วันที่ 1 ธันวาคม 2563 เป็น “วันเอดส์โลก” (World AIDS Day) ซึ่ง โครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) ได้ตั้งเป้าหมาย “90-90-90” ให้ภายในปี พ.ศ.2573 ผู้ติดเชื้อเอชไอวีร้อยละ 90 ได้รับการวินิจฉัย (diagnosed 90%) ผู้ติดเชื้อเอชไอวีร้อยละ 90 ได้รับการรักษา (on treatment 90%) และผู้ติดเชื้อร้อยละ 90 มีภูมิต้านเชื้อเอชไอวี (virally suppressed 90%)
รองศาสตราจารย์ ดร.โธมัส กวาดามูซ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิ ชาการ และหัวหน้าหน่วยความเป็นเลิศด้ านการวิจัยเพศภาวะ เพศวิถีและสุขภาพ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ประเทศไทยกำลังประสบปั ญหาการแพร่ระบาดของเอชไอวีที่นั บวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น จากการสำรวจพบว่า 1 ใน 3 ของเยาวชนชายที่มีเพศสัมพันธ์กั บเพศชายด้วยกันในกรุ งเทพมหานครติดเชื้อเอชไอวี โดยไม่รู้ตัว ด้วยอุปสรรคปัญหาทางสังคมมั กพบว่าผู้ติดเชื้อเอชไอวียั งประสบปัญหาการถูกตีตราหรือถู กเลือกปฏิบัติ จึงทำให้ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ ยงทางเพศไม่กล้าไปเข้ารั บการตรวจตามสถานพยาบาลด้วยวิธี ปกติ
มหาวิทยาลัยมหิดล โดย หน่วยความเป็นเลิศด้านการวิจั ยเพศภาวะ เพศวิถีและสุขภาพ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จึงได้เสนอโครงการให้บริ การตรวจเอชไอวีผ่านช่ องทางออนไลน์ โดยทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็ นเยาวชนชายที่มีเพศสัมพันธ์กั บชายในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่ อออนไลน์ผ่านวีดีโอคอลเข้ามาช่ วยให้ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ ยงสามารถตรวจเอชไอวีได้ด้ วยตนเองที่บ้าน โดยใช้ชุดตรวจแบบรู้ผลทันที (rapid test) และยืนยันผลโดยให้กลุ่มตัวอย่ างส่งกระดาษซับเลือด ไปยังศูนย์วิจัยทางคลินิก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เพื่อตรวจยืนยันทางคลินิก ซึ่งผลจากการทดสอบพบว่า วิธีการตรวจออนไลน์ด้วยตัวเองดั งกล่าว ได้รับความสนใจจากเยาวชนชายกลุ่ มเสี่ยง และส่งผลตรวจได้ตามขั้นตอนที่ แนะนำผ่านระบบออนไลน์
รองศาสตราจารย์ ดร.โธมัส กวาดามูซ กล่าวเพิ่มเติมว่า การตรวจออนไลน์เหมาะอย่างยิ่ งสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูง โดยสามารถตรวจเอชไอวีด้วยตั วเองที่บ้าน ด้วยขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อน และใช้เวลาไม่นาน และที่สำคัญ คือ ไม่ต้องออกไปตรวจข้างนอก ซึ่งในบางรายอาจเกิดความไม่มั่ นใจ จนเปลี่ยนใจกลับบ้านโดยไม่ได้รั บการตรวจ โดยเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กั บผู้มีความเสี่ยง สู่การบรรลุเป้าหมาย UNAIDS 90-90-90
นอกจากนี้ ตลอดเวลาที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีการคิดค้นและพัฒนาวัคซีนป้ องกันการติดเชื้อโรคเอชไอวี จากผลงานของ ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงพรรณี ปิติสุทธิธรรม หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์เขตร้ อน หัวหน้าหน่วยวิจัยโรคติดเชื้ อทางคลินิก และรักษาการหัวหน้าศูนย์ทดสอบวั คซีน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาวั คซีนป้องกันการติดเชื้ อโรคเอชไอวีจนนำไปสู่การศึ กษาครั้งแรกของโลกที่มีหลั กฐานบ่งชัดว่า วัคซีนป้องกันการติดเชื้ อโรคเอชไอวีมีความเป็นไปได้ และยังคงมีการวิจัยอย่างต่อเนื่ อง ตามรอยพระปณิธานแห่งสมเด็ จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ที่มุ่งประยุกต์ใช้ความรู้เพื่ อประโยชน์สุขแห่งมวลมนุษยชาติ
………………………………………………………………………..