ป.ป.ส. เปิดเวที “ถอดรหัสสีม่วง” สร้างความเข้าใจ พร้อมโชว์ตรวจพิสูจน์ 3 สาร

ป.ป.ส. เปิดเวที “ถอดรหัสสีม่วง”สร้างความเข้าใจ พร้อมตรวจพิสูจน์3สารโชว์พบสีม่วงทั้งหมด นักวิชาการยันชุดเทสคิทใช้ตัวเดียวกับทั่วโลก ชี้หลายมหาวิทยาลัยหวังพัฒนาชุดทดสอบให้มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม ช่วยงานเจ้าหน้าที่ภาคสนาม

เมื่อเวลา 14.00 น. ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) มีการจัดสัมมนา เรื่อง “ถอดรหัสสีวง (คีตามีน)” โดยมี พ.ต.ท.ไพศิษฎ์ สังคหะพงศ์ รองเลขาธิการ ป.ป.ส. พ.ต.อ.หญิง สุนันท์ ฟูปลื้ม นักวิทยาศาสตร์ (สบ 4) สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ นายธีรยุทธ วิไลวัลย์ รองคณบดี (ฝ่ยวิจัย) คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยลัย น.ส.กัญญนันทน์ คงภัสนิธิโรจน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิชาการและตรวจพิสูจน์ยาเสพติด สำนักงาน ป.ป.ส. และ พ.ต.อ.เรวัต คติธรรมนิตย์ อาจารย์พิเศษ ร่วมอภิปราย และยังมีผู้เข้าร่วมสัมนา ได้แก่ สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ, กรมโรงงานอุตลาหกรรม, กรมวิยาศาสตการแพทย์, สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.), กอง 12 ศูนย์รักษาความปลอดภัยกองบัญชาการกองทัพไทย, สถาบันนิติวิทยาศาสตร์, กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด, คณะเภสัชศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และหน่วยงานภายในสำนักงาน ป.ป.ส. ร่วมงาน

พ.ต.ท.ไพศิษฎ์ กล่าวว่า การจัดงานสัมมนาในครั้งนี้ เป็นการดำเนินการเพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้ที่ปฏิบัติงานและนักวิชาการในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ความเข้าใจถึงสถานการณ์ยาเสพติด สารตั้งต้น และเคมีภัณฑ์ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เป็นปัญหาสำคัญที่ทุกภาคส่วนต้องเร่งดำเนินการแก้ไข นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนและเครื่องมือในการตรวจพิสูจน์สารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ ทั้งในห้องปฏิบัติการและภาคสนามรวมถึงการใช้ชุดทดสอบ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องสามารถปฏิบัติการได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนและหน่วยงานในต่างประเทศ

โดยก่อนเข้าสู่งานสัมมนา ทางสำนักงาน ป.ป.ส. นำโดย พ.ต.ท.ไพศิษฎ์ สังคหะพงศ์ รองเลขาธิการ ป.ป.ส. และ น.ส.กัญญนันทน์ คงภัสนิธิโรจน์ ผ.อ.สถาบันวิชาการและตรวจพิสูจน์ยาเสพติด ป.ป.ส. ได้นำเจ้าหน้าที่มาสาธิตการตรวจ โดยใช้ชุดตรวจเบื้องต้นที่ใช้ในการลงพื้นที่ตรวจสารต้องสงสัย มีสารตัวอย่าง 3 สาร คือ 1.สารที่ยึดได้จากโกดังที่บางปะกง 2.สารไตรโซเดียมฟอสเฟส และ 3.สารเคตามีน ซึ่งผลการทดสอบปรากฎว่าทั้ง 3 สารเป็นสีม่วงทั้งหมด

จากนั้นเข้าสู่ช่วงสัมมนา พ.ต.อ.เรวัต กล่าวว่า ปัญหาในวันนี้ไม่ได้อยู่ที่ห้องแล็ปแต่ต้องทำให้สังคมเข้าใจกับสารเคมีใหม่ตัวนี้ สารบางตัวที่ไม่ผิดกฎหมาย หากมีการทดสอบเบื้องต้นเราไม่รู้เลยว่าผลทดสอบจะออกมาเป็นสีม่วง ซึ่งชุดทดสอบที่ประเทศไทยใช้อยู่นั้นเป็นชุดเดียวกับที่ทั่วโลกใช้ ซึ่งในอนาคตเราก็หวังว่าจะมีเครื่องมือที่ช่วยเจ้าหน้าที่ใช้งานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น

นายธีรยุทธ กล่าวว่า การตรวจยืนยันผลต้องใช้เวลา ซึ่งชุดตรวจเบื้องต้นนั้นเป็นมาตรฐานเดียวกับที่ทั่วโลกใช้ เป็นชุดตรวจที่สกรีนเบื้องต้น สุดท้ายการยืนยันผลจะต้องเข้าแล็ปโดยใช้วิธีการ TLC โดยสารที่มีโครงสร้างเหมือนกันจะเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางไปในระยะทางที่เท่ากัน ซึ่งในหลายมหาวิทยาลัย มีแนวคิดที่จะพัฒนาชุดทดสอบเบื้องต้นให้มีความน่าเชื่อถือได้มากขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่ภาคสนาม โดยสารที่พบในโกดังบางปะกง คือ ไตรโซเดียมฟอสเฟส เป็นสารที่มีลักษณะผลึกสีขาว เป็นสารที่ใช้ในอุตสาหกรรมได้หลายอย่าง เช่น การผลิตนม ซึ่งเท่าที่ดูไม่น่าจะมีส่วนการสังเคราะห์ยาเคได้

พ.ต.อ.หญิง สุนันท์ กล่าวว่า การตรวจพิสูจน์ในภาคสนาม เป็นการตรวจเพื่อระบุสารที่สงสัย โดยใช้ชุดทดสอบเบื้องต้นแต่มีข้อจำกัดในการระบุสารอย่างละเอียด และเมื่อชุดจับกุมส่งให้พนักงานสอบสวนจะมีการตรวจเบื้องต้นอีกครั้ง จากนั้นต้องนำส่งสถานตรวจพิสูจน์แต้องใช้การตรวจทางเคมีในห้องแล็ปเพื่อยืนยันผล ระยะเวลาตรวจอาจนานซึ่งตามกฎจะต้องไม่เกิน 30 วัน ส่วนการเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจพิสูจน์ จะมี การใช้เครื่องมือ FT-IR portable การใช้เครื่องมือ Ramann portable และ Color Test ซ฿่งหากใช้เครื่องมือต่างๆร่วมกันจะทำให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด

ทั้งนี้การสัมมนา มีผู้เข้าร่วมงานสนใจในการพัฒนาเครื่องชุดตรวจเบื้องต้นให้ดีและมีประสิทธิภาพที่ดีกว่าเดิม และการใช้เครื่องมือต่างๆในห้องแล็ป นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอในการตรวจสอบเบื้องต้นเพื่อให้เกิดความแม่นยำและถูกต้องมากขึ้น

………………………………………………………………………..