สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำทั้งประเทศ (ข้อมูล ณ วันที่ 19 ม.ค.64)

1.สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำทั้งประเทศ (ข้อมูล ณ วันที่ 19 ม.ค.64)

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศจำนวน 447 แห่ง ฯ มีปริมาณน้ำในอ่างฯ รวมกัน 45,557 ล้าน ลบ.ม.
(60% ของความจุอ่างฯ) ปริมาณน้ำใช้การได้ 21,627 ล้าน ลบ.ม. (41% ของความจุน้ำใช้การ)

อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำใช้การน้อยกว่าหรือเท่ากับ 30% ของน้ำใช้การ จำนวน 4 แห่ง คือ ภูมิพล แม่มอก วชิราลงกรณ
และคลองสียัด

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างและระบาย ช่วงฤดูแล้ง ปี 2563/64 ของอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 35 แห่ง (1 พ.ย.63 – ปัจจุบัน) ปริมาณน้ำไหลลงอ่าง 4,07 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำระบายจากอ่าง 4,734.73 ล้าน ลบ.ม.

สถานการณ์น้ำใน 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยฯ และป่าสักฯ) (ข้อมูล ณ วันที่ 19 ม.ค.64)

ปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 11,364 ล้าน ลบ.ม. (46% ของความจุอ่างฯ) เป็นปริมาณน้ำใช้การได้ 4,668 ล้าน ลบ.ม.(26% ของความจุน้ำใช้การ)

ปริมาณน้ำไหลลงอ่าง 80 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำระบายจากอ่าง 28.26 ล้าน ลบ.ม.

3.ผลการจัดสรรน้ำฤดูแล้งปี 2563/64 (ข้อมูล ณ วันที่ 19 ม.ค.64)

ทั้งประเทศ (1 พ.ย. 63 – 30 เม.ย. 64) แผนการจัดสรรน้ำ 16,674 ล้าน ลบ.ม. จัดสรรน้ำไปแล้ว 6,505 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 39 ของแผนฯ

เจ้าพระยา (1 พ.ย. 63 – 30 เม.ย. 64) แผนการจัดสรรน้ำ 4,000 ล้าน ลบ.ม. จัดสรรน้ำไปแล้ว 1,843 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 46 ของแผนฯ

แม่กลอง (1 ม.ค. 64 – 30 มิ.ย. 64) แผนการจัดสรรน้ำ 3,000 ล้าน ลบ.ม. จัดสรรน้ำไปแล้ว 362 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 12 ของแผนฯ

4. แผนผลการเพาะปลูกข้าว (ข้อมูล ณ วันที่ 13 ม.ค.64)

การเพาะปลูกข้าวนาปี ปี 2563

ทั้งประเทศ แผนเพาะปลูกข้าวนาปี 16.79 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 14.44 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 86 ของแผน เก็บเกี่ยวแล้ว 13.77 ล้านไร่

ลุ่มน้ำเจ้าพระยา แผนเพาะปลูกข้าวนาปี 8.1 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 6.39 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 79 ของแผน เก็บเกี่ยวแล้ว 6.29 ล้านไร่

การเพาะปลูกข้าวนาปรัง ปี 2563/64

ทั้งประเทศ แผนเพาะปลูกข้าวนาปรัง 1.63 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 3.428 ล้านไร่ แยกเป็น เพาะปลูกในแผน 1.063 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 65.21 ของแผน และเพาะปลูกนอกแผน 2.365 ล้านไร่

ลุ่มน้ำเจ้าพระยา แผนเพาะปลูกข้าวนาปรัง – ล้านไร่ (รณรงค์งดทำนาต่อเนื่องในฤดูแล้ง ปี 2563/64) ยังคงมีการเพาะปลูก 2.365 ล้านไร่

5.คุณภาพน้ำ วันที่ 20 ม.ค. 64 เวลา 05.00 น. : แม่น้ำเจ้าพระยา สถานีประปาสำแล จ.ปทุมธานี (เกินเกณฑ์เฝ้าระวังในช่วงวันที่ 19 ม.ค.64
เวลา 13.00 – วันที่ 20 ม.ค.64 เวลา 01.00 น. โดยสูงสุดที่เวลา 16.00 น.ของวานนี้ ที่ค่าความเค็ม 0.43 กรัมต่อลิตร ปัจจุบันปกติ)
แม่น้ำบางปะกง สถานีบางกระเจ็ด (ปกติ) แม่น้ำท่าจีน สถานีปากคลองจินดา (ปกติ) และ แม่น้ำแม่กลอง สถานีปากคลองดำเนินสะดวก (ปกติ)

6.กิจกรรมและการให้ความช่วยเหลือของกรมชลประทาน

โครงการชลประทานอุตรดิตถ์ สำนักงานชลประทานที่ 3 ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำของระบบท่อส่งน้ำโครงการช่วยเหลือผู้อพยพโครงการท้ายเขื่อนสิริกิติ์ ในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 5 บ้านน้ำสิงห์ใต้ อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ พร้อมประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือเกษตรกรงดการเผาเศษซากพืชหรือวัชพืช และเศษวัสดุการเกษตรในพื้นที่ตามแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม ปี 2563/64

โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาป่าสักใต้ สำนักงานชลประทานที่ 10 ลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์งดทำนาต่อเนื่องและขอความร่วมมืองดสูบน้ำในคลองระพีพัฒน์ เพื่อส่งน้ำให้ท้ายน้ำได้เพียงพอสำหรับการอุปโภค-บริโภค และผลิตน้ำประปา ณ บริเวณปากคลองส่งน้ำ 5 ขวา ตำบลโคกตูมอำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี

โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษารังสิตเหนือ สำนักงานชลประทานที่ 11 ติดตั้งเครื่องสูบน้ำด้วยไฟฟ้าขนาด 3 ลบ.ม./วินาที จำนวน 2 เครื่องที่ประตูระบายน้ำพระธรรมราชา ตำบลบึงน้ำรักษ์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำที่ใช้ในการผลิตน้ำประปา ของการประปาส่วนภูมิภาคสาขาธัญบุรี และแก้ไขการขาดแคลนน้ำของพืชสวนและไม้ยืนต้น ในเขตคลอง 13 โดยจะดำเนินการผันน้ำจากคลองรังสิตประยูรศักดิ์เข้าสู่คลอง 13 เพื่อการผลิตน้ำประปาและช่วยเหลือเกษตรกร

โครงการจ้างแรงงานชลประทาน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ประจำปีงบประมาณ 2564 แผนจำนวน 94,000 คน ระยะเวลาการจ้างงาน3-8 เดือน ปัจจุบัน ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2563 จ้างแรงงานไปแล้ว 6,414 คน คิดเป็นร้อยละ 82