ธุรกิจโรงแรมไทย ในยุค AEC โดย สายธาร อุทกนิมิตร

“หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม

ตั้งแต่เปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ASEAN Economics Community (AEC) เต็มรูปแบบในปี 2558 ประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ ใช้นโยบายทางเศรษฐกิจเดียวกันภายใต้กรอบความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก กลุ่มอาเซียนมีการเคลื่อนย้ายสินค้า การบริการ และฝีมือแรงงาน รวมถึงการลงทุนต่างๆ ได้อย่างเสรี

ธุรกิจโรงแรมถือได้ว่าอยู่ในส่วนของการบริการ

ประเทศไทยได้รับประโยชน์จากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นอย่างมาก เนื่องจากตั้งอยู่ในตำแหน่งศูนย์กลางอาเซียนมีความพร้อมด้านการท่องเที่ยว และการบิน เรียกได้ว่าประเทศไทยเป็นสวรรค์แห่งการท่องเที่ยว

หากเปรียบเทียบกับบรรดากลุ่มสมาชิกประเทศอื่นทั้ง 10 ประเทศ

  • เส้นทางการบิน ประเทศไทยเป็น GATE WAY และสามารถเชื่อมต่อไปประเทศอื่นๆ ได้สะดวก ทั้งทางทะเลและทางบก
  • ภูมิประเทศของประเทศไทย เหมาะแก่การท่องเที่ยวได้ทั้งปี
  • โรงแรมของประเทศไทยมีคุณภาพ อัตราค่าบริการไม่สูงเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศสมาชิกอื่นๆ
  • ประเทศไทยมีประชากรที่นับถือศาสนาหลากหลาย จึงไม่มีข้อจำกัดทางด้านศาสนาที่ส่งผลกระทบกับการท่องเที่ยว เนื่องจากบางประเทศมีข้อจำกัดทางศาสนาทำให้ไม่เอื้อประโยชน์ให้กับนักท่องเที่ยวเท่าที่ควร

ธุรกิจโรงแรมในปี 2559 ที่ผ่านมา มีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาตินิยมเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยและในปีนี้คาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เมื่อธุรกิจโรงแรมเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้การแข่งขันในตลาดโรงแรมรุนแรงมากขึ้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปี 2560ธุรกิจโรงแรมจะมีรายได้ 564,000–574,000 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.7 – 5.5

จะเห็นได้ว่าการเติบโตของธุรกิจโรงแรมมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ธุรกิจโรงแรมในประเทศไทยเป็นที่จับตามองจากกลุ่มสมาชิกอาเซียนที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทย

นักลงทุนในกลุ่มอาเซียนสามารถถือหุ้นได้สูงถึง 70% ในธุรกิจโรงแรม จากเดิมอยู่ที่ 49% เท่านั้น สำหรับการถือหุ้นของนักลงทุนต่างชาติซึ่งอยู่ภายใต้ข้อตกลงเปิดการค้าเสรีการบริการชุดที่ 8 ใน AEC แต่อย่างไรก็ตาม จากข้อผูกพันดังกล่าวประเทศไทยยังไม่มีผลกระทบมากนัก เนื่องจากประเทศไทยยังตั้งเงื่อนไขให้การถือครองหุ้น 70% ใช้ได้เฉพาะโรงแรมระดับ 6 ดาวขึ้นไปเท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นการลงทุนขนาดใหญ่ อาจมีมูลค่ามากกว่า 500 ล้านบาท แต่ในอนาคตอาจมีแนวโน้มที่กลุ่มอาเซียนจะร้องขอให้เปิดเสรีในโรงแรมระดับรองลงมา การกำหนดเงื่อนไขในการบริการของการค้าเสรีเกี่ยวกับการลงทุนนั้นถือได้ว่าเป็นเรื่องปกติที่หลายๆ ประเทศในกลุ่มอาเซียนก็ทำกัน

ธุรกิจโรงแรมไทย ในยุค AEC จะเห็นได้ว่าการเติบโตของธุรกิจโรงแรมมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ธุรกิจโรงแรมในประเทศไทยเป็นที่จับตามองจากกลุ่มสมาชิกอาเซียนที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทย

นักลงทุนในกลุ่มอาเซียนสามารถถือหุ้นได้สูงถึง 70% ในธุรกิจโรงแรม จากเดิมอยู่ที่ 49% เท่านั้น สำหรับการถือหุ้นของนักลงทุนต่างชาติซึ่งอยู่ภายใต้ข้อตกลงเปิดการค้าเสรีการบริการชุดที่ 8 ใน AEC แต่อย่างไรก็ตาม จากข้อผูกพันดังกล่าวประเทศไทยยังไม่มีผลกระทบมากนัก เนื่องจากประเทศไทยยังตั้งเงื่อนไขให้การถือครองหุ้น 70% ใช้ได้เฉพาะโรงแรมระดับ 6 ดาวขึ้นไปเท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นการลงทุนขนาดใหญ่ อาจมีมูลค่ามากกว่า 500 ล้านบาทแต่ในอนาคตอาจมีแนวโน้มที่กลุ่มอาเซียนจะร้องขอให้เปิดเสรีในโรงแรมระดับรองลงมา การกำหนดเงื่อนไขในการบริการของการค้าเสรีเกี่ยวกับการลงทุนนั้นถือได้ว่าเป็นเรื่องปกติที่หลาย ๆ ประเทศในกลุ่มอาเซียนก็ทำกัน

ประเทศสิงคโปร์และเวียดนามจะเปิดเสรีมากที่สุดในธุรกิจโรงแรม

ประเทศอินโดนีเซีย อนุญาตให้นักลงทุนจากกลุ่มอาเซียนเข้าถือหุ้นได้ถึง 100% แต่จะถูกจำกัดอยู่ในบางพื้นที่เท่านั้น

ประเทศมาเลเซีย อนุญาตเฉพาะโรงแรมระดับ 4-5 ดาว

ประเทศฟิลิปปินส์ ยังคงจำกัดการถือหุ้นของนักลงทุนต่างชาติไว้ให้เป็นเสียงข้างน้อย

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าแม้มีการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อเปิดการค้าเสรีแล้ว อย่างไรก็ตามในกลุ่มประเทศสมาชิกยังคงตั้งข้อกำหนดหรือเงื่อนไขต่างๆ ได้ตามสภาวะเศรษฐกิจของประเทศตนเอง

สำหรับประเทศไทยนั้นการตั้งเงื่อนไขการถือครองหุ้นในธุรกิจโรงแรม ถูกจำกัดเฉพาะโรงแรมระดับ 6 ดาวขึ้นไป ซึ่งถือได้ว่าเป็นเงื่อนไขที่ค่อนข้างสูงหากเทียบเคียงกับกลุ่มประเทศสมาชิกอื่นคาดการณ์ว่าประเทศไทยจะถูกขอให้เปิดการค้าเสรีธุรกิจโรงแรมในระดับดาวรองลงมาในอนาคต เนื่องจากประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาค่อนข้างสูงสุดในกลุ่มอาเซียน และยังเป็นศูนย์กลางสำหรับการเดินทางท่องเที่ยวต่อไปยังประเทศรอบข้างได้สะดวก

หากประเทศไทยเปิดเสรีให้นักลงทุนในกลุ่มอาเซียนสำหรับโรงแรมในระดับดาวรองลงมานั้น จะมีผลกระทบอย่างยิ่งกับธุรกิจโรงแรมขนาดเล็ก เนื่องจากอัตราการแข่งขันจะสูงเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวปัจจุบันการปรับราคาห้องพักสามารถเพิ่มเฉลี่ยได้เพียง 2% เท่านั้นแม้นักท่องเที่ยวต่างชาติจะเพิ่มปริมาณมากขึ้น แต่เนื่องจากอัตราการแข่งขันในธุรกิจนี้ค่อนข้างสูง ทำให้ธุรกิจโรงแรมต้องแข่งขันกันด้วย ราคาห้องพักที่ถูกลง

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า การแข่งขันในตลาดธุรกิจโรงแรมสูงขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการโรงแรมต้องเพิ่มความระมัดระวังในการขยายธุรกิจมากขึ้น จากข้อมูลปี 2559 มีการขอใบอนุญาตก่อสร้างอาคารเพื่อการโรงแรมทั่วประเทศในช่วงสามไตรมาสแรกของปี 2559 อยู่ที่ 1,936 อาคาร เพิ่มขึ้นจากในช่วงไตรมาสเดียวกัน ของปี 2558 ถึงร้อยละ 68.5 สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นได้ว่า…ในอนาคตธุรกิจโรงแรมจะมีการแข่งขันสูงขึ้นเรื่อยๆ

กลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติยังคงเป็นแกนหลักในการสร้างรายได้ในธุรกิจโรงแรม ประกอบกับเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2560 คณะรัฐมนตรีอนุมัติการต่ออายุมาตรการยกเว้นวีซ่า และมาตรการปรับลดค่าธรรมเนียมวีซ่าที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง (Visa on Arrival) ให้นักท่องเที่ยวจำนวน 21 ประเทศที่เข้ามาประเทศไทย ออกไปอีก 6 เดือน (จากเดิมสิ้นสุด 28 กุมภาพันธ์ 2560) โดยมาตรการดังกล่าวจะมีผลถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2560

