์ ของทัรพยากรธรรมชาตินั่นนเอง ซึ่งการทำเกษตรผสมผสานสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มคือ
  • การปลูกพืชแบบผสมผสาน พิจารณาขนาดต้นพืช ระยะการเจริญเติบโต สัมพันธ์กับความชื้นอากาศในแต่ละช่วงฤดูกาล ตัวอย่างการปฏิสัมพันธ์เชิงเกื้อกูลระหว่างพืชกับพืช เช่น พืชตระกูลถั่วตรึงไนโตรเจนให้กับพืชชนิดอื่น พืชยืนต้นให้ร่มเงากับพืชที่ต้องการแสงน้อยพืชเป็นอาหารและที่อยู่อาศัยให้กับแมลงศัตรูธรรมชาติเพื่อช่วยกำจัดศัตรูพืชไม่ให้เกิดกับพืชชนิดอื่น ๆ เช่นการปลูกถั่วลิสงระหว่างแถวในแปลงข้าวโพด จะช่วยทำให้แมลงศัตรูธรรมชาติได้มาอาศัยอยู่ในถั่วลิสงมากและช่วยกำจัดแมลงศัตรูของข้าวโพด ฯลฯ
  • การเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสาน สัตว์หลายชนิดพันธุ์จะต้องเกื้อกูลกันได้เอง เช่น เลี้ยงหมูกับเลี้ยงปลาในบ่อ เลี้ยงเป็ดหรือไก่กับเลี้ยงปลาในสระ
  • การปลูกพืชผสมผสานกับการเลี้ยงสัตว์ มีความสัมพันธ์กันในลักษณะถ่ายเทพลังงานอาหารให้กันได้ ตัวอย่างการปฏิสัมพันธ์เชิงเกื้อกูลระหว่างพืชกับสัตว์ เช่น เศษเหลือของพืชใช้เป็นอาหารของสัตว์ ปลาช่วยกินแมลงศัตรูพืช วัชพืช ให้กับพืชที่ปลูกในสภาพนํ้าท่วมขัง เช่น ข้าว ปลาให้อินทรียวัตถุกับพืช จากการถ่ายมูลตกตะกอนในบ่อเลี้ยงปลาซึ่งสามารถจะลอกขึ้นมาเป็นปุ๋ยกับพืช และการเลี้ยงปลาในนาข้าว เป็ด ห่านแพะ วัว ควาย ช่วยกำจัดวัชพืชในสวนผลไม้ และแปลงปลูกหม่อน มูลสัตว์ทุกชนิดสามารถใช้ประโยชน์เป็นปุ๋ยกับต้นพืช ฯลฯ

เกษตรกรรมแบบยั่งยืน กับ “ความสุขแบบชาวบ้าน” กษตรแบบผสมผสาน จะแตกต่างจาก ไร่นาสวนผสม (Mixed farming) คือเกษตรแบบผสมผสานจะเน้นการเกิดความสมดุลของสภาพแวดล้อมในไร่นา มากกว่าเน้นการปลูกเพื่อการขาย และแตกต่างจาก เกษตรกรรมแบบดั้งเดิม (Traditional AgricultureSystem)

  1. วนเกษตร (Agro forestry) คือ การเกษตรที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยการปลูกไม้ยืนต้นเป็นหลัก ร่วมกับพืชกสิกรรม(พืชล้มลุก เช่น ผัก พืชไร่ ฯลฯ) สลับกันหรือปลูกในเวลาเดียวกันและอาจเลี้ยงสัตว์หรือไม่ก็ได้ ส่วนการปลูก อาจปลูกเป็นแถบ(Zone)เป็นแนว(strips) อาจปลูกเป็นแนวขั้นบันไดเพื่อป้องกันดินพัง(allycropping) ซึ่งการทำวนเกษตรแบ่งออกเป็น 3 ระบบใหญ่ ๆ คือ
  • ระบบป่าไม้-กสิกรรม
  • ระบบป่าไม้/ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์-ปศุสัตว์
  • ระบบป่าไม้/ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์-ปศุสัตว์-กสิกรรม

