วันที่ 15 สิงหาคม 2563 ที่รัฐสภา รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) นำทีมคณะผู้บริหาร สกสว. พร้อมด้วย ผู้บริหารระดับสูงหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เข้าประชุมชี้แจงงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ 2564 ต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สภาผู้แทนราษฎร โดยในปีนี้มีมติอนุมัติงบประมาณกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุน ววน.) มากกว่า 19,000 ล้านบาท สนับสนุนการลงทุนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาประเทศ
รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล รักษาการผู้อำนวยการ สกสว. เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ 2564 กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุน ววน.) ได้เสนอของบประมาณราว 19,000 ล้านบาท โดยมีแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 2563-2565 ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และผ่าน ครม. แต่ทั้งนี้ได้มีการปรับปรุงใหม่ ให้สอดรับกับสถานการณ์ เป็นกรอบในการทํางานโดยเฉพาะจากวิกฤตโควิดที่ผ่านมา ที่ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจประเทศไทย ซึ่งจำเป็นต้องบริหารจัดการด้วยการลงทุนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในสาขาสำคัญ ได้แก่ เกษตรและอาหาร การแพทย์และสุขภาพ ซึ่งผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพสูงและยังสามารถเพิ่มมูลค่าได้อีกมาก
ดังนั้น งบประมาณกว่าร้อยละ 66 จะเป็นการต่อยอดงานเดิม และร้อยละ 34 เป็นโครงการใหม่ มีหน่วยรับงบประมาณมากกว่า 160 หน่วยงาน ประกอบด้วยสถาบันอุดมศึกษา หน่วยงานในกระทรวง อว. หน่วยงานนอกกระทรวง อว.และรัฐวิสาหกิจ โดยแบ่งการใช้งบประมาณได้เป็น 3 ส่วน คือ
ส่วนที่หนึ่ง ประมาณหนึ่งในสาม ใช้ในการลงทุนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยใช้โอกาสของวิถีใหม่ (New Normal) ได้แก่ โครงการเศรษฐกิจ ชีวภาพ เศรษฐกิจสีเขียว และเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือโครงการ BCG ที่ประกอบด้วยสาขาการเกษตรและอาหาร การแพทย์ การท่องเที่ยว และการพัฒนาพลังงานชีวภาพ โครงการการพัฒนาเกษตรสมัยใหม่ และเกษตรแม่นยํา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างผลิตภัณฑ์มีคุณภาพสูง ด้านการแพทย์และพลังงาน จะสนับสนุน โครงการพัฒนา เทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรมทางการแพทย์ การลงทุนในโครงการพัฒนาระบบการแพทย์ที่แม่นยําในการรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม เช่น โรคมะเร็ง โครงการพัฒนาพลังงานสมัยใหม่และยานยนต์สมัยใหม่เพื่อเตรียมการอุตสาหกรรมแห่งอนาคต
โครงการใหม่และจุดเน้นในปี 2564 คือ โครงการพัฒนาการวิจัยเพื่อผลิตวัคซีนโรคโควิด โครงการพัฒนา การแพทย์ระยะไกลด้วยระบบดิจิทัล และ โครงการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพที่ทันสมัยสําหรับวิถีใหม่ โครงการพัฒนาพลังงานทางเลือกและการเก็บพลังงาน โครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์และวิจัยด้าน AI โครงการ ยกระดับและใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานและระบบมาตรคุณภาพของประเทศ โครงการพัฒนา AI เพื่อสร้าง ซอฟแวร์และฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ผู้ประกอบการ SMEs และ Start up ประมาณ 500 รายจะได้รับการสนับสนุน ให้ใช้ความรู้และนวัตกรรม เทศโนโลยี การบริหารจัดการสมัยใหม่ คาดว่าจะเกิดการร่วมทุนและลงทุนเพิ่มของ SMEs ในด้านการพัฒนานวัตกรรม ไม่ต่ำกว่า 70 ราย 100 ล้านบาท และเกิดแพล็ตฟอร์มใหม่ๆ ที่ผู้ประการนอกโครงการจะได้ใช้ประโยชน์ได้อีกมากและเป็นประโยชน์ในระยะยาว ผลพลอยได้คือบัณฑิตที่ตกงานจะได้เข้าสู่ตลาดแรงงานพร้อมกับได้ฝึกทักษะใหม่