การเติบโตของนักท่องเที่ยวต่างชาติ

2558 30 ล้านคน

2559 32 ล้านคน

2560 34 ล้านคน

2561 36 ล้านคน ที่มา: KKI Research

จากภาพรวมการขยายระยะเวลาดังกล่าว จะเป็นผลดีอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจโรงแรมเนื่องจากเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นการตัดสินใจที่จะเลือกมาประเทศไทยก็จะง่ายมากขึ้นด้วย เพราะขจัดความยุ่งยากในการขอวีซ่า หรือลดค่าใช้จ่ายในการจ่ายค่าธรรมเนียมวีซ่าลง

นอกจากผลตอบรับทางด้านนักท่องเที่ยวที่ธุรกิจโรงแรมจะได้ประโยชน์แล้ว อีกประเด็นสำคัญที่จะไม่กล่าวถึงคงจะไม่ได้คือในส่วนของการจ้างแรงงาน เมื่อเป็นยุคของ AEC แล้วก็จะมีแรงงานต่างชาติเข้ามาทำงานในธุรกิจบริการเพิ่มมากขึ้น ซึ่งไม่ใช่เฉพาะธุรกิจโรงแรม ยังรวมถึงร้านอาหาร ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์การค้า ธนาคารมหาวิทยาลัย เป็นต้น ซึ่งพนักงานเหล่านี้จะทำหน้าที่ในส่วนเจ้าหน้าที่บริการลูกค้าเพิ่ม จุดเด่นของแรงงานต่างชาติในแต่ละประเทศนั้น ก็มีลักษณะที่แตกต่างกัน เช่น แรงงานของประเทศฟิลิปปินส์จะมีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี หรือหากเป็นแรงงานจากประเทศ พม่า กัมพูชา ค่าจ้างแรงงานจะถูกกว่าคนไทย และยังทำงานได้หลายรูปแบบ ทำให้ธุรกิจลดต้นทุนในการจ้างแรงงานได้เพิ่มขึ้นด้วย

ธุรกิจโรงแรมในยุค AEC ต้องมีการพัฒนาศักยภาพทางด้านต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น ไม่ใช่เฉพาะโรงแรมเท่านั้น ยังหมายรวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับโรงแรม การท่องเที่ยวหรือร้านอาหาร รวมทั้งร้านจำหน่ายของที่ระลึกต่างๆ ด้วย เพราะสิ่งเหล่านี้จัดว่าเป็นธุรกิจที่เชื่อมโยงกัน อีกทั้งต้องมีการพัฒนาแรงงานให้มีความชำนาญเฉพาะด้าน และสำหรับธุรกิจโรงแรมแล้วการสื่อสารการตลาดเป็นสิ่งสำคัญมาก ซึ่งภาษากลางของกลุ่มอาเซียนนั้นคือ ภาษาอังกฤษแต่ประเทศไทยยังมีทักษะด้านภาษาอังกฤษค่อนข้างรั้งท้ายในกลุ่มประเทศสมาชิก จึงต้องเพิ่มทักษะในด้านนี้ให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น มิฉะนั้นแรงงานไทยอาจได้รับผลกระทบ และเสียเปรียบแรงงานในกลุ่มประเทศสมาชิกทางด้านภาษา ธุรกิจโรงแรมมีการแข่งขันที่สูงมากดังนั้นการแข่งขันด้านการบริการจึงเป็นปัจจัยหลักของธุรกิจนี้ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมต้องรู้จักใช้หลักการที่ถูกต้องในการบริหารจัดการและสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้า รวมทั้งต้องสร้างจุดแข็งให้ได้

ในความเห็นของผู้เขียนแล้วจากขนาดเศรษฐกิจของไทยถือว่าเป็นอันดับ 2 ในอาเซียนรองจากประเทศอินโดนีเซีย แต่ที่โดดเด่นคือ ประเทศไทยตั้งอยู่ในภูมิศาสตร์ที่ดีที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มสมาชิกประเทศไทยตั้งอยู่ในจุดศูนย์กลางของอาเซียน ล้อมรอบไปด้วยประเทศเพื่อนสมาชิกที่สามารถเชื่อมถึงกันได้อีก 6 ประเทศ ทั้งเวียดนาม พม่า ลาว กัมพูชา มาเลเซีย และสิงคโปร์

หากนักธุรกิจไทยร่วมมือกัน การที่ประเทศไทยจะขึ้นเป็นผู้นำอาเซียนด้านเศรษฐกิจก็จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป….

ข้อมูล: ศูนย์วิจัยธนาคารกสิกรไทย /หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