ลักษณะเด่นของวนเกษตรคือ เป็นระบบการปลูกพืชที่มีความต่างระดับของเรือนยอดต้นไม้และระบบราก มีองค์ประกอบที่หลากหลายทางพันธุกรรมและชีวภาพของพืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก(จุลินทรีย์) เน้นการอยู่ร่วมกันเป็นระบบนิเวศที่มีความสมดุลทางธรรมชาติ มีการหมุนเวียนธาตุอาหารตามธรรมชาติ (อันเป็นผลมาจากความหลากหลายชนิดของพืช สัตว์ และจุลินทรีย์)

  1. เกษตรกรรมธรรมชาติ (Natural Farming) เป็นเกษตรกรรมที่คำนึงถึงระบบนิเวศ (Ecologically Sound Agriculture) โดยพยายามลดการแทรกแซงของมนุษย์ กระทำเพียงสิ่งที่จำเป็นต่อการเกษตรกรรม ปรับรูปแบบการเกษตรให้สอดคล้องกับระบบนิเวศและธรรมชาติ และไม่พึ่งพาปัจจัยการผลิตจากภายนอกการทำเกษตรกรรมรูปแบบนี้ได้รับการพัฒนาและเผยแพร่ โดย นายมาซาโนบุ ฟุกุโอกะ นักเกษตรกรรมธรรมชาติชาวญี่ปุ่น ผู้เขียน การปฏิวัติยุคสมัย ด้วยฟางเส้นเดียว หรือ The One Straw Revolution(2518) ซึ่งเป็นหนังสือที่เขาได้นำเสนอมรรควิธีแห่งการดำเนินชีวิตและมรรควิธีแห่งเกษตรกรรมเอาไว้ โดยเกษตรกรรมธรรมชาติมีหลักการที่สำคัญ 4 ประการคือ
  • ไม่ไถพรวนดิน
  • ไม่ใส่ปุ๋ยบางชนิด
  • ไม่กำจัดวัชพืช
  • ไม่จำกัดโรคและแมลงศัตรูพืช

ฟูกูโอกะอธิบายว่า “ชาวนาเชื่อกันว่าทางเดียวที่จะให้อากาศเข้าไปปรับสภาพเนื้อดินได้ดี คือ ต้องใช้จอบ พลั่ว ใช้ไถ หรือใช้แทรคเตอร์พรวนดิน แต่ยิ่งพรวนมากเท่าไรมันก็จะแตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยมากเท่านั้น นั่นเป็นการทำให้โมเลกุลของมันแตกกระจายออกจากกัน ซึ่งจะยิ่งทำให้ดินแข็งขึ้น ถ้าปล่อยให้วัชพืชทำงานนี้แทน รากของมันจะชอนลงไปลึกถึง 30-40 ซม. ซึ่งจะช่วยทำให้ทั้งอากาศและนํ้าซอกซอนเข้าไปในเนื้อดินได้ จุลินทรีย์จะแพร่ขยายตัว เมื่อรากเหล่านี้เหี่ยวและเมื่อมันแก่ ไส้เดือนก็จะเพิ่มจำนวนขึ้น ซึ่งที่ไหนมีไส้เดือนก็จะขุดดินให้เอง ดินจะอ่อนนุ่ม และสมบูรณ์ขึ้นด้วยตัวของมันเอง มันพรวนตัวเอง โดยไม่ต้องให้มนุษย์มาช่วย เพียงแต่เราปล่อยให้มันทำ”ในแนวคิดของฟูกูโอกะ จะมุ่งเน้นในด้านของการใช้ฟางคลุมดินแทนการทำปุ๋ยหมัก เพราะการใช้ฟางคลุมดินจะช่วยปรับสภาพดินได้เป็นธรรมชาติกว่า เป็นการเดินตามหลักเกณฑ์ของธรรมชาติ และจะเป็นวิธีบำรุงธรรมชาติให้สมบูรณ์ขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่งซึ่งแนวคิดเกษตรกรรมธรรมชาติของฟูกูโอกะนี้มาจากฐานความคิดที่เชื่อว่า เกษตรกรรมธรรมชาติสืบสายมาจากสภาวะแห่งความไพบูรณ์ทางจิตวิญญาณของปัจเจกบุคคล เขาเชื่อว่าการบำ รุงรักษาผืนแผ่นดิน และการชำระจิตใจของมนุษย์ให้บริสุทธิ์เป็นกระบวนการเดียวกัน ดังที่เขากล่าวว่า “เป้าหมายสูงสุดของเกษตรกรรมไม่ใช่การเพาะปลูกพืชผล แต่คือการบ่มเพาะความสมบูรณ์แห่งความเป็นมนุษย์”