ส่วนที่ 2 ในระดับพื้นที่ คุณภาพชีวิตของประชาชนและการแก้โจทย์ท้าทายสังคม จะมีงบประมาณอีกกว่า 1 ใน 3 ที่ผสมผสานเทคโนโลยีกับมิติการจัดการทางสังคม เน้นการปรับตัวในวิถีใหม่ได้แก่โครงการต่อยอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมการบริหารจัดการน้ำในระดับพื้นที่และชุมชน โครงการพัฒนา คุณภาพอากาศ การจัดการขยะ โครงการสังคมสูงวัยกว่าครึ่งเป็นโครงการใหม่ปี 2564 ได้แก่ โครงการความมั่นคงทางอาหาร ที่พัฒนาเกษตรรายย่อยด้วย เทคโนโลยีที่เหมาะสมและพัฒนาระบบอาหารปลอดภัยของประเทศ โครงการการพัฒนาระบบสุขภาพเพื่อตอบ ภาวะวิกฤตและโรคอุบัติใหม่ และโครงการแก้ปัญหาความยากจนแบบแม่นยําโดยใช้ข้อมูลที่รัฐมีแต่จะลงสํารวจใน พื้นที่เพื่อยืนยันข้อเท็จจริงและออกแบบนวัตกรรมที่สอดคล้องกับครัวเรือนและชุมชน เช่น การใช้ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชน และการพัฒนาเมืองน่าอยู่ รวมแล้วจะทํางานในพื้นที่ 20 จังหวัด วิสาหกิจชุมชนประมาณ 175 ชุมชน 350 ตําบล เกษตรกร 500 ครัวเรือน และ คนจน 1000 ครัวเรือน จะได้รับประโยชน์ นักวิจัยต้อง ทํางานร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ที่จะต้องขยายผลต่อไป
ส่วนสุดท้าย อีก 1 ใน 3 จะใช้ในการพัฒนาคนและความรู้สู่อนาคต ประชาชนทั่วไปจะมีทักษะสมัยใหม่ ด้วยโครงการ AI for All โครงการบัณฑิตเพื่ออนาคตสนับสนุนให้นักศึกษาวิจัยทํางานกับภาคเอกชนและภาคประชาสังคม โครงการคนไทยกับโลกดิจิทัล โครงการการวิจัยแนวหน้าและวิจัยพื้นฐาน เพื่อการผลิตและเตรียมพร้อมสําหรับเทคโนโลยีแห่งอนาคต เช่น AI ควอนตัม
โดยสรุป งบประมาณการลงทุนด้าน ววน. จะเป็นพลังต่อเนื่องในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสังคมเมื่องบเงินกู้หมดไป แต่ความรู้และนวัตกรรมที่เกิดขึ้น จะใช้ได้อย่างต่อเนื่องไปอีกหลายปี กองทุน ววน. จะสนับสนุนและทํางานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาคการผลิตจริง เช่น กระทรวงดิจิตัล ทําให้ประเทศมีทั้ง hardware และ software ด้าน AI การทํางานกับกระทรวงศึกษาธิการใน การพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษา การทํางานร่วมกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา เพื่อส่งมอบ ชุดความรู้และนวัตกรรมด้านการบริหารการศึกษาไปขยายผล การสนับสนุนการวิจัยของกระทรวงเกษตรและ กระทรวงสาธารณสุขให้สามารถตอบพันธกิจของหน่วยงานได้ดีขึ้น การลงทุนด้านการวิจัยและนวัตกรรมของรัฐจะเหนี่ยวนําให้เกิดการลงทุนเพิ่มของภาคเอกชนทั้งในด้านการผลิตและการพัฒนานวัตกรรม
การจัดสรรงบประมาณให้กับหน่วยรับทุน จะพิจารณาความสอดคล่องกับแผนด้าน ววน. ทําให้การจัดสรร งบประมาณมีเป้าหมายและทิศทาง กองทุนและหน่วยบริหารจัดการทุนจะตรวจสอบโครงการ ลดความซ้ําซ้อนในขณะที่บูรณาการเป้าหมายโครงการของหน่วยรับทุนต่างๆ เทียบกับเป้าหมายตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ตามแผน มีระบบติดตามประเมินผล ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ เพื่อให้การใช้งบประมาณมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล เกิดความคุ้มค่าในการลงทุน
งบประมาณจำนวนนี้ถือเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางสถานการณ์โควิดและหลังโควิด งบประมาณจำนวนนี้จะเข้าไปเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เกิดประโยชน์กับทุกภาคส่วน งบประมาณจำนวนนี้ในปี 2564 มีหน่วยงานและนักวิจัยมากกว่า 10,000 คน ช่วยกันสร้างสรรค์โครงการมากมาย ภายใต้แผนด้าน ววน. ที่สามารถเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศไทยให้ทัดเทียมกับประเทศชั้นนำทั่วโลก
นอกจากนี้ รศ.ดร.ปัทมาวดี ยังขอขอบคุณ ผู้บริหารหน่วยงานต่าง ๆ ในสังกัดกระทรวง อว. หน่วยบริหารจัดการทุนวิจัย (PMU) ตลอดจนมหาวิทยาลัยและนักวิจัยทั่วประเทศ ที่ร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานจนเป็นที่ประจักษ์ในปีที่ผ่าน ซึ่งทุกภาคส่วนล้วนเป็นบุคคลสำคัญในการขับเคลื่อนระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อพัฒนาประเทศ