  1. เกษตรอินทรีย์ (Organic Agricuture) เป็นระบบการผลิตที่หลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยเคมีสังเคราะห์ สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์ แต่อาศัยการปลูกพืชหมุนเวียน เศษซากพืช มูลสัตว์ พืชตระกูลถั่ว ปุ๋ยพืชสดเศษซากพืชเหลือทิ้งต่าง ๆ การใช้ธาตุอาหารจากการผุพังของหนิ แร่รวมทั้งใช้หลักการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี ทั้งนี้เพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินเป็นหลักสำคัญ เนื่องจากดินเป็นที่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่เป็นประโยชน์ในดินและยังเป็นแหล่งอาหารของพืช ช่วยควบคุมศัตรูพืชต่าง ๆ เช่น แมลง และวัชพืช หลักการสำคัญของเกษตรอินทรีย์คือ
  • การอนุรักษ์ระบบนิเวศการเกษตรและสิ่งแวดล้อม ด้วยการปฏิเสธการใช้สารเคมีสังเคราะห์ทุกชนิดในการเพาะปลูก ทั้งนี้เพราะปัจจัยการผลิตที่เป็นสารเคมีสังเคราะห์มีผลต่อสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่อยู่ในฟาร์ม ทั้งสัตว์ แมลง และจุลินทรีย์ ทั้งที่อยู่บนผิวดินและใต้ดิน ในกลไกธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ เหล่านี้มีบทบาทสำ คัญในการสร้างสมดุลของนเิ วศการเกษตรไม่ว่าจะเป็นการช่วยในการควบคุมประชากรของสิ่งมีชีวิตอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งศัตรูพืช หรือการพึ่งพาอาศัยกันในการดำรงชีวิต เช่น การผสมเกสร การช่วยย่อยสลายอินทรียวัตถุ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อพืชที่เพาะปลูกแต่การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชนั้นมีผลทำลายสิ่งมีชีวิตทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งมีชีวิตที่เป็นประโยชน์ ในขณะที่โรคและแมลงศัตรูพืชมักจะมีความสามารถพิเศษในการพัฒนาภูมิต้านทานต่อสารเคมี แม้แต่ปุ๋ยเคมีเองก็มีผลเสียต่อจุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตในดิน ทำให้สมดุลของนิเวศดินเสีย
  • การฟื้นฟูนิเวศการเกษตร นอกเหนือจากการอนุรักษ์แล้ว หลักการของเกษตรอินทรีย์ยังเน้นให้เกษตรกรต้องฟื้นฟูสมดุลความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศด้วย ซึ่งแนวทางหลักในการฟื้นฟูนิเวศการเกษตรก็คือ การปรับปรุงบำ รุงดินอินทรียวัตถุและเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ ในระบบเกษตรอินทรีย์ ดินถือว่าเป็นกุญแจสำคัญ เพราะการปรับปรุงบำรุงดินทำให้ต้นไม้ได้รับธาตุอาหารอย่างครบถ้วนและสมดุล ซึ่งจะช่วยให้ต้นไม้แข็งแรง มีความต้านทานต่อการระบาดของโรคและแมลง ซึ่งช่วยให้เกษตรกรไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช นอกจากนี้ ผลผลิตของเกษตรอินทรีย์ยังมีรสชาติที่ดี มีคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วนและยังสามารถเพิ่มผลผลิตได้อย่างยั่งยืนกว่าการเพาะปลูกด้วยระบบเกษตรเคมีอีกด้วย นอกเหนือจากการปรับปรุงบำรุงดินแล้ว การเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในไร่นาก็เป็นสิ่งจำเป็น ทั้งนี้เพราะความหลากหลายทางชีวภาพเป็นกุญแจสำคัญของความยั่งยืนของระบบนิเวศการเกษตร ทั้งนี้ก็เพราะว่าการมีสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดอยู่ร่วมกันย่อมก่อให้เกิดความเกือ้ กลู และสมดุลของระบบนิเวศ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างกระบวนการและพลวัตรทางธรรมชาติที่เกื้อหนุนต่อการทำเกษตรอินทรีย์อีกต่อหนึ่ง วิธีการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพอาจทำได้ในหลายรูปแบบ เช่นการปลูกพืชร่วม พืชแซม พืชหมุนเวียน ไม้ยืนต้น หรือการฟื้นฟูแหล่งนิเวศธรรมชาติในไร่นาหรือบริเวณใกล้เคียง• การพึ่งพากลไกธรรมชาติในการทำเกษตร หลักการเกษตรอินทรีย์ตั้งอยู่บนปรัชญาที่ว่า การเกษตรที่ยั่งยืนต้องเป็นการเกษตรที่เป็นไปตามครรลองของธรรมชาติ ไม่ใช่การเกษตรที่ฝืนวิถีธรรมชาติ ดังนั้นการทำเกษตรจึงไม่ใช่การพยายามเอาชนะธรรมชาติหรือดัดแปลงธรรมชาติเพื่อการเพาะปลูก แต่เป็นการเรียนรู้จากธรรมชาติ และปรับระบบการทำเกษตรให้สอดคล้องกับวิถีแห่งธรรมชาติ กลไกในธรรมชาติที่สำคัญต่อการทำเกษตรอินทรีย์ ได้แก่ วงจรการหมุนเวียนธาตุอาหาร (โดยเฉพาะอย่างยิ่งวงจรไนโตรเจนและคาร์บอน) วงจรการหมุนเวียนของนํ้าพลวัตรของภูมิอากาศและแสงอาทิตย์ รวมทั้งการพึ่งพากันของสิ่งมีชีวิตอย่างสมดุลในระบบนิเวศ(ทั้งในเชิงของการเกื้อกูล การพึ่งพา และห่วงโซ่อาหาร) ซึ่งในพื้นที่ต่าง ๆย่อมมีระบบนิเวศและกลไกตามธรรมชาติที่แตกต่างกันออกไป การทำเกษตรอินทรีย์จึงจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ถึงสภาพเงื่อนไขของท้องถิ่นที่ตนเองทำการเกษตรอยู่การหมั่นสังเกต เรียนรู้ วิเคราะห์ สังเคราะห์และทำการทดลอง เป็นกระบวนการเรียนรู้ ที่ต้องดำเนินการไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่ว่าในระบบฟาร์มเกษตรอินทรีย์จะได้ประโยชน์จากกลไกธรรมชาติและสภาพนิเวศท้องถิ่นอย่างเต็มที่
  • การควบคุมและป้องกันมลพิษ แม้ว่าเกษตรอินทรีย์จะปฏิเสธการใช้สารเคมีสังเคราะห์ในฟาร์ม แต่สภาพแวดล้อมที่ฟาร์มกษตรอินทรีย์ตั้งอยู่มีมลพิษต่าง ๆ อยู่ไปทั่วที่อาจมีผลกระทบต่อการทำเกษตรอินทรีย์ไม่ว่าจะมลพิษทางนํ้า อากาศหรือแม้แต่ในดินเอง ดังนั้น การทำเกษตรอินทรีย์จึงต้องพยายามอย่างเต็มที่ ในการป้องกัน มลพิษต่าง ๆ ภายนอกมิให้ปนเปื้อนกับผลผลิต การป้องกันนี้อาจทำได้โดยการจัดทำแนวกันชนและแนวป้องกันบริเวณริมฟาร์มแต่อย่างไรก็ตามการป้องกันมลพิษดังกล่าว แม้ว่าจะกระทำด้วยวิธีใดก็ตาม ก็ยังไม่สามารถป้องกันการปนเปื้อนจากมลพิษได้อย่างสมบูรณ์ เนื่องจากสารเคมีมีปะปนทั่วไปในสภาพแวดล้อม เช่น ฟาร์มเกษตรอินทรีย์ยังจำเป็นต้อง ใช้แหล่งนํ้าร่วมกับเกษตรกรที่ทำเกษตรเคมีอยู่ ซึ่งทำให้ผลผลิตเกษตรอินทรีย์อาจปนเปื้อนสารเคมีได้เช่นกัน ดังนั้นแนวทางการปฏิบัติของเกษตรอินทรีย์จึงเน้นความพยายามของเกษตรกรในการป้องกันมลพิษ โดยไม่กล่าวอ้างว่าผลผลิตไม่มีสารเคมีปนเปื้อน นอกจากมลพิษจากภายนอกฟาร์มแล้ว เกษตรอินทรีย์ยังกำหนดให้เกษตรกรต้องลดหรือป้องกันมลพิษที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการผลิตของฟาร์มเองด้วย เช่น ให้มีการจัดการขยะ และนํ้าเสียก่อนที่จะปล่อยออกนอกฟาร์มหรือการไม่ใช้วัสดุบรรจุผลผลิตที่อาจมีสารปนเปื้อนได้
  • การพึ่งพาตนเองด้านปัจจัยการผลิต ในการทำฟาร์มเกษตรอินทรีย์ จำเป็นต้องใช้ปัจจัยการผลิตต่าง ๆ เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ เมล็ดพันธุ์ ฯลฯเกษตรอินทรีย์มีหลักการที่มุ่งให้เกษตรกรพยายามผลิตปัจจัยการผลิตต่าง ๆ ด้วยตนเองในฟาร์มให้ได้มากที่สุด แต่ในกรณีที่เกษตรกรไม่สามารถผลิตได้เอง(เช่น มีพื้นที่การผลิตไม่พอเพียง หรือต้องมีการลงทุนสูงสำหรับการผลิตปัจจัยการผลิตที่จำเป็นต้องใช้)เกษตรกรก็สามารถซื้อหาปัจจัยการผลิตจากภายนอกฟาร์มได้ แต่ปัจจัยการผลิตนั้นควรเป็นปัจจัยการผลิตที่มีอยู่แล้วในท้องถิ่นการตรวจสอบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์เป็นกระบวนการตรวจสอบยืนยันว่า ผลผลิตที่ได้รับการรับรองนั้น ได้ผลิตขึ้นตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในมาตรฐานอย่างแท้จริง ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างหลักประกันและความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ต้องการได้อย่างถูกต้อง การรับรองมาตรฐานนี้โดยทั่วไปจะมีรากฐานมาจากมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของสมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ หรือที่เรียกกันย่อ ๆ ว่า IFOAM (International Federation of Organic Agriculture Movements)สำหรับในประเทศไทยเอง ได้ริเริ่มการจัดตั้งหน่วยงานตรวจสอบและรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์โดยหน่วยงานเอกชนมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2538 ภายใต้ชื่อ “สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์” หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า มกท. ในปัจจุบัน มกท. ได้ให้บริการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานการปลูกพืช ผลผลิตจากธรรมชาติ และการแปรรูป-การจัดการผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ต่าง ๆหลักการพื้นฐานของเกษตรอินทรีย์นั้นแตกต่างจาก เกษตรปลอดสารเคมี ตรงที่เกษตรอินทรีย์เน้นการอนุรักษ์และฟื้นฟูสมดุลและความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อม ด้วยการไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ในการทำการผลิต (รวมถึงไม่ใช้ปุ๋ยเคมีสังเคราะห์) การปรับปรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ และเน้นการฟื้นฟูระบบนิเวศการเกษตรในขณะที่เกษตรปลอดสารเคมีจะสนใจแต่การควบคุมปริมาณการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแต่อย่างใด

นอกจากนี้ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคเกษตรอินทรีย์ยังมีการกำหนดมาตรฐานกระบวนการผลิตที่ชัดเจนมีการตรวจสอบและรับรองมาตรฐาน จนถึงขั้นกำหนดเป็นระเบียบกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการผลิตและการติดฉลากโฆษณาผลิตภัณฑ์ว่าเป็นผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ความสุข ความพอเพียงผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่เกษตรกรหันมาทำ เกษตรกรรมแบบยั่งยืนก็คือ แม้จะไม่รํ่ารวยเงินทอง แต่ก็รํ่ารวยความสุขตัวอย่างบทเรียนจากพื้นที่รูปธรรมในการทำเกษตรกรรมยั่งยืนของชุมชนแม่ทา ตำบลแม่ทา จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า การทำ เกษตรกรรมยั่งยืนทำ ให้เกิดการเรียนรู้และเกิดความรู้ และการเรียนรู้/ความรู้นี้เองที่ทำ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชุมชน คือทำ ให้เกิด “ความสุข” ซึ่งความสุขในที่นี้ก็คือการได้ทำอะไรโดยอิสระ ได้ทำในสิ่งที่ตนเองถนัดและสนใจ ได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันมีความอบอุ่นเข้าใจกันในครอบครัว มีเวลาพักผ่อนอย่างพอเพียง มีเวลาให้กับชุมชนและสังคม และที่สำคัญคือมี “ความเป็นไท” เป็นเจ้าเป็นนายตนเอง อีกทั้งมี “ปัญญา” ที่จะเป็นภูมิคุ้มกันต่อปัญหาต่าง ๆ ที่เข้ามากระทบตนเอง โดยเฉพาะปัญหาจากภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ ส่วนความสุขในระดับชุมชนก็คือ การมีความสงบสุขของชุมชน มีความสามัคคี มีความปลอดภัย มีความสามารถในการร่วมกันแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และมีความสามารถในการจัดการทรัพยากรของชุมชน

นอกจากนี้ ในด้านสิ่งแวดล้อม ดิน นํ้า ป่า ก็ดีขึ้น ไม่มีสารพิษในสิ่งแวดล้อมและผลผลิต มีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น และสามารถจัดการให้สืบทอดได้อย่างยั่งยืนด้วยวิถีการจัดการของชุมชนเองหรือตัวอย่างบทเรียนจากพื้นที่รูปธรรมของสมาชิกชมรมเกษตรปลอดสารพิษเพื่อสุขภาพ บ้านพิงพวย-นารัง 127 ครอบครัว (2 หมู่บ้าน) จังหวัดสุรินทร์ พบว่า ในด้านครอบครัว เครือญาติภายหลังจากที่ทุกคนได้มีส่วนร่วมทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน ทั้งคนเฒ่า คนแก่ เด็ก เยาวชน ผู้นำ สมาชิกคนอื่น ๆ การได้อยู่กันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา ทำให้ครอบครัว เครือญาติมีเวลาปรึกษาหารือกัน มีเวลาพูดคุยกันและมีความเข้าใจกันมากขึ้น และเกิดความสมัครสมานสามัคคีของคนในชุมชนที่มีรากฐานจากทุนเดิมอยู่แล้วคือ เครือญาติ ฉะนั้นไม่ว่าจะปลูกอะไรเมื่อให้ผลผลิตแล้ว จะเก็บไว้ให้สมาชิกในครอบครัวและแบ่งปันให้ญาติพี่น้องก่อน ที่เหลือจึงค่อยขายให้คนอื่น และในด้านสุขภาพ ตัวเกษตรกร ครอบครัวและเครือญาติ ก็มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและมีจิตใจร่าเริงแจ่มใสดี ส่วนในด้านเศรษฐกิจ ทุกครอบครัวสามารถลดต้นทุนการผลิตทางการเกษตรได้ โดยมีการปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ มีการหาวัสดุทดแทนที่มีในท้องถิ่น ด้วยการเริ่มต้นตั้งแต่การปลูกพืชตระกูลถั่วเพื่อเป็นปุ๋ยพืชสดในการปรับปรุงบำรุงดิน ใช่การทำปุ๋ยหมัก โดยการใช้ปุ๋ยคอก แกลบ รำ นํ้าหมัก กากนํ้าตาล ทำปุ๋ยหมักแทนการใช้ปุ๋ยเคมี มีการทำสารสกัดกำจัดศัตรูพืชจากการหมักสารสะเดาและนํ้าส้มควันไม้ แทนการใช้ยาปราบศัตรูพืช ช่วยให้ลดต้นทุนทางเศรษฐกิจของเกษตรกรลดลงได้จริงในระดับครอบครัว ส่วนในด้านหนี้สิน เกษตรกร(สมาชิกชมรมฯ) ส่วนใหญ่ เปนหนี้สินที่เกิดจากภาคการเกษตร คือการกู้เงิน ธกส. มาลงทุนทำนาในแต่ละปี หลังจากหันมาทำเกษตรปลอดสารพิษแล้วจึงได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับหนี้สินทมี่ อี ยู่โดยจะไม่พยายามสร้างหนี้เพิ่มขึ้นอีก นอกจากนี้ ในด้านสิ่งแวดล้อมพบว่าการทำเกษตรปลอดสารเคมีลดปริมาณสารเคมีตกค้างในดินช่วยให้ดินอุดมสมบูรณ์ มีธาตุอาหารมากขึ้น โดยสังเกตจากหน้าดินที่ร่วนซุย มีสัตว์เล็กสัตว์น้อยอาศัยอยู่ เช่น ไส้เดือน แมลง ส่วนแหล่งนํ้าก็สะอาดมากขึ้น สามารถนำมาใช้อุปโภคบริโภคได้ มีคำพูดของชาวบ้านที่สะท้อนความหมายของการมีความสุขของบุคคล ครอบครัวชุมชน และสภาพแวดล้อมโดยรวมได้เป็นอย่างดีก็คือ “อยู่ดี กินแซบนอนแจบฝันดี หมดหนี้มีเงินใช้ ให้อภัยเข้าใจกัน” มาถึงตอนนี้ เมื่อเกษตรกรมี “ความสุขแบบชาวบ้าน” จากการทำเกษตรกรรมแบบยั่งยืนแล้ว เรื่องคงยังไม่จบแต่เพียงเท่านี้ เพราะสิ่งที่น่าสนใจต่อไปก็คือ กระบวนการจัดการของเกษตรกร หรือชุมชนเพื่อดำรงความยั่งยืนต่อไปในอนาคต จะเป็นอย่างไรติดตามตอนต่อไปครับ

 

ขอบคุณข้อมูล จาก หนังสือชุมชนเข้มแข็งและประชาสังคม มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา นพ.พลเดช ปิ่นประทีป